คุณประโยชน์ของว่านหางจระเข้

คุณประโยชน์ของว่านหางจระเข้

คุณประโยชน์ของว่านหางจระเข้

คุณประโยชน์ของว่านหางจระเข้

เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบจัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม ( Lilium ) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของ ทวีปอาฟริกาพันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาวดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมันคำว่า ” อะโล” ( Aloe ) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “Allal” มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อน ต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรป และเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera (L.) Burm.f.ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Millชื่อสามัญ : Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbadosวงศ์ : Asphodelaceaeชื่ออื่น : หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตรลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อนอวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวยส่วนที่ใช้ : ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้าการเพาะปลูกว่านหางจระเข้ว่านหางจระเข้ปลูกง่าย โดยการใช้หน่ออ่อน ปลูกได้ดีในบริเวณทะเลที่เป็นดินทราย และมีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ดี จะปลูกเอาไว้ในกระถางก็ได้ ในแปลงปลูกก็ได้ ปลูกห่างกันสัก 1-2 ศอก เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ต้องมีการระบายน้ำดีพอ มิฉะนั้นจะทำให้รากเน่าและตาย ว่านหางจระเข้ชอบแดดเรไร ถ้าถูกแดดจัดใบจะเป็นสีน้ำตาลแดงสรรพคุณทางยาว่านหางจระเข้วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-cmidin, Aloesin, Aloin,สารประเภท glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่าวุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะวุ้นใบมีสรรพคุณรักษาแผล ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียช่วยสมานแผลได้ด้วยใบ – รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝีทั้งต้น – รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลาราก – รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิดยางในใบ – เป็นยาระบายน้ำวุ้นจากใบ – ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็นเนื้อวุ้น – เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวารเหง้า – ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิดข้อควรระวังในการใช้ว่านหางจะเข้ถ้าใช้เป็นยาภายใน คือ เป็นยาถ่าย ห้ามใช้กับคนที่ตั้งครรภ์ กำลังมีประจำเดือน และคนที่เป็นริดสีดวงทวารถ้าใช้เป็นยาภายนอก อาจมีคนแพ้แต่น้อยมาก ไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากทายา 2-3 นาที ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำที่สะอาด และเลิกใช้นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น สามารถแยกแยะสาระสำคัญตัวใหม่ จากใบว่านหางจระเข้ได้ สารตัวใหม่นี้เป็น glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A ได้จดสิทธิบัตรไว้ที่ European Patent Application ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521นอกจากนี้พบว่า สารนี้สามารถรักษาโรคได้หลายโรค เช่น มะเร็ง แก้อาการแพ้ รักษาไฟไหม้ และรักษาโรคผิวหนัง๑. แก้ปวดศีรษะ นำว่านหางจระเข้ตัดให้เป็นแว่นบางๆ เอาปูนแดงทาที่วุ้น แล้วปิดที่ขมับ จะทำให้เย็นหายปวด๒. แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้น้ำเมือกจากว่านหางจระเข้รักษา แผลไฟลวก ขนาดรุนแรงที่สุด โดยทาน้ำเมือกที่แผลให้เปียกอยู่เสมอ แผลจะหายรวดเร็วมาก อาการปวดแผลหรือการเกิดแผลเป็นจะมีน้อยมากหรือไม่มีเลย๓. ผิวไหม้เพราะถูกแดดเผา ใช้วุ้นหางจระข้ทาบ่อยๆ ช่วยลด อาการปวดแสบปวดร้อน ผิวตึง และลดจำนวนผิวที่ลอก๔. แผลจากของมีคมและแผลอื่นๆ ทำความสะอาดแผลเสียก่อน แล้วเอาวุ้นปิดลงที่แผลให้สนิท เอาผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงไปให้ผ้าตรงบริเวณที่แผลเปียกอยู่เสมอ ช่วยให้แผลหายเร็ว และลดรอยแผลเป็น๕. กระเพาะลำไส้อักเสบ รับประทานวุ้นหางจระเข้ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ วันละหลายๆ ครั้ง ใช้ได้ผลในรายที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืออวัยวะอื่น ในทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ๖. บำรุงผมและหนังศีรษะ ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ชโลมผมให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้ง รุ่งเช้าจึงใช้น้ำล้างออก ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม หวีง่ายขึ้น และรักษาแผลบนหนังศีรษะ ( ก่อนใช้ควรทดลองก่อนว่า แพ้ว่าน หรือไม่ และควรใช้แต่น้อยดูก่อน ที่สำคัญอย่าให้ยางถูกผมเพระายางจะ กัดหนังหัว)๗. ป้องกันการติดเชื้อ ใช้วุ้นหางจระเข้ ทาแผลรักษาแผลติดเชื้อได้ ทำให้แผลดีขึ้น ภายใน ๑๒ ชั่วโมง๘. ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้สารต่างๆ เนื่องจากวุ้นหางจระข้จะมีฤทธิ์ระงับปวด จึงช่วยลดอาการคันด้วย และยังช่วยให้ผื่นคันหายเร็ว๙. ขี้เรือนกวาง และผื่นปวดแสบปวดร้อน ใช้วุ้นหางจระเข้ กินวันละ ๑-๒ ครั้งๆ ละ ๑-๒ ช้อนโต๊ะ และทาควบคู่กันไป ว่านหางจระเข้ เป็นยาฝาดสมาน อาจทำให้ผิวแห้งได้ จึงควรผสมน้ำมันทาผิว หรือ น้ำมันอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย๑๐. ลบรอยแผลเป็น ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทา เช้า-เย็น จะลดรอย แผลเป็น๑๑. ลบท้องลายหลังคลอด ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาผิวท้อง ขณะตั้ง ครรภ์ แม้หลังคลอดแล้วก็ควรใช้ทาต่อเพื่อช่วยให้ผิวหน้าท้องกลับคืนสู่ สภาพปกติ คนที่เคยใช้ยืนยันว่าได้ผลดี๑๒. เส้นเลือดดำขอดที่ขา ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาที่บริเวณเส้นเลือด ดำขอด และมีบางคนใช้ได้ผลดีมาก๑๓. มะเร็งที่ผิวหนัง ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาวันละ ๒-๔ ครั้ง เป็นเวลาหลายเดือน๑๔. แผลครูดและแผลถลอก ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาเบาๆ ให้ทั่วใน ๒๔ ชั่วโมงแรก ทาบ่อยๆ แผลจะไม่ค่อยเจ็บและหายเร็วมาก๑๕. โรคปวดตามข้อ รับประทานวุ้นว่านหางจระเข้ เป็นประจำจะหาย ปวดได้ข้อมูลจาก ครูบ้านนอกดอทคอม – rspg.or.th – วิกิพีเดีย

คุณประโยชน์ของว่านหางจระเข้

นอกจากเป็นไม้พันธุ์สวยงามใช้ประดับสวนในบ้านได้แล้ว ยังมีสรรพคุณว่าเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ว่านหางจระเข้ เป็นต้นไม้ยอดนิยมที่หลายๆ บ้านนำมาปลูกกัน แม้แต่กระทรวงสาธารณสุข ยังส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่น ปลูกตามโครงการสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อใช้เป็นยารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เลยทีเดียว ที่เป็นแบบนี้เพราะในใบว่านหางจระเข้ที่เราเห็นเป็นวุ้นใสๆ อยู่นั้น มีสารสำคัญจำพวก ไกลโคโปรตีน (glycoprotein) ชื่อ อะลอคตินเอ (aloctin A) และอะลอคตินบี (aloctin B) เป็นส่วนประกอบ มีสรรพคุณในการลดอาการอักเสบ ช่วยรักษาแผลที่เกิดจากการไหม้ แสบร้อน หรือแผลจากการฉายรังสี ช่วยลดอาการข้างเคียงสำหรับคนที่ทำรังสีบำบัด ทั้งช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย ที่เปลือกของว่านหางจระเข้จะมีน้ำเมือกหรือน้ำยาง เวลากรีดใบให้ขาดออกจากกันน้ำยางสีเหลืองจะไหลออกมา ในน้ำยางนี้จะมีสารพวกแอนทราควิโนนซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากนำน้ำยางไปเคี่ยวให้น้ำระเหยออกไป แล้วทิ้งให้เย็นจะได้สารสีน้ำตาลเกือบดำซึ่งนิยมเรียกกันว่า ยาดำ นำไปใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณ ที่ต้องการให้มีฤทธิ์เป็นยาระบาย หลายตำรับ ในแถบอัฟริกายังนำน้ำยางจากใบว่านหางจระเข ้มาทาผิวสำหรับป้องกันไม่ให้ผิวไหม้เกรียมได้ด้วย โดยมีงานวิจัยพบว่า ในน้ำยางของว่านหางจระเข้นี้มีสารอะโลอิน (aloin) ซึ่งสามารถดูดแสงอุลตราไวโอเลต (UltraViolate) อันเป็นช่วงแสงที่มีผลทำให้ผิวหนังไหม้เกรียมได้ นอกจากนี้ยังพบว่าสารอะโลอิน และสารอื่นที่ได้จากเปลือกใบของว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ยังยั้งเอ็นไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ใต้ผิวหนัง ถ้าเรามีเอ็นไซม์นี้มากไปก็อาจทำให้เกิดจุดด่างดำที่ผิวหนังได้ จึงมีการนำว่านหางจระเข้มาสกัด และผสมเป็นครีมกำจัดฝ้า และรอยด่างดำบนผิวหนังในรูปของเครื่องสำอาง นอกจากนี้ยังนำมาผสมในแชมพูสำหรับบำรุงผม ช่วยป้องกันผมร่วงได้ หากผสมในสบู่ก็จะช่วยทำความสะอาดผิวหน้า ให้ความชุ่มชื้นไม่แห้งตึง ใบสดของว่านนำมาฝานหนาๆ แล้วทาปูนแดงใช้ปิดขมับ รักษาอาการปวดศีรษะ ดูดพิษ ทำให้เย็น แม้แต่รากและเหง้าของต้น ก็ยังสามารถนำมาต้มกินรักษาโรคหนองในอีกด้วย ไม่เพียงเท่านี้ ว่านหางจระเข้ยังนำมาทำเป็นอาหารพวกของหวาน ได้อร่อยไม่น้อย เช่น น้ำวุ้นมาทำลอยแก้ว หรือวุ้นแช่อิ่ม หรือนำมาปั่นทำเป็นน้ำว่านหางจระเข้ ดื่มเย็นๆ หอมหวานชื่นใจ วิธีการโดยนำใบที่โตเต็มที่มาปอกเปลือก ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด ต้มให้สุกแล้วนำมาปั่นด้วยเครื่องปั่นให้ละเอียด เติมน้ำต้มสุกหรือน้ำต้มใบเตยหอม แล้วเติมน้ำเชื่อมเล็กน้อย ใส่น้ำแข็งดื่มได้ทันท ีหรือกรองด้วยผ้าขาวบางเก็บใส่ขวดไว้ในตู้เย็น ดื่มให้หมดภายใน 2 วัน มีสรรพคุณช่วยบำรุงสุขภาพร่างกาย เพิ่มความสดชื่นกระปรี้กระเปร่าเวลาอ่อนเพลียพักผ่อนน้อย แถมยังช่วยให้ขับถ่ายคล่องตัว ไม่ท้องผูกด้วย

SHARE NOW
Exit mobile version