มะม่วงหาว มะนาวโห่ ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย

มะม่วงหาว มะนาวโห่ งานวิจัยและสรรพคุณ 26ข้อ

มะม่วงหาว มะนาวโห่

มะม่วงหาว มะนาวโห่

ชื่อสมุนไพร  มะม่วงหาวมะนาวโห่
ชื่ออื่นๆ/ชื่อท้องถิ่น  มะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ , มะนาวไม่รู้โห่ , หนามแดง (ภาคกลาง) , หนามขี้แฮด (เชียงใหม่) , มะนาวโห่ (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์    Carissa carandas L.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์  Carissa congesta Wight.
ชื่อสามัญ  Karanda, Carunda ,Christ’s thorn , Bengal Currants.
วงศ์  APOCYNACEAE

ดอกมะม่วงหาว มะนาวโห่

สมุนไพรมะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากชื่อ “มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่” พันธุ์ไม้ชนิดนี้มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หนามขี้แฮด (เชียงใหม่), หนามแดง (กรุงเทพฯ), มะนาวไม่รู้โห่ (ภาคกลาง), มะนาวโห่ (ภาคใต้) เป็นต้น

มะม่วงหาวมะนาวโห่จัดเป็นผลไม้สมุนไพรชนิดหนึ่ง ลักษณะของผลจะมีสีแดงเรียวเล็กคล้ายกับมะเขือเทศราชินี สำหรับรสชาติของผลสุกจะออกหวานนุ่มลิ้น แต่ถ้ายังไม่สุกจะมีรสเปรี้ยวจี๊ดเข็ดฟัน มีธาตุเหล็กและวิตามินซีสูง เมื่อกัดไปแล้วจะมียางเหนียว ๆ ฝาดคอ (เป็นผลไม้ในวรรณคดีเรื่องพระรถเมรี (นางสิบสอง) ใครเคยอ่านคงทราบกันดี)

มะนาวไม่รู้โห่หรือหนามแดง เป็นผลไม้ที่หลาย ๆ คนมองข้าม เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้มีหนาม หลายคนไม่รู้สรรพคุณก็ฟันทิ้งกันไปส่วนใหญ่ จึงทำให้ปัจจุบันค่อนข้างหามารับประทานได้ยาก นอกจากคนที่รู้เท่านั้นที่นำมาปลูกไว้ สำหรับคนโบราณแล้วผลไม้ชนิดนี้ถือว่ามีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพรซึ่งมีสรรพคุณที่หลากหลายในการช่วยซ่อมแซมร่างกายและช่วยรักษาโรคได้แทบทุกชนิด สำหรับวิธีกินก็นำมาล้างให้สะอาดแล้วรับประทานกันสด ๆ ได้เลยครับ

นอกจากผลแล้ว ส่วนอื่น ๆ ก็ยังมีประโยชน์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ยอดอ่อน เมล็ด เนื้อไม้ และแก่น ก็ล้วนแต่มีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งยางก็ช่วยในการสมานแผลได้ เรียกได้ว่าแทบจะทุกส่วนจริง ๆ แล้วเราจะไม่เรียกหนามแดงว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายได้ยังไง

สำหรับผู้ที่รับประทานผลเข้าไปประมาณ 10 นาที แล้วรู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก แสดงว่าคุณอาจเป็นโรคหัวใจโต ควรรับประทานวันละ 1 ผลเพื่อให้ร่างกายปรับสภาพจนชินก่อน เมื่อไม่มีอาการแล้วค่อยเพิ่มปริมาณเป็น 10 ผล รับประทานประมาณ 3 เดือนจะทำให้เลือดลมไหลเวียนดี โดยหญิงชายกินได้ โรคภัยหายสิ้น แต่สำหรับหญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ถิ่นกำเนิดมะม่วงหาวมะนาวโห่

มะม่วงหาว มะนาวโห่เป็นผลไม้ในกลุ่มเบอร์รี่ชนิดหนึ่งที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดอยู่แถบ Himalayas แต่นักพฤกษศาสตร์บางท่านบอกว่ามีถิ่นกำเนิดแถบ Java มะนาวโห่มีการกระจายตัวตั้งแต่เนปาลไปจนถึงอัฟกานิสถาน และพบได้ในหลายๆ พื้นที่ในประเทศอินเดีย มีการกระจายตัวในเขตอบอุ่นของประเทศอินเดีย และศรีลังกา  โดยธรรมชาติเจริญเติบโตในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 300 ถึง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล รวมไปถึง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ศรีลังกา พม่า จีน และไทย 

ส่วนในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ส่วนในปัจจุบันค่อนข้างหามารับประทานได้ยาก เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้มีหนาม หลายคนไม่รู้สรรพคุณจึงฟันทิ้งกันไปมาก นอกจากคนที่รู้เท่านั้นที่นำมาปลูกไว้ สำหรับคนโบราณแล้วผลไม้ชนิดนี้ถือว่ามีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพรซึ่งมีสรรพคุณที่หลากหลาย

ผลมะม่วงหาว มะนาวโห่


ประโยชน์และสรรพคุณมะม่วงหาว มะนาวโห่

มะม่วงหาว มะนาวโห่มีผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด (berry) นิยมนำมาใช้บริโภคสดหรือนำมาใช้ในการทำอาหารดองในอินเดีย มีการบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ มะม่วงหาว มะนาวโห่เป็นผลไม้ที่จัดเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยที่กินก่อนอาหารจานหลักได้เป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่แล้วผลมักจะนำไปดองก่อนที่จะสุก ส่วนผลดิบมักจะใช้เป็นเครื่องดื่มคลาย้อน นำมาใช้ทำเยลลี่ แยม น้ำผลไม้ น้ำเชื่อม ทาร์ตและเครื่องเคียง น้ำยางสีขาวในผลสุกใช้ในอุตสาหกรรมแทนนินและสีผสมอาหาร ในผลสุกจะมีสารคล้ายยางเหนียวแต่เมื่อปรุงโดยการผ่านความร้อนแล้วทิ้งไว้ให้เย็นจะได้น้ำผลไม้ที่มีสีแดงเข้มใส นำไปใช้เป็นเครื่องดื่มดับร้อนได้ ผลสุกของมะม่วงหาว มะนาวโห่จะมีเพ็กตินเป็นจำนวนมาก ผลสุกชนิดที่มีรสหวานสามารถรับประทานได้ทันที แต่ชนิดที่มีรสเปรี้ยวต้องกวนด้วยน้ำตาลจำนวนมากก่อนจึงจะรับประทานได้ ในบางประเทศปรุงมะม่วงหาว มะนาวโห่ร่วมกับพริกเขียวเพื่อเป็นอาหารที่รับประทานคู่กับแผ่นโรตี นอกจากนี้ยังมีการน้ำนำมาทำเป็นซอสเปรี้ยวใช้สำหรับรับประทานคู่กับปลาและเนื้อวัวอีกด้วย

  1. บำรุงไขมัน เหมาะสำหรับคนผอม
  2. บำรุงธาตุแก้อ่อนเพลีย
  3. แก้ท้องร่วง
  4. แก้ปวดหู
  5. แก้โรคเบาหวานทำให้แผลแห้งเร็ว
  6. แก้ไข้
  7. แก้เจ็บปากและคอ
  8. ช่วยขับพยาธิ
  9. บำรุงธาตุ เจริญอาหาร
  10. ทาหรือพอกรักษาบาดแผลแก้คัน
  11. บรรเทาอาการของโรคผิวหนังแก้บิด
  12. ขับน้ำเหลืองเสีย
  13. แก้ท้องเสีย
  14. แก้กามโรค
  15. รักษาแผลในปาก
  16. แก้ปวดฟัน
  17. ใช้เป็นยาสมานแผล
  18. ช่วยดับกระหายคลายร้อน
  19. ใช้เป็นอาหารเรียกน้ำย่อยที่กินก่อนอาหารจานหลัก
  20. แก้อาการท้องผูก
  21. แก้เลือดออกตามไรฟัน
  22. รักษาหูด
  23. รักษาขี้กลากแผลเนื้องอก
  24. โรคเท้าช้างยอดอ่อน
  25. รักษาริดสีดวงทวาร
  26. ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้


รูปแบบและขนาดวิธีใช้

รากสด ต้มกับน้ำใช้ดื่มเพิ่มความอยากอาหาร เพิ่มการทำงานของกระเพาะอาหาร เพิ่มการหลั่งกรด แก้ท้องเสีย ขับพยาธิ ใบ ต้มกับน้ำดื่ม ใช้ลดไข้ แก้ท้องเสีย แก้แผลอักเสบที่ปาก ผลสุดใช้รับประทานสดหรือทำเป็นน้ำผลไม้ดื่ม แก้ลักปิดลักเปิด แก้โลหิตจาง ช่วยเจริญอาหาร แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ท้องเสีย แก่นไม้มะม่วงหาว มะนาวโห่ ใช้ต้มกับน้ำใช้ดื่ม ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีบ น้ำยางใช้ทากัดตาปลา และเนื้อที่ด้านแข็ง รักษาหูด กลากเกลื้อน

ดอกมะม่วงหาว มะนาวโห่

ต้นมะม่วงหาว มะนาวโห่

ลักษณะทั่วไปมะม่วงหาว มะนาวโห่

มีลักษณะเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้ต้นขนาดเล็ก เป็นไม้ไม่ผลัดใบ มีสีเขียวตลอดปี มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ คือ

ลำต้น : สูง 2-3 เมตร แต่อาจสูงถึง 5 เมตร มียางขาว เปลือกมีสีเทาอ่อน

กิ่ง: มีกิ่งจำนวนมาก กิ่งมีลักษณะแข็ง และกระจายไปทั่วต้น การแตกกิ่งจะแตกออกเป็น 2 กิ่งตรงคู่กัน มีหนามทั้งแบบหนามเดี่ยว หรือเป็นคู่ อาจยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร หนามจะพบบริเวณมุมใบ หรือตามข้อของกิ่ง กิ่งแขนงมักจะมีหนามที่แข็งและคม

ใบ: เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนาน หรือรูปไข่ ไม่มีหูใบ กว้าง 1.5-4 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายมน หรือเว้าบุ๋ม มีก้านในเดี่ยว เส้นใบเป็นแบบร่างแห ผิวใบเรียบ เป็นมัน มีสีเขียวเข้ม หรือสีเขียวอมเทา

ช่อดอก: ออกเป็นช่อตามซอกใบ มีลักษณะเรียงเป็นแบบช่อเชิงหลั่นเป็นกระจุกกันอยู่ ใบประดับตรง

ดอก: ดอกมีกลิ่นหอม (คล้ายดอกมะลิ) ขนาด ยาวประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตร กลีบดอกสีขาว หรือสีชมพู รวมกันเป็นช่อ 2-3 ดอก ไม่มีใบประดับย่อยมีก้านดอกย่อย เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกสมมาตรตามรัศมี มีกลับดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็กมีลักษณะเป็นขน โคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 16-21.5 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก มีขนสั้นขนาดเล็ก วงกลีบดอก: กลีบดอกเชื่อมกัน 5 กลีบเป็นวง เป็นรูปใบหอก สีขาว มีขนสั้นขนาดเล็กนุ่ม หลอดมีลักษณะยาว และขยายตรงฐานรองดอก มีขนสั้นนุ่มเช่นเดียวกัน

เกสรตัวผู้: มีละอองเกสรตัวผู้จำนวนมากปลายยอดเกสรตัวผู้มีรยางค์ อับเรณูติดอยู่ตรงฐานมีลักษณะหันเข้า อับเรณูแตกทางยาว

เกสรตัวเมีย:มี 1 อัน รังไข่มีลักษณะกลมรี มีวงเกสรตัวเมีย 2 วงเชื่อมกันอยู่ รังไข่เป็น syncarpous มีหลาย locule placenta อยู่ที่แกนกลาง (axis) ของรังไข่ มี carpel และ locule 2 อัน ยอดเกสรตัวเมียมีลักษณะเป็นเส้นใยปลายแยกเป็น 2 แฉก

ผล: ผลไม้ที่มีเนื้อสด (fleshy fruit) มี pericarp เป็นเนื้อนุ่มรับประทานได้ ผลเป็นแบบ drupe (ผลไม้ที่มีเมล็ดแข็ง) ลักษณะรูปไข่ ขนาดกว้าง 12-17 มิลลิเมตร ยาว 15-23 มิลลิเมตร ผลเป็นผลเดี่ยวออกรวมกันเป็นช่อ ผลอ่อนจะมีสีชมพูอ่อนๆ และค่อยๆเข้มขึ้นเป็นสีแดง กระทั่งสุกจึงกลายเป็นสีดำ มีรสชาติเปรี้ยวคล้ายมะนาว

เมล็ด: เมื่อผลสุกจะมี 2-4 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน รูปไข่ เอนโดสเปิร์มเป็นแบบเนื้อ (fleshy endosperm) มีลักษณะเว้า

 

การขยายพันธุ์มะม่วงหาวมะนาวโห่

โดยปกติแล้ว มะม่วงหาว มะนาวโห่ นิยมขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เมล็ดมะม่วงหาว มะนาวโห่เป็นเมล็ดที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น ดังนั้นเมื่อแยกเมล็ดออกจากผลแล้วจึงควรเพาะเมล็ดทันที (Patel, 2013) การเพาะเมล็ดนิยมเพาะในโรงเรือนช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน  หรือนำมาเพาะใส่ลงในถุงพลาสติกเพาะชำ รดน้ำให้ชุ่ม วางไว้ในที่แดดร่มๆ ซึ่งจะใช้เวลาเพาะประมาณ 6 เดือน แล้วนำมาปลูกลงในแปลง

หรือเมื่อต้นกล้าอายุได้ 1 ปี  ส่วนวิธีการตอนกิ่งและการชำ ในมะม่วงหาว มะนาวโห่ควรเริ่มทำในช่วงมรสุม รากจะออกหลังตอนประมาณ 3 เดือนโดยการเลือกตอนในกิ่งที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่เดินไป อายุกิ่งไม่เกิน 1 ปี มีเส้นผ่านศูนย์กลางกิ่งไม่เกิน 0.5 เซนติเมตร

มะม่วงหาว มะนาวโห่จัดเป็นพืชที่ทนสภาพแล้งได้ดี จะเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนเขตอบอุ่น สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทราย แถบเทือกเขาหินปูน และดินที่เสื่อมสภาพหรือดินภูเขา โดยสามารถเจริญเติบโตได้ในดินเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ดินเค็ม ไปจนถึงดินเปรี้ยว พืชชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชายฝั่ง หรือพื้นที่ที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ และยังเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อยมาก การให้น้ำมีความจำเป็นเฉพาะตอนหลังย้ายปลูก หรือหลังให้ปุ๋ยเท่านั้น


องค์ประกอบทางเคมี
 

ในผลของมะม่วงหาว มะนาวโห่ มีสาร anthocyanin สารประกอบฟีนอลิก และ triterpenoid acid และสารจำพวกพวกโปรตีน เช่น alanine, glycine, glutamine และยังพบคาร์โบไฮเดรต ฟลาโวนอยด์ ในลำต้นและรากเป็นพวกลิกแนน ใบเป็นพวกไตรเทอร์ปีนส์, สเตียรอยด์

รูปภาพองค์ประกอบทางเคมีของมะม่วงหาว มะนาวโห่

องค์ประกอบทางเคมีมะม่วงหาว มะนาวโห่

ที่มา : wikipedia

นอกจากนี้การศึกษาเบื้องต้นพบว่าสารสกัดของมะม่วงไม่รู้หาว มะนาวไม่รู้โห่ยังประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอื่นๆ เช่น สารโฟลีฟีนอลิก (polyphenolic) ฟลาโวนอยด์(flavonoid) ฟลาวาโนน (flavanone) วิตามิน ซีอัลคาลอยด์(alkaloid) ซาโปนิน (saponin) และ แทนนิน (tannins)

ส่วนคุณค่าทางโภชนาการของมะม่วงหาว มะนาวโห่ ระบุว่าผลมะม่วงหาวมะนาวโห่สุก 100 กรัม ให้พลังงานประมาณ 75 แคลอรี่ มีไขมัน 2-5 กรัม น้ำตาล 7-12 กรัม และวิตามินซี 9-11 มิลลิกรัม

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่าในผลสุกที่มีสีม่วงจะมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าผลดิบ (ผลสีชมพู) และผลกึ่งสุก (ผลสีแดง) และยังพบว่ามีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและปริมาณแอนโทไซยานินทั้งหมดในผลสุกสูงกว่าผลดิบและผลกึ่งสุกด้วยเช่นเดียวกัน  และยังพบว่าในรากมีสารที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ โดยมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ตั้งแต่ 1.79-4.35 GAE มก./ก. ของตัวอย่างแห้ง ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ระหว่าง 1.91-3.76 CE มก./ก. ของตัวอย่างแห้ง มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระแบบ DPPH และเปอร์เซ็นต์การยับยั้งปฏิกิริยา peroxidation ของ linoleic acid ระหว่าง 12.53-84.82% และ 41.0- 89.21% ตามลำดับ

ฤทธิ์ในการต้านมะเร็ง การศึกษาถึงผลของสารสกัดมะม่วงหาว มะนาวโห่ที่มีผลต่อเซลล์มะเร็งรังไข่เซลล์มะเร็ง Caov-3 และเซลล์มะเร็งปอด โดยทำการสกัดจาก 3 ชิ้นส่วน คือ ใบ ผลดิบ และผลสุก พบว่าสารสกัดจากใบมะม่วงหาว มะนาวโห่ด้วย chloroform สามารถต้านกิจกรรมของเซลล์มะเร็ง Caov-3 ได้เป็นอย่างดี ในขณะที่สารสกัดจากผลดิบมะม่วงหาว มะนาวโห่ด้วย hexane สามารถต้านกิจกรรมของเซลล์มะเร็งปอดได้ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบสารตัวใหม่ที่มีอยู่ในใบของมะม่วงหาว มะนาวโห่ชื่อสาร carandinol ซึ่งเป็นสารในกลุ่มของ triterpene ซึ่งเมื่อนำมาประเมินความเป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxicity) การสร้างภูมิคุ้มกัน (immunomodulatory) สารต่อต้านไกลเคชั่น (antiglycation) ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และความสามารถในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ในสภาพปลอดเชื้อ พบว่า สารชนิดนี้สามารถก่อความเป็นพิษกับเซลล์มะเร็งทุกชนิดที่ทำการทดสอบ ทั้ง HeLa, PC-3 และ 3T3 โดยจะมีความเป็นพิษกับเซลล์มะเร็งคอมดลูก (HeLa) มากที่สุด ซึ่งการศึกษานี้เป็นการศึกษาแรกที่ทำการแยกสารกลุ่ม isohopane triterpene จากใบมะม่วงหาว มะนาวโห่ 

ฤทธิ์ในการต้านอาการอักเสบอาการปวด และอาการไข้ มีการนำสารสกัดจากผลแห้งมาทำการทดสอบความสามารถในการต้านอาการอักเสบในหนู พบว่า สารสกัดโดยใช้เมธานอลเป็นตัวทำละลายมีความสามารถในการต้านอาการอักเสบในหนูได้ โดยลดลงได้ถึง 76.12% จึงทำให้สารสกัดนี้มีศักยภาพในการใช้เป็นส่วนประกอบของยาที่ใช้ต้านอาการอักเสบได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพื่อนำสารสกัดจากใบมะนาวโห่มาใช้เพื่อต้านอาการอักเสบและลดไข้ในหนูพบว่า สารสกัดที่ให้กับหนูที่ความเข้มข้น 200 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. สามารถต้านอาการอักเสบจากการบวมที่อุ้งเท้าของหนู ได้สูงถึง 72.10% ในส่วนของความสามารถในการลดอาการไข้ พบว่าที่ความเข้มข้น 100 และ 200 มก./น้ำหนักตัว 1 กก. สามารถลดอุณหภูมิที่เกิดจากอาการไข้ลงได้อย่างมีนัยสำคัญ และสามารถลดอาการได้นานถึง 4 ชั่วโมงหลังจากให้สารสกัด

ฤทธิ์ในการต้านอาการชัก จากการศึกษาฤทธิ์ในการต้านอาการชักที่เกิดจากการกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้า และการกระตุ้นด้วยสารเคมี (pentylenetetrazole, picrotoxin, bicuculline และ N-methyl-dl-aspartic acid) ในหนูโดยใช้สารสกัดจากรากที่ความเข้มข้น 100, 200 และ 400 มก./กก. พบว่าสารสกัดทั้ง 4 ความเข้มข้นสามารถลดระยะเวลาการชักในหนูได้ แต่เฉพาะความเข้มข้นที่ 200 และ 400 มก./กก. เท่านั้นที่ป้องกันอาการชักได้ และที่ความเข้มข้นนี้ยังสามารถป้องกันอาการชักจากการกระตุ้นด้วย pentylenetetrazole และชะลอการเกิดอาการชักจากการกระตุ้นด้วยสาร picrotoxin และ N-methyl-dlaspartic acid แต่ไม่มีผลป้องกันอาการชักจากการกระตุ้นด้วยสาร bicuculline

ฤทธิ์ในการต้านเบาหวาน จากการศึกษาในสารสกัดจากผลดิบ พบว่าการสกัดด้วยเมทานอลและ ethyl acetate ที่ความเข้มข้น 400 มก./กก. สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้อย่างมีนัยสำคัญถึง 48 และ 64.5% ตามลำดับเมื่อเทียบกับยาต้านเบาหวานแผนปัจจุบัน

ฤทธิ์ในการปกป้องความเป็นพิษต่อตับ สารสกัดด้วยเอทานอล จากรากมีฤทธิ์ในการป้องกันความเป็นพิษต่อตับที่เกิดจากการใช้ยาพาราเซตตามอลได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สารสกัดนี้ไปยับยั้งกิจกรรมทางชีววิทยาของสารพิษที่เกิดขึ้นกับตับ

นอกจากนี้งานวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของมะม่วงหาว มะนาวโห่ ที่ระบุว่ามีฤทธิ์ทำให้หัวใจบีบตัวลดลง  กระตุ้นมดลูกทำให้หัวเต้นชา บำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิต เป็นต้น


การศึกษาทางพิษวิทยา

ในปัจจุบันยังไม่พบรายงานการศึกษาพิษวิทยาของส่วนผล แต่ส่วนรากแสดงความเป็นพิษเมื่อให้สารสกัดเอทานอลของรากต้นมะม่วงหาว มะนาวโห่โดยฉีดเข้าเส้นเลือดดำ ฉีดเข้าช่องท้อง และให้ทางปากของแมวในขนาด 5 – 150 มก./กก. พบว่ามีผลทำให้สัตว์ทดลองคลื่นไส้ อาเจียน เซื่องซึม น้ำมูกไหล ท้องเสีย หายใจแรงและเร็ว (tachypnea) ชัก และตายในที่สุด การให้ทางหลอดเลือดดำจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนเร็วที่สุด คือใช้เวลา 3 – 5 นาที หลังจากให้สาร ส่วนการให้ทางช่องท้อง และทางปากใช้เวลา 10 – 20 และ 40 – 60 นาที ตามลำดับ แมวที่ได้รับสารสกัดทางเส้นเลือดดำทุกตัวตายภายในเวลา 1 – 2 ชั่วโมงหลังจากให้สาร เมื่อผ่าอวัยวะภายในพบว่าตับผิดปกติ มีการบวมของเซลล์ตับ (liver congestion) มีจุดเลือด (petechial hemorrhages) ที่ปอด และผนังลำไส้เล็ก


ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

ในการศึกษาทางเภสัชวิทยา และพิษวิทยา ของมะม่วงหาวมะนาวโห่ในปัจจุบันล้วน เป็นการศึกษาในสัตว์ทดลอง และผลการทดลองแต่ยังไม่ปรากฏผลการศึกษาที่ในคน จึงทำให้ไม่อาจระบุประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้รักษาโรคได้อย่างแน่ชัด โดยการใช้ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสมหรือใช้ในปริมาณมากเกินไปอาจเสี่ยงก่อให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากมะม่วงหาว มะนาวโห่ให้จึงปรึกษาแพทย์ก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือมีโรคประจำตัว

 

เอกสารอ้างอิง

  1. สกุลกานต์  สิมลา.มะนาวโห่ : พืชในวรรณคดีไทยที่มากด้วยประโยชน์ .วารสารแก่นเกษตร .ปีที่ 44 ฉบับที่3 .กรกฎาคม – กันยายน .2559.หน้า 557-566.
  2. มะนาวไม่รู้โห่…ไม้ประดับกินได้.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  3. ธงชัย พุ่มพวง.ประพันธ์ ชานนท์.พิมพ์ใจ ทรงประโคน. กัลยาณี วรรณศรี. ดำรงเกียรติ มาลา และ พรประภา รัตนแดง 2556.มะม่วงหาว มะนาวโห่ ผลไม้ในวรรณคดีไทยที่มากมายด้วยคุณค่าและราคาดี.นิตยสารเกษตรโฟกัส.2(20):24-39.
  4. ณัฏฐินี อนันตโชค.มะนาวไม่รู้โห่.จุลสารข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.ปีที่29.ฉบับที่ 1.ตุลาคม.2554.หน้า2-6
  5. ณนัฐอร บัวฉุน.ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีนอลิกของเมล็ดและเนื้อมะม่วงไม่รู้โห่.วานสารวิจัยและพัฒนะ วไลขอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.ปีที่ 13 ฉบับที่2.พฤษภาคม-สิงหาคม 2561.หน้า 53-63
  6. มะม่วงหาวมะนาวโห่.กระดานถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.medlont.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=5703
  7. สกุลกานต์ สิมลา.สุรศักดิ์ บุญแต่ง และพัชรี สิริตระกูลศักดิ์.(2556).การประเมินปริมาณสารพฤษเคมีบางประการและกิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระใน Carissa carandas L. แก่นเกษตร 41 ฉบับพิเศษ:602-606.
  8. มะม่วงหาว มะนาวโห่.กระดานถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.medlont.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=6441
  9. Itankar, P.R., S.J. Lokhande1, P.R. Verma, S.K. Arora, R.A. Sahu, and A.T. Patil. 2011. Antidiabetic potential of unripe Carissa carandas Linn. fruit extract. J. Ethnopharmacol. 135: 430-433.
  10. Philippine Medicinal Plants. 2012. Caranda. Available: http://goo.gl/kBShxE. Accessed Aug. 6, 2014.
  11. Begum, S., S.A. Syed, B.S. Siddiqui, S.A. Sattar, and M.I. Choudhary. 2013. Carandinol: First isohopane triterpene from the leaves of Carissa carandas L. and its cytotoxicity against cancer cell lines. Phytochem Lett. 6: 91-95
  12. หนามแดง.กระดานถาม-ตอบ.สำนักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.medlont.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=6561
  13. Hati, M., B.K. Jena, S. Kar, and A.K. Nayak. 2014. Evaluation of anti-inflammatory and anti-pyretic activity of Carissa carandas L. leaf extract in rats. J. Pharm Chem Bio Sci. 1(1): 18-25.
  14. Gupta, P., I. Bhatnagar, S-K. Kim, A. K. Verma, and A. Sharma. 2014. In-vitro cancer cell cytotoxicity and alpha amylase inhibition effect of seven tropical fruit residues. Asian Pac J Trop Biomed. 4(2), S665-S671.
  15. Kumar, S., P. Gupta, and V. Gupta K.L. 2013. A critical review on Karamarda (Carissa carandas Linn.). Int J Pharm Bio Arch. 4(4): 637 -642.
  16. Kubola, J., S. Siriamornpun, and N. Meeso. 2011. Phytochemicals, vitamin C and sugar content of Thai wild fruits. Food Chemistry. 126, 972-981.
  17. Sulaiman, S.F., W.S. Teng, O.K. Leong, S.R. Yusof, and T.S.T. Muhammad. (n.d.). Anticancer study of Carissa carandas extracts. Available: http://goo.gl/ W2WjSG. Accessed May 16, 2014
  18. Aslam, F., N. Rasool, M. Riaz, M. Zubair, K. Rizwan, M. Abbas, T.H. Bukhari, and I.H. Bukhari. 2011. Antioxidant, haemolytic activities and GC-MS profiling of Carissa carandas roots. Int J Phytomedicine. 3: 567-578
  19. Patel, S. 2013. Food, pharmaceutical and industrial potential of Carissa genus: an overview. Rev Environ Science Biotech. 12(3): 201-208

    ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโหมะม่วงหาวมะนาวโห่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอย (ผล)

      1. ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง (แก่น)
      2. แก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า (เนื้อไม้)
      3. เพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับร่างกาย (ผล)
      4. ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก)
      5. มีส่วนช่วยลดความอ้วน (ผล)
      6. ช่วยขยายหลอดเลือดป้องกันการเกิดโรคหัวใจ (ผล)
      7. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
      8. ธาตุเหล็กในผลมีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ผล)
      9. มีส่วนช่วยรักษาโรคโลหิตจาง (ผล)
      10. บรรเทาอาการของโรคตับ อย่างโรคตับแข็ง (ผล)
      11. ช่วยรักษาโรคเกาต์ (ผล)
      12. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคไทรอยด์ (ผล)
      13. ช่วยป้องกันโรคไหลตาย (ผล)
      14. ในบังคลาเทศใช้ใบรักษาโรคลมชัก (ใบ)
      15. มีส่วนช่วยบรรเทาอาการของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต มือเท้าชา (ผล)
      16. ช่วยบำรุงกำลัง (เนื้อไม้)
      17. ช่วยบำรุงธาตุ (ราก, แก่น, เนื้อไม้)
      18. ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย (แก่น, เนื้อไม้)
      19. ช่วยแก้ไข้ รวมถึงไข้มาลาเลีย (ราก, ใบ)
      20. ช่วยดับพิษร้อน (ราก)
      21. ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ (ผล)
      22. ช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ผล)
      23. ช่วยขับเสมหะ (ผล)
      24. มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน
      25. แก้อาการเจ็บคอ เจ็บในปาก (ใบ)
      26. แก้อาการปวดหู (ใบ)
      27. ช่วยรักษาลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน สมานแผลในช่องปาก (ผล)
      28. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร (ราก)
      29. แก้อาการท้องเสีย (ใบ)
      30. ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
      31. ช่วยขับปัสสาวะ (ผล)
      32. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ยอดอ่อน)
      33. ช่วยขับพยาธิ (ราก)
      34. ช่วยรักษาโรคเท้าช้าง (น้ำยาง)
      35. ช่วยฆ่าเชื้อ (ผล)
      36. ผลสุกใช้ในการสมานแผล (ผล, ยาง)
      37. ใช้รักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง (เปลือกต้น)
      38. ช่วยแก้อาการคัน (ราก)
      39. ในอินเดียใช้รากเพื่อรักษาแผลเบาหวาน (ราก)
      40. แก้กลากเกลื้อน (เมล็ด, น้ำยาง)
      41. แก้อาการเนื้อหนังชาในโรคเรื้อน (เมล็ด)
      42. ช่วยรักษาแผลเนื้องอก (น้ำยาง)
      43. ช่วยรักษาหูด (น้ำยาง)
      44. ช่วยทำลายตาปลาและช่วยกัดทำลายเนื้อที่ด้านเป็นปุ่มโต (น้ำยาง)
      45. ใช้พอกดับพิษ (ผล)
      46. ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามข้อ (ผล)
      47. ผลสุกมะม่วงหาว มะนาวโห่

         ประโยชน์ของมะม่วงหาวมะนาวโห่

        • น้ำของผลสามารถนำมาใช้ปรุงอาหารแทนมะนาวได้
        • ใช้ทำเป็นผลไม้หมักดอง
        • นำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู เช่น ผัดไทยเต้าหู้มะนาวโห่ น้ำพริกเผามะนาวโห่ ฟรุ้ตตี้ลืมหาว เป็นต้น

         

        แหล่งอ้างอิง : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ (สสส.), www.stuartxchange.com/Caranda.html

        ช่วยรักษาโรคปอด (ผล)ช่วยรักษาโรคถุงลมโป่งพองจากการสูบบุหรี่ได้ดีมาก (ผล) ช่วยรักษาโรคไต (ผล)

SHARE NOW
Exit mobile version