อัญชันมีสาร “แอนโธไซยานิน” เพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา
อัญชัน ดื่มน้ำอัญชัน หรือนำดอกมาปรุงอาหารกินประจำ ต้านอนุมูลอิสระ ผมหงอกกลับดำ! สายตาดี เพราะมีสาร “แอนโธไซยานิน” เพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น
อัญชัน เป็นดอกไม้สีน้ำเงินแกมม่วง โบราณนิยมใช้ดอกเป็นสมุนไพร อาทิ นำมาขยี้วาดคิ้วให้เด็กแรกเกิด เพื่อให้มีคิ้วดกดำสวยได้รูป นำมาแปรรูปกินเพื่อบำรุงผมให้ดกดำ ป้องกันและแก้ผมหงอก ปัจจุบันนิยมนำมาทำน้ำอัญชันดื่มเป็นเครื่องดื่มดับกระหายคลายร้อน และยังได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ
อัญชันมีสาร “แอนโธไซยานิน” เพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา กำลังมีการวิจัยเพื่อนำมาป้องกันตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก และประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย
วิธีทำน้ำดอกอัญชัน
1. ดอกอัญชันสด 100 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อ เติมน้ำเปล่า 2 ถ้วย ต้มจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ ประมาณ 2-3 นาที แล้วกรองดอกอัญชันออก เก็บน้ำไว้
* กรณีทำเพียง 1 แก้ว ใช้ดอกอัญชันสด 7-8 ดอกก็พอ
(หากไม่มีใช้ดอกอัญชันสด ใช้แบบแห้งก็ได้มีขายในร้านสุขภาพ)
ส่วนผสมน้ำดอกอัญชัน
1. น้ำดอกอัญชัน 1 ถ้วย
2. น้ำเชื่อม 1 ช้อนโต๊ะ หรือ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ น้ำเชื่อมฟรุตโตสจากผลไม้ 1 ช้อนโต๊ะ
ชิมรสตามชอบ อย่ากินหวานมากนะคะ ไม่ดีต่อสุขภาพ จะใส่น้ำแข็งก็ได้ ไม่ใส่ก็ได้
วิธีทำน้ำอัญชันจากดอกอัญชันแห้งแบบง่ายๆ อีกวิธีหนึ่ง
– ดอกอัญชันตากแห้ง 25 – 30 ดอก ชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย ไม่เติมน้ำเชื่อมดื่มแทนชาได้ หรือจะเติมน้ำเชื่อม – น้ำแข็ง ก็ได้
*** น้ำอัญชันจะมีสีฟ้า-น้ำเงิน หากต้องการให้เป็นสีม่วง ต้องบีบน้ำมะนาวลงไป 1 ซีก จะได้สรรพคุณสมุนไพรจากน้ำมะนาวเพิ่มด้วย หากใส่น้ำมะนาวมาก ๆ น้ำอัญชันจะกลายเป็นสีม่วงอ่อนมาก ๆ จนชมพูนะคะ
ข้อแนะนำการดื่ม
1. ควรดื่มทันทีที่ทำเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางยา
2. การดื่มน้ำสมุนไพรชนิดเดียวติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดการสะสมสารบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายได้
3. การดื่มน้ำสมุนไพรร้อน ๆ อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และอาจทำให้มีการดูดซึมสารก่อมะเร็ง จุลินทรีย์ ฯลฯ ได้ง่าย
น้ำอัญชันเป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีสารแอนโธไซยานินอยู่มากในดอกอัญชัน มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น สารนี้จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็ก ๆ เช่น หลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น เพราะมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยงมากขึ้น ในขณะนี้ก็มีการศึกษาวิจัยทางคลินิก เกี่ยวกับความสามารถของแอนโธไซยานิน ในการเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก เป็นต้น