สูตรกล้วยๆ กับ 19 ประโยชน์ในการกินกล้วยรักษาโรค
กล้วยเป็นผลไม้ชนิดเดียว ที่สามารถป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บป่วยของโรคต่างๆ ได้มากกว่าสิบโรค โดยได้รับการยืนยันจากการแพทย์แผนปัจจุบันอีกด้วย
สรรพคุณจากส่วนต่างๆ ของกล้วย มีบันทึกในตำราการแพทย์ทั้งแผนตะวันตกและตะวันออก
ประโยชน์ของกล้วย การใช้กล้วยรักษาโรค และสาระน่ารู้จากกล้วย มีดังนี้คือ
1. กล้วยมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า จะมีแคลเซียมสูงมาก เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้ช่องปากมีสภาพเป็นด่าง ช่วยป้องกันฟันผุได้ การกินกล้วยน้ำว้า ควรกินตอนห่ามๆ อย่าให้สุกมากไป เพราะจะมีความหวานมากเกินไป
* ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย
2. กล้วยน้ำว้ามีวิตามินซี แคลเซียมสูงมาก กินวันละ 4 ลูก จะได้แคลเซียมพอดี รวมทั้งโปแตสเซียม มีโปรตีนครบเหมือนนมแม่ มีฮิสโตแฟน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของการหลั่งเอ็นโดรฟิน เมื่อกินกล้วยแล้วจึงทำให้มีความสุข หลับสบาย กินแล้วฟันไม่ผุ เพราะมีสารเพคติน ซึ่งมีฤทธิ์ฝาดสมาน จะเคลือบตั้งแต่ในปาก ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ถือเป็นยามหัศจรรย์ ใครท้องเสียให้กินดิบ ห่ามก็ได้ จะหยุดท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้
* ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
3. วิธีการเลือกซื้อกล้วยว่า ควรซื้อขณะที่มีสีเขียว และควรเลือกหวีที่อยู่กลางเครือ เพราะจะมีสารอาหารครบถ้วน กล้วยหวีที่อยู่กลางเครือจะมีลูกประมาณ 15-16 ลูก เมื่อได้กล้วยแล้ว ให้ดึงออกจากเครือโดยไม่ต้องใช้มีด จับที่ก้านแล้วดึงออกทีละลูก ฉีกออกมาวางไว้ กล้วยจะแห้งที่ก้าน อยู่อย่างนี้ได้ 3-5 วัน ไม่สุกไม่เน่า
* ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
4. วิธีการกินกล้วยที่ถูกต้อง ให้ปอกเปลือกจากบนลงล่าง กินจากข้างบนลงไป คำแรกๆ จะรู้สึกฝาด เพราะมียางอยู่ในปาก ซึ่งยางนั้น คือ ยาวิเศษ เพราะมีส่วนผสมของ เพคติน ยางกล้วยจะช่วยรักษาแผลในปาก โรคกระเพาะ โรคลำไส้ โรคทางเดินอาหาร กินกล้วยแล้วมีความสุขมากเพราะได้น้ำตาลฟรุคโทส เป็นน้ำตาลที่ไม่ใช้อินซูลิน กินไม่ถึง 5 นาที จะรู้สึก มีความสุข เพราะน้ำตาลจะขึ้นไปที่สมอง และใช้ได้ทันที เหมาะสำหรับคนไข้เบาหวาน และกินกล้วยน้ำว้าไม่ทำให้ปากเหม็น
* ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
5. สำหรับผู้สูงอายุ ขอให้กินกล้วยน้ำว้ามากๆ เพราะย่อยง่าย มีเยื่อ มีกาก มีวิตามินซี ไม่ทำให้ฟันผุ แต่ต้องแปรงฟันให้สะอาด” กล้วยน้ำว้า เมื่อเทียบกับกล้วยหอมและกล้วยไข่แล้ว กล้วยน้ำว้าจะให้คุณค่ามากกว่า เช่น ให้พลังงานสูง มีธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซี ช่วยบำรุงกระดูกและเหงือก
* ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
6. กล้วยช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า
* ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
7. กล้วยน้ำว้ายังช่วยในด้านความสวยความงาม ทำให้ผิวพรรณดูดี มีสุขภาพดีขึ้น
* ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
8. “ดอกกล้วย” รักษาเบาหวาน ชาวอินเดียใช้ ดอกกล้วย ต้มและนำน้ำที่ได้จากการต้มมากินแก้เบาหวาน วิธีต้มง่ายๆก็คือ นำดอกกล้วย 1 กำมือ ล้างน้ำให้สะอาด ต้มกับน้ำ 3 แก้ว ให้เดือดนาน 20 นาที จากนั้นให้ดื่มน้ำต้มดอกกล้วยครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีความสมดุล นอก จากนี้ในอินเดียยังมีการใช้ขี้เถ้าจากใบและต้นกล้วยมาต้มกินวันละ 1 ช้อนชา หลังอาหารเช้า-เย็น เป็นยาขับพยาธิ
* ตำราโบราณจากอินเดีย
9. “ดอกกล้วย” รักษาโรคหัวใจ ชาวจีนใช้ดอกกล้วยแห้งบดเป็นผง นำไปผสมกับน้ำ ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย กินครั้งละ 1-2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เป็นยาช่วยรักษาโรคหัวใจ
* ตำราโบราณจากจีน
10. กล้วยหอมสุก รักษาโรคริดสีดวงทวาร ในตำราการแพทย์แผนไทย ระบุสรรพคุณของกล้วยหลายประการ เช่น รักษาโรคริดสีดวงทวาร สำหรับผู้ที่เริ่มเป็นริดสีดวง ควรรับประทานกล้วยหอมสุกเป็นประจำทุกๆ เช้า วันละ 1-2 ผล กล้วยจะช่วยทำให้อุจจาระไม่แข็ง จึงไม่กระทบกับริดสีดวงเมื่อขับถ่าย
* ตำราการแพทย์แผนไทย
11. เปลือกกล้วยหอมสด ลดความดันสูง กล้วย ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง ให้นำเปลือกกล้วยหอมสดมาต้มน้ำ แล้วกรองเอาแต่น้ำไปดื่ม จะช่วยลดความดันโลหิตได้ หรือแม้แต่การรับประทานผลกล้วยสุกเป็นประจำก็ช่วยป้องกันรักษาโรคความดันเลือดสูงได้เช่นกัน
* ตำราการแพทย์แผนไทย
12. กล้วยสุก ระงับกลิ่นปาก กล้วยช่วยระงับกลิ่นปาก สำหรับผู้ที่มีกลิ่นปากแรง โดยที่ไม่ได้มีปัญหามาจากฟันผุ สามารถกำจัดกลิ่นได้ โดยรับประทานกล้วยสุกในตอนเช้าสัก 6-7 ลูก แล้วค่อยแปรงฟัน จะเป็นกล้วยชนิดใดก็ได้ ขอให้เป็นกล้วยสุกที่ไม่ผ่านกระบวนการใดๆ ไม่ว่าจะต้ม ทอด ปิ้ง เมื่อกินติดต่อกันสัก 7 วัน ก็จะเริ่มเห็นผล
* ตำราโบราณ
13. กล้วยน้ำว้าสุกห่ามๆ ป้องกันฟันผุ กล้วยน้าว้า มีแคลเซียมสูงมาก เมื่อกินเข้าไปจะทำให้ช่องปากมีสภาพเป็นด่าง ช่วยป้องกันฟันผุได้ การกินกล้วยน้ำว้า ควรกินตอนห่ามๆ อย่าให้สุกมากไป เพราะจะมีความหวานมากเกินไป
* ตำราโบราณ
14. กล้วยสุก ป้องกันเส้นโลหิตแตก หนังสือ The New England Journal of Medicine ระบุว่า ผู้ที่กินกล้วยเป็นประจำ จะลดอันตรายที่เกิดกับเส้นโลหิตแตกได้ถึง 40% นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลว่าในกล้วยมีโปรตีนที่มีชื่อว่า เทปโตแพน (trytophan) เมื่อรับประทานเข้าไป ร่างกายจะแปรเปลี่ยนโปรตีนดังกล่าวเป็น สารซีโรโตนิน (serotonin) ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย มีอารมณ์ดี ช่วยรักษาอาการซึมเศร้าได้ ยิ่งไปกว่านั้น วิตามินบี 6 ในกล้วย จะช่วยในการควบคุมอารมณ์ ช่วยให้ระบบประสาทดีขึ้น สำหรับสตรีตั้งครรภ์ หากรับประทานหัวปลีกล้วย จะช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น
* แพทย์แผนปัจจุบัน ประเทศอังกฤษ
15. เปลือกกล้วย แก้เม็ดผื่นคันจากยุงกัด เปลือกกล้วย มีสรรพคุณ แก้เม็ดผื่นคันจากยุงกัด โดยใช้เปลือกกล้วยด้านในทาบริเวณที่โดนยุงกัด จะช่วยลดอาการคันและทำให้เม็ดผื่นคันยุบตัวลงเร็วขึ้น
* ตำราโบราณ
16. กล้วย ช่วยรักษาแผลในลำไส้เรื้อรัง กล้วยช่วยรักษาแผลในลำไส้เรื้อรัง ทำให้ไม่เกิดการระคายเคืองในผนังลำไส้และกระเพาะอาหาร ธาตุเหล็กในกล้วย ช่วยในการผลิตฮีโมโกลบินในเลือดช่วยรักษาภาวะโลหิตจางได้
* ตำราการแพทย์แผนไทย
17. กล้วยน้ำว้า รักษากรดไหลย้อน และโรคกระเพาะ สูตรโบราณ ที่บอกต่อๆ กันมา และใช้ได้ผลจริง สำหรับผู้เป็นโรคกรดไหลย้อน และโรคกระเพาะ ให้กินกล้วยน้ำว้าห่ามๆ พอกินได้ อย่ากินแบบสุกมาก วันละ 2 ผล หลังตื่นนอน กินก่อนกินอะไรทุกชนิด ปฏิบัติทุกวัน จะหาย และควรงดอาหารรสจัดด้วยจะหายเร็วขึ้น
* ตำราโบราณ
18. กล้วยน้ำว้าดิบ รักษาโรคกระเพาะ ให้นำกล้วยดิบมาฝานเป็นแว่นบางๆ แล้วอบแห้งที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ห้ามใช้ความร้อนสูงกว่านี้เพราะจะทำให้สารที่ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารหมดฤทธิ์ไป หรือจะไปนำตากแดดให้แห้ง 3 แดด (3 วัน) จะได้ผลคล้ายกันคือกรอบจนบดได้ เมื่ออบ หรือตากแดดเสร็จแล้วให้นำมาบดเป็นผง หรือตำให้ป่นก็ได้ กินครั้งละ 1 ช้อนชา ถ้าจะให้กินง่ายๆ ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดกินได้ หรือชงกับน้ำอุ่นดื่มก็ดี ควรกินวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร
* ตำราโบราณ
19. น้ำจากต้นกล้วย รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ดื่มน้ำต้นกล้วย 1 ช้อนโต๊ะ จะมีรสฝาด ช่วยสมานแผลในทางเดินอาหาร และ ได้วิตามินสารอาหารอื่นๆ อีกด้วย วิธีหาน้ำในต้นกล้วย ให้ใช้ปลายช้อนแบบช้อนกลาง ปักเข้าไปกลางลำต้นกล้วย กะมุมให้น้ำไหลลงช้อนพอดี รอให้น้ำจากต้นกล้วยไหลมาตามช้อน รองมากินก่อนอาหาร วันละ 1 ช้อนโต๊ะ ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารได้ดีมาก กินทุกวัน จนอาหารหายแล้วเลิกกิน วิธีนี้ช่วยรักษา กรดไหลย้อน โรคกระเพาะ ได้อีกด้วย
* ตำราการแพทย์แผนไทย
(พระอธิการ นพดล กันตสีโล วัดหนองรั้ว)
Facebook Comments