ลองอ่านสิ ดีมากๆ

10 สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ป้องกันโรคมะเร็งร้าย!!

10 สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ป้องกันโรคมะเร็งร้าย!!


10 สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ป้องกันโรคมะเร็งร้าย!!
เป็นที่รู้ดีว่า “โรคมะเร็ง” เป็นโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกได้อย่างมากมาย ด้วยเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ โรคมะเร็งเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย หากว่าคุณอยากห่างไกลโรคมะเร็งร้ายนั้น คุณต้องใส่ใจดูแลสุขภาพให้มากขึ้น และการเลือกทานอาหารที่ดีมีประโยชน์เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้คุณควรเลือกทานอาหารชนิดที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ด้วยมีคุณสมบัติป้องกันความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย อันเป็นสาเหตุให้ป่วยเป็นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมถึงโรคมะเร็งร้ายด้วย แหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระพบมากในผักผลไม้ และสารต้านอนุมูลอิสระชนิดใดบ้างที่เราควรทาน มาดูกันเลย

1) ไลโคปีน
ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย อันเป็นต้นเหตุของโรค เช่น โรคมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย รวมถึงมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ, ตับอ่อน และทางเดินอาหารอีกด้วย พบได้มากในมะเขือเทศ ที่ผ่านความร้อนหรือปรุงให้สุกแล้ว จะมะเขือเทศที่ผ่านการปรุงให้สุกแล้ว เป็นแหล่งที่ให้สารไลโคฟีนอย่างดี แต่มะเขือเทศที่ผ่านการปรุงแต่ง เช่น ซอสมะเขือเทศ จะสูญเสียสารต้านอนุมูลอิสระไปมากระหว่างกระบวนการผลิต
2) แคโรทีน (Carotenes)
แคโรทีน มีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งในส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะ มะเร็งปากมดลูก รังไข่ ปอด ต่อมลูกหมาก ลำไส้ หลอดอาหาร ทั้งเบตาแคโรทีนซึ่งเป็นหน่วยย่อยของแคโรทีนนั้น จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยการกระตุ้นการเพิ่มปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย รวมทั้งเซลล์มะเร็งอีกด้วย พบมากในผักผลไม้ที่มีสีแดง ส้ม เขียวเข้ม และเหลือง เช่น มันฝรั่งหวาน ไข่ แอปริคอท ส้ม สไปรูลิน่า แครอท ม
3) วิตามินเอ
สารต้านอนุมูลอิสระที่ทำหน้าที่ยับยั้งการผลิตฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการเติบโตของเซลล์มะเร็ง และเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายดีขึ้น มีส่วนในการป้องกันโรคมะเร็งทุกชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งในช่องปาก มะเร็งในระบบเลือด และมะเร็งกล่องเสียง แหล่งที่พบวิตามินเอมาก ได้แก่ เนย ตับ ครีม ไข่ ไขมันสัตว์ และน้ำมันปลา ทั้งนี้แนะนำว่าไม่ควรทานวิตามินเอมากเกินไป และควรหลีกเลี่ยงการบริโภควิตามินเอสังเคราะห์
4) วิตามินซี
มีผลต่อการป้องกันโรคมะเร็งที่เกิดจากการทำงานของอนุมูลอิสระ เพิ่มปริมาณการสังเคราะห์คอลลาเจนในร่างกาย ยับยั้งการกลายพันธุ์ของพันธุกรรม และการสังเคราะห์โปรตีนที่ผิดปกติในร่างกาย จนอาจจะนำไปสู่การสร้างเซลล์มะเร็ง ป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร ในช่องปาก กระเพาะอาหาร ปอด ลำไส้ รวมทั้งยังป้องกันการสร้างสารไนไตรท์ (Nitrites) จากเนื้อสัตว์ เช่น เบคอน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในร่างกาย แหล่งของวิตามินซี ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยว ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม มะนาว ฝรั่ง และกะหล่ำปลี
5) วิตามินอี
ป้องกันการสร้างอนุมูลอิสระจากกรดไขมันไม่อิ่มตัวในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย และทำลายเนื้องอกที่อาจจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ แหล่งของวิตามินอี ได้แก่ ข้าวสาลี พืชตระกูลถั่ว
6) เซเลเนียม (Selenium)
ผู้ป่วยโรคนี้จะมีระดับเซเลเนียมในร่างกายต่ำกว่าคนปกติ สารต้านอนุมูลอิสระชนิดนี้จึงสำคัญมาก แหล่งที่พบได้แก่ ข้าวสาลี หอยนางรม ปลาทูน่า และเนย และควรระวังไม่ทานในปริมาณที่มากเกินไป โดยปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภค 100 ไมโครกรัมต่อวัน
7) กลูตาไธโอน (glutathione)
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ในการปกป้องเนื้อเยื่อไม่ให้ถูกทำลาย โดยสารอนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และที่สำคัญยังช่วยตับในการทำลายและขจัดสารพิษออกจากร่างกายด้วย มีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
8) ฟลาโวนอยด์ ( flavonoid )
สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ช่วยให้เม็ดเลือดไม่จับตัวเป็นก้อนจนอุดตัน ป้องกันการเกิดมะเร็ง เป็นสารต้านจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังเป็นสารต้านอาการแพ้ ต้านไวรัส ต้านการอักเสบ ทั้งยังสามารถในการลดการเกิดและกำจัดอนุมูลอิสระ พบได้มากใน ชาเขียว องุ่นแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม แอ๊ปเปิ้ล ถั่วเหลือง ส้ม ฯลฯ ในเนื้อส้มและใยส้มจะมีฟลาโวนอยด์อยู่มาก ดังนั้นควรกินส้มทั้งผล
9) กรดอัลฟ่าไลโปอิก
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง เป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ เช่น วิตามินซี, วิตามินอี, กูลต้าไทโอน และโคเอ็นไซม์คิว 10 และยังช่วยให้วิตามินเหล่านี้ ถูกสร้างขึ้นใหม่ได้ในหน่วยเซลล์ พบได้ใน เนื้อแดง และเครื่องใน เช่น ในพืชพบได้ในผักใบสีเขียวเข้ม, ผักโขม, บล็อกโคลี่, ยีสต์, มันฝรั่ง, มะเขือเทศ, รำข้าว, กะหล่ำ และน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นกับกระเทียม เมื่อรวมกันจะให้กรดแอลฟ่าไลโปอิก ได้เช่นกัน
10) ไอโซฟลาโวน
ช่วยยับยั้งมะเร็งที่เกี่ยวกับฮอร์โมนที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นต้น ไอโซฟลาโวน ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ส่งผลต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก พบได้มากในถั่วเหลือง
นอกจากการดูแลสุขภาพที่ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ และเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างที่เราได้แนะนำกัน เพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรคสูง และที่สำคัญ ไม่เครียดนะคะ เพียงเท่านี้คุณก็จะห่างไกลโรคมะเร็งได้แล้วล่ะค่ะ

SHARE NOW

Facebook Comments