ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ควบคุมสารอนุมูลอิสระ 3 ตระกูลใหญ่ในร่างกาย

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ควบคุมสารอนุมูลอิสระ 3 ตระกูลใหญ่ในร่างกาย

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ควบคุมสารอนุมูลอิสระ 3 ตระกูลใหญ่ในร่างกาย

สารอนมูลอิสระ ก็เหมือน ขยะที่เกิดขึ้นในร่างกายของคนเรานั่นละ

เพราะในกิจวัตรประจำวันของคนเรา ล้วนสร้างขยะขึ้นมา เหมือนกับร่างกาย เมื่อมีปฏิกิริยาตั้งแต่ลมหายใจแรกจนถึงลมหายใจสุดท้าย

เข้าไปก็ล้วนเป้นจุดเริ่มสร้างขยะให้ร่างกาย

ซึ่งขยะเหล่านี้ ก็มีหลายประเภทที่ร่างกายสร้างขึ้น ซึ่ง 3 ตระกูลใหญ่ของขยะมีดังนี้

Reactive Oxygen Species หรือ ROS

Reactive Nitrogen Species หรือ RNS

Reactive Aldehyds Formation

ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้ ล้วนเป็นตัวร้ายที่คอยทำลายร่างกายอย่างช้าๆ เงียบๆ เนียนๆ อยู่เบื้องหลัง
จนทำให้เกิดโรคที่มองเห็นกัน เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ และแทบจะทุกโรคมีขยะเหล่านี้เข้าไปเกี่ยวข้องเสมอ

และแน่นอนระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ก็ควบคุมการเกิดสารอนุมูลอิสระ และควบการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ (เรื่องสารต้านอนุมูลอิสระเขียนไปบางส่วนแล้ว)

ปัจจุบันมีการค้นพบว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์เข้ามาควบคุมการทำงานของร่างกายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายด้วย

ซึ่งจากภาพประกอบจะเห็นว่า สารอนุมูลอิสระเหล่านี้นำไปสู่การเกิดโรคต่างๆได้ และการทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ก็ล้วนนำไปสู่การช่วยลดสารอนุมูลอิสระ และช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้เพิ่มขึ้นในร่างกายได้

ซึ่งความสมดุลตรงนี้สำคัญมากเพราะ สามารถทำให้ร่างกายสามารถยืนหยัดต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้

และสารไฟโตแคนนาบินอยด์ จากกัญชา กัญชง ก็สามารถออกฤทธิ์ผ่านระบบนี้ได้ และเริ่มมีงานวิจัยออกมามากขึ้น เกี่ยวกับ คุณสมบัติสารต้านอนุมูลอิสระของกัญชา กัญชง โดยเฉพาะในวงการเครื่องสำอาง

กัญชา กัญชง อาจจะเป็นยาต้านอนุมูลอิสระ หรือ อาหารเสริมต้านอนุมูลอิสระ ที่มีติดไว้ทุกบ้านทุกครัวเรือนก็เป็นได้ เพราะชีวิตประจำวันทุกวันนี้ ร่างกายได้รับสารพิษไปกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระมากจนเกินไปแล้ว

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

Oxyradical Stress, Endocannabinoids, and Atherosclerosis. Toxics 2015, 3,481–498.

CB1 and CB2 cannabinoid receptors differentially regulate the production of reactive oxygen species by macrophages.Cardiovasc. Res. 2009, 84, 378–386.

Role of ROS and RNS Sources in Physiological and Pathological Conditions. Oxid. Med. Cell. Longev. 2016, 2016, 1245049.

SHARE NOW

Facebook Comments