“กระเจี๊ยบเขียว” เป็นผักโบราณพื้นบ้านอีกชนิดที่อยู่คู่ครัวคนไทยมายาวนาน

“กระเจี๊ยบเขียว” เป็นผักโบราณพื้นบ้านอีกชนิดที่อยู่คู่ครัวคนไทยมายาวนาน

“กระเจี๊ยบเขียว” เป็นผักโบราณพื้นบ้านอีกชนิดที่อยู่คู่ครัวคนไทยมายาวนาน

“กระเจี๊ยบเขียว” เป็นผักโบราณพื้นบ้านอีกชนิดที่อยู่คู่ครัวคนไทยมายาวนาน นิยมกินคู่กับน้ำพริกมาช้านาน จนมองว่างั้นๆ..

แต่สำหรับชาวแดนซากุระกลับชื่นชอบเพราะเต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ
อุดมไปด้วยวิตามินซี แคลเซียมสูง มีสารกัม (gum) และแพคติน (pectin) เป็นเมือกใสๆ มีสรรพคุณช่วยบำรุงรักษาแผลในกระเพาะอาหารกับลำไส้ รักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติ เป็นยาบำรุงสมอง ทั้งเป็นยาระบาย สามารถแก้โรคพยาธิตัวจี๊ดได้อีกต่างหาก
วิธีรับประทานกระเจี๊ยบเขียว
สามารถหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ทานสดๆ ได้เลย หรือจะนำไปประกอบอาหารกับเมนูอื่นๆ นำไปย่างด้วยไฟอ่อนๆ หรือจะทานผสมกับน้ำผึ้ง น้ำมะนาว หรือไอศกรีมก็ได้ค่ะ
ประโยชน์ด้านอาหาร : ลวกจิ้มเป็นเครื่องเคียงกับน้ำพริก แกงส้ม แกงใส่ปลาย่าง ยำกระเจี๊ยบ ฯลฯ สุดแต่จะนำไปประยุกต์ คนไม่เคยกินอาจกินได้ยากสักหน่อย เพราะข้างในฝักมียางเมือกๆหุ้มเมล็ดอยู่ แต่กินบ่อยๆจะอร่อยไปเอง คนสมัยก่อนนิยมเอาไป ต้ม หรือต้มราดกะทิสดกินกับน้ำพริกกะปิ ปลาทู ให้รสชาติดีมากๆ
สรรพคุณทางยา :
แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด,บำรุงกระดูก,ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย,มะเร็งกระเพาะอาหาร,มะเร็งลำไส้ใหญ่,ช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมันในเลือด
1. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และคนที่กำลังควบคุมน้ำตาล-น้ำหนัก
2. ลดอาการท้องผูก เป็นยาระบาย เพราะมีเมือกที่ช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวขึ้น และยังมีใยอาหารที่ดีต่อการขับถ่าย
3. ช่วยลดความดัน ลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย
4. การรับประทานฝักกระเจี๊ยบเป็นประจำช่วยบำรุงตับได้
5. ช่วยระบบขับถ่าย
6. ช่วยแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด
7. ดูแลอาการโรคหนองใน ซิฟิลิส
8. ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระเพาะอาหาร เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ และลำอักเสบได้
9.ใครที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้ว การทานกระเจี๊ยบเขียวพร้อมเมือกเหนียวๆ ใสๆ จะช่วยเข้าไปเคลือบแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย เพราะในฝักเจี๊ยบมีสารเมือกพวกเพ็กติน(Pectin) และกัม (Gum) ที่มีคุณสมบัติช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร
10. ฝักกระเจี๊ยบต้มเกลืออ่อนๆ สามารถแก้อาการกรดไหลย้อนได้
11. ป้องกันการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่
12. มีโฟเลตสูง ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง และเป็นสิ่งจำเป็นต่อพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้นจึงเหมาะกับหญิงมีครรภ์
วิธีการใช้ : แก้พยาธิตัวจี๊ด – นำผลกระเจี๊ยบเขียวที่ยังอ่อนมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ต้มหรือย่างไฟให้สุก จิ้มกับน้ำพริก หรือทำแกงส้ม แกงเลียง กินวันละ 3 เวลาทุกวัน โดยจะกินเท่าไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยวันละ 4-5 ผล ติดต่อกัน 15 วัน หรือบางคนต้องกินเป็นเดือนจึงจะหาย หรือไม่ใช้รากต้มน้ำดื่มกินเป็นประจำ
รักษาโรคกระเพาะ – ใช้ฝักอ่อนกะเจี๊ยบเขียวหั่นตากแดดบดให้ละเอียด กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ โดยนำมาละลายในน้ำ นม น้ำผลไม้ หรืออาหารอ่อนๆ กินวันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร (เวลาละลายจะได้น้ำยาเหนียวๆ)
บำรุงข้อกระดูก – ผลกระเจี๊ยบเขียว 3 ผล กินสดหรือต้มกับหอมแดง 1 หัว บำรุงร่างกายและเพิ่มความยืดหยุ่นในกระดูกโดยเชื่อว่าเมือกในกระเจี๊ยบจะช่วยได้
แก้ปวดท้อง – ใช้รากฝนกับน้ำธรรมดากิน
จากข้อมูลของวิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ซึ่งแปรรูปกระเจี๊ยบเขียว ให้ข้อมูลว่า :
– รับประทาน ฝักกระเจี๊ยบ 10 -15 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอนลดอาการท้องผูก
– รับประทาน 3-5 ฝัก ก่อนอาหาร ทุกวันรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
– รับประทาน 10-15 ฝัก ทุกวัน สามารถบำรุงตับ
– รับประทาน 5 ฝัก ก่อนอาหาร 3 มื้อ ติดต่อกันทุกวันกำจัดพยาธิตัวจี๊ด
– รับประทาน 30 -40 ฝัก ตอนเย็นหรือก่อนนอน ดีท็อกซ์ลำไส้ ขับสารพิษ อุจจาระตกค้าง
ความซึมเศร้า
กระเจี๊ยบมีสารฟีนอล (phenol) สูง และสารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) อีกด้วย สิ่งนี้อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้กระเจี๊ยบช่วยต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์มาซานดารันตัดสินใจที่จะทดสอบผลกระทบต่ออารมณ์ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเม็ดกระเจี๊ยบมีความสามารถในการยกระดับทางอารมณ์ ในบางครั้งก็ทำหน้าที่เป็นเพียงยาแก้โรคซึมเศร้า
Cr.
หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
ทีวีพูล
SHARE NOW
Exit mobile version