ภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

ภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

ภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

ภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

…มีคำถามจากผู้ใช้งานเฟสบุ๊คสมุนไพรอภัยภูเบศรว่าหากมีอาการนอนไม่หลับควรใช้สมุนไพรชนิดใด? โดยที่ท่านนี้ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ และมีอายุ 70 ปี
ภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มีสาเหตุสำคัญจากการลดลงของระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน การทำงานของสารสื่อสมองต่างๆ ลดลง และการเปลี่ยนแปลงของนาฬิกาชีวภาพ นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่จะส่งผลถึงคุณภาพการนอน เช่น การใช้ยา การทำงานของระบบหายใจ โรคทางสมอง เป็นต้น
…ผู้ที่เริ่มมีภาวะนอนไม่หลับ แนะนำว่าควรปรับให้มีสุขอนามัยการนอนที่ดีก่อนอย่างง่ายๆ โดยหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน แอลกอฮอลล์ การสูบบุหรี่ เข้านอนหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการทำงานที่มีความเครียด ในช่วงเวลาใกล้นอน
ยาช่วยหลับ หรือยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepines มีประสิทธิภาพดีในการบรรเทาภาวะนอนไม่หลับ ซึ่งจะถูกพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมของคนไข้ อย่างไรก็ตามหากใช้ในระยะยาวก็อาจทำให้คนไข้ติดการใช้ยาได้ บางตัวยาอาจมีผลข้างเคียงด้านการทรงตัวของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อการล้มอีกด้วย
ยาในกลุ่มเมลาโทนิน จึงเข้ามามีบทบาทในการรักษาอาการนอนไม่หลับ เนื่องจากช่วยเพิ่มระดับเมลาโทนินที่ลดลงในผู้สูงอายุได้ ทำให้เกิดวงจรการนอนหลับที่สมบูรณ์มากขึ้น เพิ่มคุณภาพการนอน คนไข้หลับได้ง่ายขึ้น ไม่มีอาการถอนยาเมื่อหยุดยา
…ปัจจุบันมี การสกัดน้ำมันรำข้าว ซึ่งมีฤทธิ์สำหรับลดไขมันในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคหัวใจ และพบเมลาโทนินในน้ำมันรำข้าวเช่นกัน มีการวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า “รำข้าว”สามารถช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับได้ โดยพบว่า สารแกมมาโอไรซานอลในรำข้าว มีส่วนช่วยในการเพิ่มคุณภาพการนอน
ในผู้สูงอายุ มักจะพบภาวะนอนไม่หลับได้บ่อย สาเหตุจากทั้งร่างกายและจิตใจ การเลือกใช้ยาหรืออาหารเสริมจึงมีความสำคัญ รวมถึงการปฏิบัติตัว ดังนั้น การเพิ่มกิจกรรมตอนกลางวัน ฝึกการทำสมาธิเพื่อทำจิตใจให้สงบ ก็เป็นวิธีช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้
ข้อมูลจาก อภัยภูเบศรสาร ฉบับเดือนกันยายน 2561 คอลัมน์ พืชใกล้ตัว โดย ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์
SHARE NOW
Exit mobile version