“กระเทียมกับมะนาว”

"กระเทียมกับมะนาว"

“กระเทียมกับมะนาว” แม้จะไม่ใช่ยาเทวดา รักษาไม่ได้ทุกโรค แต่หลายๆโรคก็ดีขึ้นจากสูตรนี้ (ทำง่ายจากของใกล้ตัว) ถ้าได้กระเทียมโทนยิ่งดีครับ…

“กระเทียมกับมะนาว”
แม้จะไม่ใช่ยาเทวดา รักษาไม่ได้ทุกโรค แต่หลายๆโรคก็ดีขึ้นจากสูตรนี้ (ทำง่ายจากของใกล้ตัว) ถ้าได้กระเทียมโทนยิ่งดีครับ…

มะนาว กับ กระเทียม (สูตรเพื่อสุขภาพ)
วิธีทำ
ใช้มะนาว ๕๐ ลูก
และกระเทียม ๑ กิโลกรัม
ถ้าจะลองทำน้อยลงหน่อยก็ลดอัตราส่วนลง
เช่น มะนาว ๒๕ ลูก กระเทียมครึ่งกิโลกรัม
ให้ปอกเปลือกกระเทียมผสมกับมะนาวคั้นน้ำ แล้วนำมาปั่นรวมกัน เสร็จแล้วเก็บใส่โหลแก้ว ทิ้งไว้สักหนึ่งถึงสองอาทิตย์ หรือจะกินเลยก็ได้ แต่มันจะร้อนมาก ๆ บริเวณทางเดินอาหารตรงหน้าอก ไม่ต้องเข้าตู้เย็น เพราะกระเทียมกับมะนาวเป็นกรดทั้งคู่ เพียงแต่ช้อนที่ตักทานควรต้องสะอาด
มะนาวกระเทียมที่ทำเสร็จแรก ๆ จะเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีครีมอ่อนสวยงามน่ารับปะทาน นานไปสีจะเริ่มออกเหลืองเข้มขึ้นไป ไม่เป็นไรไม่เสียกินได้เรื่อย ๆ พอใกล้หมดก็ทำใหม่จะได้กินต่อเนื่อง สิ่งที่สำคัญกระเทียมที่เอามาทำต้องไม่มีแผลหรือจุดเขียว ๆ ต้องตัดทิ้งออกให้หมด เพราะถ้าไม่ตัดทิ้ง จะทำให้มะนาว กระเทียมที่ทำจะเสียเป็นสีเขียว กินไม่ได้
วิธีรับประทาน
จะกินวันละ ๑ ช้อนโต๊ะกินข้าว(ก่อนนอน)
หรือจะกินวันละ ๒ ถึง ๓ หน
หรือจะกินตอนเช้า ๑ ช้อนโต๊ะและเย็น ๑ ช้อนโต๊ะ
ก็ได้ ไม่มีโทษ เพราะมะนาวกับกระเทียมมันคืออาหาร เพียงแต่กินแล้วต้องแปลงฟัน ไม่อย่างนั้นไม่มีคนคุยด้วยเพราะกลิ่นทั้งสองอย่างมันแรง
สรรพคุณของกระเทียมกับมะนาวช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
ทำให้ผนังหลอดเลือดสะอาด เส้นเลือดแข็งแรง
แต่การกินกระเทียมมีข้อเสียตอนแรก ๆ ตอนผายลมทั้งคืน เมื่อทานนานไปก็เป็นปกติเองสูตรนี้อยากให้เพื่อน ๆ ทำกินดู เพื่อสุขภาพที่ดี
หมายเหตุ
โดยสรรพคุณต่างๆ ของกระเทียม มีดังนี้
1. ฆ่าเชื้อรา คือ กลาก เกลื้อน และเชื้อราที่เกิดตามเล็บ หนังศีรษะและผม
2. ฆ่าเชื้อยีสต์ชนิดที่ทำให้เกิดลิ้นขาวเป็นฝ้าในเด็กทารก และทำให้เกิดโรคมุตกิดระดูขาวที่มักจะเกิดในหญิงที่ตั้งครรภ์ หรือกินยาคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะหรือยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ
3. ลดความดันโลหิตสูง
4. ลดไขมันและคอเลสเตอรอล
5. ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
6. ลดน้ำตาลในเลือด
7. ฆ่าหรือยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแทบทุกชนิด กล่าวคือ มีสารอัลลิซิน ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่มักทำให้เกิดโรคได้ถึง 15 ชนิด โดยเฉพาะยับยั้งเชื้อพวกที่ดื้อยาเพนนิซิลินได้ดีกว่าเชื้อพวกที่ไม่ดื้อยาอีกด้วย นอกจากนี้ ยังฆ่าเชื้อบิดมีตัวที่มีพิษต่อลำไส้ได้ดี โดยมีสารที่สำคัญคือกาลิซิน รวมทั้งสามารถยับยั้งเชื้อบิดเทียม ซึ่งไม่รบกวนแบคทีเรียตัวอื่นที่มีประโยชน์ต่อลำไส้
8. ยับยั้งเชื้อต่างๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง และใช้รักษาแผลสด แผลที่เป็นหนอง คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อวัณโรค และเชื้อปอดบวม
9. รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
10. เป็นยาขับเสมหะและมีฤทธิ์ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ
11. รักษาโรคไอกรน
12. แก้หืดและโรคหลอดลม
13. แก้ธาตุพิการอาหารไม่ย่อย
14. ควบคุมโรคกระเพาะ คือมีสารเอเอส 1 ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ และยังช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้ด้วย
15. ขับพยาธิต่างๆ ได้หลายชนิด ได้แก่ พยาธิเข็มหมุด พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย และมีรายงานจากอินเดียว่ากระเทียมมีสารไดอัลลิลไดซัลไฟด์ มีฤทธิ์ใช้ฆ่าพยาธิไส้เดือนได้ดี
16. แก้เคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารอัลลิซินเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณที่ทาถูนวดยาได้ดีมากขึ้น
17. แก้ปวดข้อและปวดเมื่อย
18. ต่อต้านเนื้องอก
19. กำจัดพิษตะกั่ว
20. บำรุงร่างกาย ประเทศญี่ปุ่นได้ค้นพบสารในกระเทียมชื่อสคอร์ดินิน ไม่มีกลิ่น แต่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง รวมทั้งช่วยให้เนื้อเยื่อเจริญเติบโตและช่วยลดไขมันในร่างกาย
ยังมีผู้พบว่าในกระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก รวมถึงมีสารชักนำวิตามินบี 1 เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน ทำให้วิตามินบี 1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า
มีรายงานจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์พบว่ากระเทียมรักษาโรคภายใน ดังนี้คือ
— ลดความดันโลหิตสูงที่เกิดจากไขมันอุดตันหลอดเลือด เนื่องจากมีสารละลายไขมันในเส้นเลือด รับประทานเป็นประจำ 15 วัน ความดันโลหิตลดลงอย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงขณะรับประทานกระเทียมเป็นประจำควรจะมี การตรวจความดันโลหิตก่อน
— มีสารเป็นตัวนำของวิตามินบี1 เข้าสู่ทางเดินอาหารได้ดีเพื่อทำให้วิตามินบี1 นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยรวมเป็นสารอัลลิลไทอะมิน (Allithiamin) ทำให้วิตามินบี1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นถึง 20 เท่า และสารอัลลิซัลไฟด์จะช่วยกระตุ้นการดูดซึมของวิตามินบี1 ในลำไส้ดีขึ้นเท่าตัว
— ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของผนังกระเพาะลำไส้ ป้องกันโรคท้องผูกและขับลมในกระเพาะลำไส้
— ป้องกันการเป็นวัณโรคหรือนิวโมเนียได้ สำหรับผู้ที่รับประทานกระเทียมสดเป็นประจำ เนื่องจากขณะที่รับประทานกระเทียมสารมีกลิ่นกระเทียมจะระเหยออกมาทางลมหายใจ ทางปอด สารนี้จะไปทำลายเชื้อโรคที่ทางเดินหายใจก่อนที่เชื้อจะเข้าสู่ปอด แก้ไอ ขับเสมหะ
— ป้องกันโรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร มีกลไกเช่นเดียวกับป้องกันวัณโรค คือ จากสารที่ได้จากกระเทียมจะเข้าไปยับยั้งหรือฆ่าเชื้อต่าง ๆ ที่ติดเข้าไปกับอาหาร
— ความเข้มข้นของน้ำมันกระเทียมเพียง 0.001% สามารถฆ่าเชื้ออหิวาต์และไทฟอยด์ในหลอดทดลองได้
— เมอร์แคปแตน (mercaptan) เป็นสารกำมะถันอินทรีย์ที่อยู่ในกระเทียม ช่วยทำให้เนื้อและโปรตีนที่ทำลายยาก เช่น โปรตีนจากไข่ขาว นม ละลายและดูดซึมในลำไส้ได้ง่ายขึ้น
— น้ำคั้นจากกระเทียมบดผสมน้ำอุ่น 5 เท่า ผสมเกลือเล็กน้อย อมกลั้วคอฆ่าเชื้อในปากและลำคอได้
— ในอินเดียใช้กระเทียมโขลกสระผมช่วยป้องกันผมหงอก นอกจากนี้กระเทียมยังมีไอโอดีนเช่นเดียวกับสาหร่ายทะเล หอยต่าง ๆ กุ้ง น้ำมันตับปลา สับปะรด
— น้ำคั้นกระเทียมผสมน้ำเชื่อมรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บรรเทาอาการไข้หวัดเจ็บคอ ชั่วโมง อาการจะบรรเทา
น้ำมูกไหล และอาการไอ กระเทียมบดห่อด้วยผ้าขาวบางวางบริเวณริมฝีปากที่เกิดการอักเสบ 8-10
อันนี้มะนาวค่ะ
ประโยชน์มากอยู่เหมือนกันส่วนประกอบของมะนาวที่ใช้เป็นยา
— น้ำมะนาว มีรสเปรี้ยว ผสมกับเกลือและน้ำตาลทรายแดง จิบเป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ กินเป็นยาฟอกเลือด ล้างเสมหะในคอ ทั้งนี้เพราะกรดอินทรีย์หลายชนิดในน้ำมะนาว จะกระตุ้นให้มีการขับน้ำลายออกมา ทำให้ชุ่มคอ จึงช่วยลดอาการไอและขับเสมหะได้
— เมล็ดมะนาว มีรสขม เอามาคั่วแล้วบดเป็นผง หรือต้มน้ำดื่ม แก้ซางเด็ก แก้เม็ดยอดในปาก เป็นยาขับเสมหะ แก้ไข้ แก้อาเจียน และแก้พิษฝีภายใน
— ราก มีรสจืดเย็น มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ
ถอนพิษผิดสำแดง ฝนกับเหล้าทาแก้ปวดฝี แก้พิษอักเสบ
— ใบมะนาว มีรสปร่า แพทย์ตามชนบทใช้ใบมะนาว 108 ใบ ต้มน้ำดื่ม เป็นยากัดฟอกเสมหะ ฟอกโลหิตระดูสำหรับสตรี
— ผิวมะนาว ใช้เป็นยาแก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่น เป็นยาขับเสมหะ แก้เบื่ออาหาร
ขนาดวิธีใช้
1.ขับเสมหะ บรรเทาอาการเจ็บคอ นำผลสดมาคั้นเอาน้ำ จะได้น้ำมะนาวเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อย ๆ หรือปรุงเป็นน้ำมะนาว โดยเติมน้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือเล็กน้องชงน้ำอุ่นดื่มบ่อย ๆ (ควรปรุงให้รสจัดเล็กน้อย)
2. แก้ไอ ให้น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ จิบบ่อย ๆ หรือฝานมะนาวเป็นชิ้นบาง ๆ จิ้มเกลือรับประทาน หรือถ้ามีขี้ไต้ในบ้าน อาจเอามะนาวผ่าซีกแล้วรมควันขี้ไต้ก่อนแล้วจึงโรยเกลือ และบีบใส่คอ วิธีรมควันคือ เอาขี้ไต้ชิ้นเล็ก ๆ จุดเข้าเอาหน้าตัดของมะนาวไปขยับไปขยับมาอยู่ใกล้ ๆ ไฟให้เข่าจับ ในเขม่าจะมียาฆ่าเชื้ออ่อน ๆ
3. บรรเทาอาการฟกช้ำภายนอก ให้นำน้อมะนาวผสมกับดินสอพองทาหรือพอกบริเวณที่ฟกช้ำก็จะช่วยบรรเทาลงได้
4. แก้ท้องอืด ใช้เปลือกมะนาวสดประมาณครึ่งผล คลังหรือทุบเล็กน้อย พอให้น้ำมันออกมา ชงน้ำร้อนดื่ม เมื่อมีอาการ หรือใช้เปลือกผลมะนาวแห้ง 10-15 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
5. แก้ซางแก้ไข้ ขับเสมหะ ใช้เมล็ดคั่ว บดเป็นผง หรือต้มน้ำดื่ม
6. กักฟอกเสมหะ ฟอกโลหิตระดู ใช้ใบ 108 ใบต้มเอาน้ำดื่ม
7. บำรุงกำลัง ทำให้สดชื่นเวลาเป็นไข้ เอาน้ำมะนาวสด 1 ผล น้ำตาล 16 กรัม น้ำข้าว 500 ซี.ซี. ผสมกันดื่ม
8. แก้โรคลักปิดลักเปิด นำน้ำมะนาว 30 ซี.ซี. น้ำตาล 80 กรัม น้ำ 240 ซี.ซี. ผสมกันรับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
9. รักษาฝีมีหัว ให้ใช้รากมะนาวฝนกับสุราให้ข้น ๆ ทาฝี แก้ปวดฝีทาวันละ 2-3 ครั้ง
10. แก้น้ำร้อนลวก ใช้มะนาวผ่าซีกถูบริเวณแผลไปมาให้ทั่ว ๆ วันละ 2-3 ครั้ง ทำประมาณ 4-5 วัน จะหายเป็นปกติ
11. รักษาผิวหน้าให้สวยเสมอ ก่อนเข้านอนทุกคืน เอาดินสอพอง 1/2 ก้อน ต่อมะนาว 1 ซีก บีบมะนาวลงในดินสอพอง ผสมให้เข้ากันดีแล้วทาบาง ๆ ให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ตลอดคืน รุ่งเช้าจึงล้างออกจะรู้สึกว่าใบหน้าสะอาดขึ้น และช่วยป้องกันสิวอีกด้วย
12. แก้ปวดศีรษะ ใช้มะนาวฝานเป็นแว่น หนาประมาณ 6 มม. เอาปูนแดง(ที่รับประทานกับหมาก) ทาด้านหนึ่งให้ทั่ว แล้วเอาด้านนั้นมาปิดขมับที่ปวด ปล่อยไว้จนกว่ายาจะหลุดออกมาเอง
เครดิตข้อมูลโดย ทางแพทย์สายพุทธ
SHARE NOW
Exit mobile version