โรคนิ่วกับแตงกวา

โรคนิ่วทุกชนิดไม่ต้องผ่าตัด “ รักษาด้วยแตงกวากับสารส้ม”

ส่วนสารส้มจัดเป็นตัวยาสมุนไพรตัวหนึ่งในกลุ่มพวกธาตุวัตถุ


พูดถึงโรคนิ่วใครที่เคยเป็นโรคนี้จะรู้รสชาติถึงความเจ็บปวดของมันดีว่าทรมานขนาดไหน สมุนไพรที่จะแนะนำในการรักษานิ่วทุกชนิดคือแตงกวา พืชผักในสวนครัวเรานี่เอง หาง่าย แตงกวามีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตกช้าง แตงปี แตงร้าน มีข้อมูลว่าแตงชนิดนี้ถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย

ประโยชน์ของแตงกวามีเยอะครับแก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกาย ในแตงกวามีสารฟีนอลที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ลดความดัน เพิ่มความจำเส้นใยอาหารจากแตงกวาช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ให้พลังงานต่ำเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

นอกจากนั้นยังช่วยในการขับปัสสาวะ ป้องกันและแก้อาการท้องผูกช่วยลดอาการของโรคเกาต์ โรคไขข้อรูมาติซั่ม ภูมิปัญญาพื้นบ้านเราที่โดดเด่นในการรักษาโรคนิ่ว คือได้นำแตงกวากับสารส้มมาร่วมในการรักษา โดยใช้มีดปาดปลายด้านใดด้านหนึ่งของแตงกวาอย่าให้ขาดแล้วใช้สารส้มขนาดเท่าหัวแม่มือยัดเข้าไปแล้วปิดไว้ หลังจากนั้นเอาไปนึ่งให้สารส้มละลายลงในแตงกวา แล้วนำแตงกวามากินให้หมด ปัญหาโรคนิ่ว จะหายไปอย่างน่าอัศจรรย์

ส่วนสารส้มจัดเป็นตัวยาสมุนไพรตัวหนึ่งในกลุ่มพวกธาตุวัตถุ มีลักษณะคล้ายกับน้ำตาลกรวด ถ้ามาวางคู่กันมองเผิน ๆ ถ้าคนไม่ชำนาญก็ดูไม่ออก ลักษณะที่แตกต่าง คือ สารส้มเป็นก้อนผลึกสีขาวขุ่น ไม่มีกลิ่น มีรสฝาดมาก

ในสมัยก่อนคนไทยใช้สารส้มในชีวิตประจำวันมาก โดยเอามาทารักแร้ดับกลิ่นตัว ใช้ทาส้นเท้าแตก โดยเฉพาะในแถบชาวชนบทที่ต้องตักน้ำจากบ่อหรือคลอง หรือสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ น้ำจะขุ่นไม่สะอาด จะเอาสารส้มไปแกว่งน้ำ แล้วทิ้งไว้ให้ตกตะกอนนอนก้นจนได้น้ำใสสะอาดสำหรับดื่มและใช้อาบได้

สารส้มจัดเป็นยาสำคัญในตู้ยาประจำบ้าน ชาวบ้านจะนำมาใช้ห้ามเลือดในกรณีที่เป็นแผลตื้นไม่ลึกมาก หรือบดเป็นผงละเอียดใช้โรยแผล ในสมัยก่อนเขาจะให้พวกที่ถอนฟันอม โดยใช้สารส้ม ๑ ส่วน ละลายกับน้ำเย็น ๙ ส่วน หรือละลายกับน้ำร้อนต้มเดือด ๓ ส่วน ใช้อมห้ามเลือด หรือใช้อมเป็นประจำเพื่อป้องกันฟันโยกคลอน และแก้บาดแผลในปาก แม้ผู้หญิงก็มักนำสารส้มละลายกับน้ำ ใช้ล้างช่องคลอดเพื่อรักษาอาการคันและตกขาวได้เหมือนกัน

สรรพคุณของแตงกวากับสารส้ม มีมากมายสุดยอดจริงๆ บางครั้งมันอยู่ใกล้ตัวเราเกินไปจนเรามองไม่เห็น

ขอบคุณข้อมูลจาก อ.จำรัส เซ็นนิล

SHARE NOW
Exit mobile version