กัญชารักษาโรคเอดส์ได้ไหม?

กัญชารักษาโรคเอดส์ได้ไหม?

กัญชารักษาโรคเอดส์ได้ไหม?

กัญชารักษาโรคเอดส์ได้ไหม?

ประเด็นที่มีข่าวออกมาว่า กัญชาใช้ในผู้ป่วยโรคเอดส์ จนภาครัฐต้องมีการตรวจสอบนั้น แท้จริงแล้ว กัญชารักษาได้หรือไม่

ผมจะไม่ตอบว่า ได้ หรือ ไม่ได้ แต่ผมจะให้ทุกท่านพิจารณาด้วยเหตุและผล หรือไปค้นข้อมูลต่อ

กัญชา ใช้ในผู้ป่วยโรคเอดส์ หรือ ติดเชื้อไวรัส HIV มีคนใช้จริงไหม

ตอบ จริง มีการใช้มานานแล้วด้วย ทั้งในคนไทย และ ต่างประเทศ

ใช้แล้วเป็นอย่างไร

ตอบ ในคนไทยที่ผมเคยคุยด้วย อาการดีขึ้น และเชื้อหาย ไม่เป็นเอดส์ ส่วนในต่างประเทศ ก็ไปในทางเดียวกัน สามารถค้นข้อมูลได้เลย ส่วนคนอื่นๆผมไม่รู้ และไม่เคยคุยด้วย

แล้วกัญชา กับ โรคเอดส์ หรือ เชื้อ HIV มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน

ตอบ คำว่าความน่าเชื่อถือ ในนิยามของคุณมีใครหนุนหลังละ และเมื่อภาครัฐยังไม่ปลดออกจากยาเสพติด การจะทำวิจัยมันก็ติดขัดไปหมด

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ กัญชา และเชื้อ HIV เกี่ยวข้องกัน แต่คำว่า ติดเชื้อ HIV กับโรคเอดส์ มีนิยามความหมายแตกต่างกัน

เข้าใจง่ายๆ คือ โรเอดส์ คือ การติดเชื้อไวรัส HIV ที่มีโรคแทรกซ้อนอื่นๆร่วมด้วย เช่น ติดเชื้อรา ติดเชื้อวัณโรค เป็นต้น แต่ติดเชื้อไวรัส HIV คือ มีเชื้อ แต่ยังไม่มีโรคแทรกซ้อนตามมา การรักษามันก็แตกต่างกัน

สารในกัญชา หรือ ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ทำให้ทำลายหรือกดเชื้อไวรัสได้

และที่สำคัญ กัญชา ภาครัฐก็บอกว่า สามารถใช้ในผู้ป่วยเพื่อประคับประคองอาการในผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

แต่พอผู้ป่วยระยะสุดท้ายในหลายๆกลุ่มโรค ใช้กัญชาแล้วดีขึ้น หรือแม้แต่โรคหายไป กลับบอกว่า ไม่เกี่ยวกับกัญชาเฉยเลย งงในงง 55

ก็อย่างที่ผมบอกไปนั่นละว่า ในเรื่องความหมดหวังของการใช้ยาเคมีกับผู้ป่วย บุคคลที่อ้างว่าเป็นภาครัฐ มีสิทธิอ้างอะไรไม่ให้ ผู้ป่วยเข้าถึงการใช้กัญชา เพื่อรักษาชีวิตพวกเขา

การรักษาโรคที่มีความซับซ้อน และเสี่ยงต่ออันตรายต่อชีวิต ไม่มีความจำเป็นต้องเลือกข้างให้คนไข้ เพราะมันสามารถผสมผสานกันได้ ทั้งเคมีและสมุนไพร

ภาครัฐและบุคคลากรทางการแพทย์ต้อง ลงจากหอคอยงาช้าง ที่ธุรกิจยาเคมีปิดหูปิดตาไว้ ลงมาใช้ศิลปะให้สมกับวิชาชีพในการรักษาโรค รักษาคนให้กันเยอะๆ อย่าใช้เพียงการท่องจำมาได้ตามตำรา

สุดท้ายชีวิตก็เป็นของคุณเองครับ ถ้าบุคลากรทางการแพทย์รักษาแล้ว ไม่กล้าพูดเต็มปากได้ว่า จะทำให้คุณหายได้ คุณก็แค่เลือกว่า จะให้ชีวิตคุณหรือคนที่คุณรักเป็นอย่างไร ก็เท่านั้นเอง

ปล. กัญชาที่ออกฤทธิ์ผ่านระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ สามารถใช้ร่วมกับยาได้แทบๆทุกโรค แม้กระทั้งยาต้านเชื้อไวรัส HIV แต่ต้องใช้อย่างเข้าใจนะครับ ไม่ใช้สักแต่จะใช้กัน

อ้างอิงบางส่วนจาก

Oral cannabinoids in people living with
HIV on effective antiretroviral therapy:
CTN PT028—study protocol for a pilot randomised trial to assess safety, tolerability and effect on immune activation. BMJ Open 2019;9:e024793.

Cannabis consumption in HIV for pain & other medical symptoms. Journal of Pain Symptom Management 29: 358 to 367.Woolridge et-al 2005.

Patterns of cannabis consumption among patients with HIV/AIDS followed in a public health care setting. Prentiss et-al 2004 Journal of Acquired Immune Deficiency Syndromes 35: 38 to 45.

Mary-Jane & her patients: sociodemographic & clinical characteristics of HIV-positive individuals using medical cannabis & antiretroviral agents. Braitstein et-al 2001. AIDS 12: 532 to 533.

Cannabis consumption by persons living with HIV/AIDS: patterns and prevalence of use. Ware et-al 2003. Journal of Cannabis Therapeutics 3: 3 to 15.

Marijuana consumption & its association with adherence to antiretroviral therapy among HIV-infected persons with moderate to severe nausea. de Jong et-al 2005. Journal of Acquired Immune Deficiency Syndromes 38: 43 to 46.

Recreational drug consumption & T lymphocyte subpopulations in HIV-uninfected & HIV-infected men. Chao et-al 2008. Drug & Alcohol Dependence 94:165 to 171.

Marijuana as therapy for people living with HIV/AIDS: social & health aspects Fogarty et-al 2007.19: 295 to 301.

Attenuation of HIV-1 replication in macrophages by cannabinoid receptor 2 agonists.Ramirez et-al 2013. Journal of Leukocyte Biology 93: 801 to 810

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

SHARE NOW
Exit mobile version