สะบ้ามอญ

สะบ้ามอญ สะบ้าใหญ่ สะบ้าหลวง มะบ้าหลวง มะนิม หมากงิม บ้า ย่านบ้า สะบ้าหนัง สะบ้าแฝก กาบ้า

สะบ้ามอญ สะบ้าใหญ่ สะบ้าหลวง มะบ้าหลวง มะนิม หมากงิม บ้า ย่านบ้า สะบ้าหนัง สะบ้าแฝก กาบ้า

สะบ้ามอญ
สะบ้ามอญ สะบ้าใหญ่ สะบ้าหลวง มะบ้าหลวง มะนิม หมากงิม บ้า ย่านบ้า สะบ้าหนัง สะบ้าแฝก กาบ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Entada phaseoloides (Linn.) Merr.
ชื่อวงศ์ Mimosaceae
เป็นพืชจำพวกเถา มีฝักขนาดใหญ่มาก ฝักแบนยาวมีรอยคอดตามแนวเมล็ดกลมๆ กว้าง 3-5 นิ้ว ยาว 2-4 ฟุต เมล็ดในกลมแบนหนา กว้างประมาณ 1.5-2 นิ้ว เปลือกเมล็ดแก่หนาแข็ง มีสีน้ำตาลแดง ลักษณะเมล็ดกลม แบน ขนาดใหญ่ เนื้อในเมล็ดสีขาวนวลแข็งมาก เมล็ดมีรสเมาเบื่อ
สรรพคุณ:

ตำรายาไทย: เมล็ดมีรสเมาเบื่อ เนื้อในเมล็ด ใช้ปรุงยาทาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้พยาธิ แก้มะเร็ง คุดทะราด ฆ่าเชื้อโรคผิวหนัง แก้หืด แก้เกลื้อน แก้กลาก ใช้เมล็ดในสุมให้ไหม้เกรียมปรุงเป็นยารับประทาน แก้พิษไข้ตัวร้อน แก้ไข้ที่มีพิษจัดและเซื่องซึม เนื้อในเมล็ดคั่วให้สตรีท้องคลอดกินจะทำให้คลอดง่าย ตำรายาพื้นบ้านมุกดาหาร ใช้รักษาแผลฝีหนอง
ตำรายาพื้นบ้าน: ใช้น้ำมันจากลูกสะบ้า โดยนำเนื้อในมาเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว บอนท่า และกำมะถัน ใช้ทารักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อน แก้น้ำเหลืองเสีย
นอกจาก ต้นและกิ่งก้านใช้สระผมช่วยให้ผมดกดำเป็นเงางาม เส้นผมแข็งแรง ไม่เป็นรังแคคันหนัง ศีรษะแล้ว ลำต้นกิ่งก้านยังใช้เป็นยาขับพยาธิผิวหนัง ได้ เมล็ด แก้โรคผิวหนัง โดย ใช้เฉพาะภายนอกเท่านั้น หากนำเมล็ดไปสุมไฟจนเป็นถ่าน กินแก้พิษไข้ได้
สะบ้ายังมีอีก 3 ชนิด แต่ละชนิดจะมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นไม้เถาเลื้อยเหมือนกันหมด จะแตกต่างกันที่ขนาดเมล็ดกับขนาดของฝักเท่านั้น คือ “สะบ้าลาย” ชนิดนี้จะมีเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อฝัก ไม่นิยมนำไปใช้เป็นสมุนไพร ชนิดที่ 2 คือ “สะบ้าดำ” ชนิดนี้มีเมล็ด 7-8 เมล็ดต่อฝัก แต่ขนาดของเมล็ดและขนาดของฝักจะเล็กกว่า “สะบ้ามอญ” นิยมเอาเมล็ดใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน หิด เหา ผื่นคัน และโรคผิวหนัง ชนิดสุดท้าย ได้แก่ “สะบ้าเลือด” ชนิดนี้เปลือกเมล็ดจะแข็งมาก

SHARE NOW

Facebook Comments