คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ (แนะนำแล้ว ก็ไม่ทำ ในที่สุดกระดูกแตกหักจนได้)

คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุ (แนะนำแล้ว ก็ไม่ทำ ในที่สุดกระดูกแตกหักจนได้)

~ ผู้สูงอายุ ควรปฏิบัติ อย่างจริงจังใน 15 กรณี ดังนี้
1. ให้เดินโดยมีไม้เท้า หรือ เกาะราวเมื่อมีราวให้จับ อย่ากลัวเสียหน้า ทุกคนถ้าไม่รีบตายไปก่อน ต้องเป็น สว.แน่นอน กำลังขาจะลดลง
2. ระวังเมื่อเดินพื้นต่างระดับ ห้ามเดินถอยหลัง และ ต้องเดินให้ช้าลง
3.เวลาลงจากรถ สว.ควรก้าวลงจากรถให้ช้าลงสักนิด จากนั้น หยุดยืนตั้งตัวสักครู่ ก่อนออกเดินไปที่ใดก็ตาม
4.ขึ้นลงบันไดให้เกาะราวจับเสมอ อย่าประมาท พลาดท่า หากล้ม กระดูกแตกหักนะ
5.นุ่ง/ถอดกางเกง หรือ ใส่เสื้อผ้า ต้องมีที่เกาะ หรือพิงได้ และนั่งสวมใส่จะปลอดภัยกว่า
6. สว.ไม่ควรรับเป็นประธาน หรือ เจ้าภาพเผางานศพ เพราะท่านจะต้องขึ้นเมรุคนเดียวโดยไม่มีราวจับ เพราะถึงแม้มีราวจับ แต่มันจะประดับด้วยดอกไม้. นอกจากจะมีคนคอยพยุง ไม่งั้น เห็นสดุดขั้นบันได เซล้มหลายรายแล้ว
7.ยืนอาบน้ำ ต้องมีราวจับ หรือ มีแผ่นกันลื่นที่พื้นเสมอ เพราะจะลื่นล้มง่าย ถ้ามีเก้าอี้นั่งอาบน้ำจะปลอดภัยมากขึ้น
8.ถ้า ยืนอาบน้ำในอ่าง เวลาออกจากอ่าง. ต้องระวังให้มากๆ เพราะเท้ามักจะสะดุดขอบอ่าง เป็นเหตุให้เสียหลักล้มกระแทกได้ง่าย
9. ไม่ควรใช้บ้นได ชนิดพาดพิง หรือ กางออก ทำงานบนท่ีสูง เพราะมักพลาดตกลงมาได้
10.ไม่ควรใช้ส้วมนั่งยอง เพราะอาจหน้ามืดล้มได้
11.ไม่ลุกพรวดพราด เวลาถ่ายทุกข์เสร็จ หรือ ตื่นนอนใหม่ๆ ให้ค่อยๆลุกขึ้นยืน ให้ระบบไหลเวียนเลือดปรับตัวก่อน
12. เข้าห้องน้ำในบ้าน ต้องไม่ใส่กลอนประตู เพราะถ้า มีเหตุฉุกเฉิน ลูกหลาน หรือ คนในบ้าน จะเข้าช่วยได้ทัน
13. ถ้าจำเป็นต้องขับรถ. ให้ขับช้าลง. เพราะประสาทคนสูงอายุ จะเชื่องช้ากว่าวัยหนุ่มสาว
14.เวลาล้ม ให้หดมือเก็บ. ห้ามเอามือยัน ถ้าใช้มือยัน 90% แขนหัก ดังนั้น ให้ยอมเจ็บตัว ฟกช้ำ 1-2 สัปดาห์ก็หาย. ดีกว่าแขนหักเจ็บตัวนาน
15. อย่าคิดทะนงว่า ท่านเป็น สว.ที่ยังแข็งแรงดีอยู่ คิดแบบนี้ เกิดอุบัติเหตุ แขนหัก ขาหัก สะโพกแตก มานักต่อนักแล้ว
เรียบเรียงขยายความเพิ่มจาก นพ.เกษม วัฒนชัย
SHARE NOW

Facebook Comments