เคสรายงานการใช้ผักขมหิน เป็นยาเดี่ยวเพื่อรักษาโรคไตเรื้อรัง

เคสรายงานการใช้ผักขมหิน เป็นยาเดี่ยวเพื่อรักษาโรคไตเรื้อรัง

เคสรายงานการใช้ผักขมหิน เป็นยาเดี่ยวเพื่อรักษาโรคไตเรื้อรัง

เคสรายงานการใช้ผักขมหิน เป็นยาเดี่ยวเพื่อรักษาโรคไตเรื้อรัง

หมายเหตุ นำเสนอข้อมูลเท่าที่มี ยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่จะใช้แทนการรักษามาตรฐานได้
รายละเอียด
– ผู้ป่วยชายชาวอินเดีย อายุ 49 ปี อาชีพ นักธุรกิจ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ตอนอายุ 47 ปี
โดยเริ่มมีอาการปัสสาวะได้น้อยลง บวม ตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว ต่อมาเริ่มมีอ่อนแรง บวม หายใจหอบเหนื่อย เบื่ออาหาร ร่วมด้วย
– – ผู้ป่วยมีประวัติดื่มแอลกอฮอล์มามากกว่า 10 ปี
แพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยฟอกไต แต่ผู้ป่วยปฏิเสธ และลองมารักษาด้วยศาสตร์อายุรเวท
ยาที่ได้รับทางอายุรเวท
ดื่มน้ำผักขมหิน [Punarnava swaras] ครั้งละ 10 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้ง กับน้ำสะอาด ไม่ระบุปริมาณน้ำสะอาด โดยดื่มตั้งแต่ธันวาคม 2556 ถึง พฤษภาคม 2557 รวมระยะเวลา 6 เดือน
ผลการรักษา
– หลัง 6 เดือน พบว่าผู้ป่วยปัสสาวะออกได้เพิ่มขึ้น จากเดิม 400 มิลลิลิตรต่อวัน เพิ่มเป็น 900 มิลลิลิตรต่อวัน
– อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ลดลง อาการบวมและอาการหอบเหนื่อยที่เคยมีหายไป
– ความดันโลหิตเฉลี่ยเดิม 160/100 มิลลิเมตรปรอท ลดเหลือ 142/90 มิลลิเมตรปรอท
– ผลเลือดหลังดื่มน้ำผักขมหินเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าค่าการทำงานของไตดีขึ้น serum creatinine เดิม 4.81 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ลดเหลือ 1.2 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ค่าของเสียยูเรีย (Blood Urea Nitrogen: BUN) เดิม 84.06 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ลดเหลือ 38 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โปรตีนรั่วในปัสสาวะลดลง เม็ดเลือดแดงในปัสสาวะลดลง ค่าฮีโมโกบินก็ดีขึ้นกลับมาปกติ จากเดิมมีภาวะเลือดจาง
– แต่พบว่ามีค่าเกลือแร่ต่ำลงกว่าเกณฑ์ คือ โซเดียม คลอไรด์ และโพแทสเซียม ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากฤทธิ์ขับปัสสาวะ
– นอกจากนี้ยังมีผลอัลตราซาวน์ยืนยัน ขนาดและลักษณะไตที่ดีขึ้น หลังใช้ผักขมหินไปประมาณ 4 เดือน [วันที่ 24 มีนาคม 2557]
ในทางอายุรเวทอธิบายว่าผักขมหินสามารถทำให้การทำงานของไตดีขึ้น โดยมีผลฟื้นฟูรักษาเนื้อเยื่อไตที่ถูกทำลาย
ช่วยปรับธาตุลมให้สมดุล ซึ่งเชื่อว่าทำให้โครงสร้างไตเปลี่ยนสภาพ ช่วยลดการทำงานของธาตุไฟที่ทำให้ไตเกิดการอักเสบ และลดการทำงานของกผะ (ธาตุดิน+ธาตุน้ำ) ที่มากเกิน ทำให้อาการบวมลดลง โปรตีนรั่วในปัสสาวะลดลง เม็ดเลือดแดงในปัสสาวะลดลง ค่าฮีโมโกลบินก็ดีขึ้น ภาวะเลือดจางดีขึ้น
—————————————————————————————————————————————————-รายงานจาก Dr. D.Y. Patil, Department of Kayachikitsa College of Ayurved and Research Institute & Hospital Nerul Navi Mumbai, India. ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Cloud ของอินเดียเมื่อปี พ.ศ.2557
แหล่งอ้างอิง
Padavi D.M., Rathod A. and Chavhan S. Single Drug Treatment for Chronic Kidney Disease – A Case Study. Cloud Publications International Journal of Advanced Ayurveda, Yoga, Unani, Siddha and Homeopathy 2014; Volume 3, Issue 1: pp. 213-218

SHARE NOW
Exit mobile version