กระดูกไก่ดำ
กระดูกไก่ดำ
ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงได้ 2.5 ม.(ข้อมูลด้านล่างพวกนั่งเทียนเขียน) คนโบรานจะนำใบมาบูชาพระ ดอกสีขาว เป็นยาเย็น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : สมุนไพรกระดูกไก่ดำเป็นพรรณไม้พุ่มเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 90-100 ซม.ลักษณะของลำต้นและกิ่งเป็นปล้องข้อ คล้ายกระดูกไก่ ขนาดข้อลำต้นยาวประมาณ 2.5-3 นิ้วข้อของกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว ลำต้น ใบ กิ่งก้าน มีสีแดงเรื่อ
ใบ : ใบกระดูกไก่ดำมีลักษณะเป็นรูปหอกโคนและปลายแหลม ริมขอบใบเรียบไม่มีหยักเส้นกลางใบสีแดงขนาดใบกว้าง 0.5-1.5 นิ้ว ยาวประมาณ 3-5 นิ้ว ก้านใบสั้น
ดอก : กระดูกไก่ดำออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายดอก ช่อยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ลักษณะของดอกกลีบดอกมีสีขาวอมเขียว แกมชมพู โคนกลีบดอกติดกันส่วนปลายกลีบแยกเป็นกลีบล่างบน ลักษณะกลีบล่างโค้งงอนเหมือนช้อนข้างในหลอดดอกมีเกสรตัวผู้ 2 อัน ซึ่งจะโผล่พ้นหลอดออกมา
ผล : ผลของกระดูกไก่ดำมีลักษณะเป็นฝัก ยาวประมาณ 1.3-1.5 ซม.
การขยายพันธุ์ : กระดูกไก่ดำเป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นเองตามลำธารในป่าดงดิบหรือมักปลูกตามบ้าน ใช้ทำรั้ว ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก
สรรพคุณของสมุนไพร
ใบ นำใบสดกระดูกไก่ดำมาตำและเอาน้ำมาดื่ม แก้ปวดศีรษะ โรคหืด ไอ อัมพาต นำมาตำคั้นน้ำมาผสมกับเหล้ากิน แก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด ช้ำใน ขับปัสสาวะบวมตามข้อ กากของใบนำมาพอกแผลที่พิษอสรพิษขบกัด ใบนำมาต้มและดื่ม แก้ช้ำแก้ไข้ ลดความร้อน ขับเลือดข้นในร่างกายให้กระจาย
รากและใบ ตำรากและใบของกระดูกไก่ดำผสมกันแล้วนำมาพอกแผล ถอนพิษ นำมาต้มใช้อาบน้ำแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน
อาการปวดเมื่อยจากสมุนไพรใกล้ตัว
สาเหตุมาจากการใช้กล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก หรือเอ็นกล้ามเนื้อมากเกินไป ทำให้มีอาการปวดลึก ปวดร้าว สำหรับสมุนไพรที่ได้รับการทดสอบแล้ว ว่าช่วยรักษาอาการปวดได้ดีโดยไม่พบผลข้างเคียงมีหลายชนิด ในวันนี้ขอยกมา ๓ ชนิด คือ
๑. รางจืด ลดอาการอักเสบและลดอาการปวดได้ดี
๒. กระดูกไก่ดำ พืชนี้ใช้ใบพอกบริเวณที่บาดเจ็บ
๓. ยอ ใช้ใบพอกบริเวณข้อที่อักเสบ หรือที่ปวด หากทำให้แห้งบดเป็นผงอย่างถูกต้องใช้รับประทานลดอาการปวดได้
ตำรับยากระดูก ข้อ เอ็น
แก้เหน็บชา
ตำรับยาแบบโบราณ
1. ใบย่านาง 2. ใบมะกา 3. โคคลาน 4. เถาเอ็นอ่อน
5. สะค้าน 6. ยาดำ 7. ลูกกระดอม 8. รากคูน
9. มะตูมอ่อนแห้ง 10. ลูกขี้กาแดง11. รากช้าพลู
เอาหนักอย่างละ 30 กรัม ( 2 บาท )
นำมาต้มกินน้ำครั้งละครึ่งแก้ว