ผักคราดหัวแหวน
ผักคราดหัวแหวน
(แก้ปวดฟัน แก้ โรคปริทันต์ (โรคเหงือกหรือรำมะนาด) แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ถอนพิษ แก้ตับอักเสบ )
ผักพื้นบ้านที่เกิดง่าย พบเห็นในพื้นที่ทั่วไป เช่น ตามท้องนา ตามหลังบ้าน ริมถนน ริมน้ำ ผักคราดเป็นพื้นชอบน้ำ
………………………………..
ประโยชน์ที่ชาวบ้านใช้กัน
เก็บยอดใบมารับประทานเป็นผัก มีรสเฟื่อนนิดๆ ชาที่ปลายลิ้นนิดๆ และรู้สึกเย็นๆปาก
กินสดกับซุบหน้อไม้ ก้อยกุ้ง แกงกบ แกงปลาช่อน เป็นต้น
……………………………………..
ทำเป็นยา หมอสมุนไพรปู่ย่าตายาย หากปวดฟัน นำดอกผักคราดหัวแหวน เคี้ยวเบาๆให้แตกแล้วปกปิดไว้ที่ฟันซี่ที่ปวด จะช่วยอาการปวดฟันได้เยอะ
……………………………………..
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้ ดอก มีรสเผ็ด ชาลิ้น เป็นยาขับน้ำลาย แก้โรคในคอ รักษาแผลในปากคอ แก้ปวดฟัน(ใช้ดอกตำกับเกลืออมหรือกัดไว้บริเวณที่ปวด หรือใช้ดอกตำผสมกับเหล้าโรงเล็กน้อย ชุบสำลีอุดรูฟันที่ปวด) รำมะนาด แก้โรคลิ้นเป็นอัมพาต แก้โรคติดอ่างในเด็ก แก้ปวดศีรษะ
ใบ รสชาติหวาน ขม เอียน เบื่อเล็กน้อย ชาลิ้น ใช้เคี้ยวเป็นยาแก้วปวดฟัน ยาชา แก้พิษตามทวาร แก้ริดสีดวง แก้ผอมเหลือง แก้เด็กตัวร้อน แก้ปวดหัว แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาแผล ยาผายลมเด็กแก้ท้องอืดเฟ้อ แก้สำรอกของเด็ก แก้อัมพาต ยาถ่ายสำหรับเด็ก แก้พุพอง แก้ตกเลือด แก้มึน แก้ตาฟาง แก้ฝีดาษ ต้นสด ตำผสมเหล้า หรือน้ำส้มสายชู อมแก้ฝีในคอ ต่อมน้ำลายอักเสบ แก้ไข้แก้ปวดฟัน รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหารได้
ทั้งต้น มีรสเอียนเบื่อเล็กน้อย แก้พิษตานซาง แก้ริดสีดวง แก้ผอมเหลือง แก้เด็กตัวร้อน แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน
ทั้งต้นชงดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ แก้หอบไอ ระงับหอบ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง แก้ปอดบวม แก้ไอกรน ไขข้ออักเสบ ตำพอกแก้พิษปวดบวม แก้งูและสุนัขกัด
ทั้งต้นตำผสมสุรา ชุบสำลีอม แก้ฝีในคอ แก้คออักเสบ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้คันคอ ผสมขมิ้นอ้อย และเกลือสะตุ กวาดคอเด็กแก้ตัวร้อน แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน
ทั้งต้นต้มดื่ม แก้ปวดท้องหลังคลอด แก้ชอกช้ำภายในทรวงอก เจ็บปวดสีข้าง เป็นยาชาเฉพาะที่
ทั้งต้นตำพอก แก้พิษปวดบวม มีฤทธิ์ฆ่าตัวอ่อนยุง ใช้เบื่อปลา
น้ำต้มราก รสเอียน เบื่อเล็กน้อย เป็นยาถ่าย ใช้เป็นยาอมบ้วนปาก แก้อาการอักเสบในช่องปาก แก้อาการอักเสบ และเจ็บคอ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ แก้ปวศีรษะ แก้คัน
ราก ใช้เคี้ยวแก้ปวดฟัน .
ผล ปรุงเป็นยาแก้ร้อนใน เมล็ด เคี้ยวแก้ปากแห้ง เป็นยาขับน้ำลาย
ในประเทศจีน ใช้ สกัดเป็นยาชา
——————————-
ชมรมผักพื้นบ้าน