พุทธประวัติฉบับนักศึกษา

พุทธประวัติ

พุทธประวัติฉบับนักศึกษา วัฒนธรรมไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ การรักษาวัฒนธรรม คือการรักษาชาติ   
ชาติที่ไม่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ เยาวขนเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติ เยาวชนจะต้องเป้นผู้รักษาชาติต่อไปด้วย   
วัฒนธรรมไทยแบ่งออกเป็น ๔ สาขาคือ
๑. คติธรรม ๒. เนติธรรม ๓. วัตถุธรรม ๔. สหธรรม คติธรรม นำตน ให้พ้นผิด เนติธรรม นำจิต คิดเหตุผล วัตถุธรรม นำข้าม พ้นความจน สหธรรม นำตน พ้นภัยเอย  คติธรรมเป็นวัฒนธรรมสำหรับดำเนินชีวิต   คติธรรมจะชี้แนะสิ่งผิดชั่วดีทั้งหลาย  ทำให้คนที่ปฏิบัติตามดำเนินชีวิตไปอย่างถูกต้อง  ซึ่งเราได้จากพระพุทธศาสนาเราควรจะได้ศึกษาให้รู้ประวัติของผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนาที่เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ  และอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่แผ่ซึมเข้าไปในจิตใจของคนไทยนี่แหละที่ทำให้ประเทศไทยอยู่รอดปลอดภัยมาตราบเท่าทุกวันนี้       ผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนาคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ได้อุบัติขึ้นในดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยโบราณปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น ๔ ประเทศคือ
๑.ประเทศอินเดีย ๒.ปากีสถาน ๓.เนปาล ๔.บังคลาเทศชมพูทวีปได้แบ่งออกเป็น ๒๑  แคว้นคือ ๑.  แคว้นอังคะ    เมืองหลวงชื่อ    จัมปา ๒.  แคว้นมคธ              ”              ราชคฤห์ ๓.  แคว้นกาสี              ”              พาราณสี ๔.  แคว้นโกศล             ”             สาวัตถี ๕.  แคว้นวัชชี              ”              เวสาลี ๖.  แคว้นมัลละ       เมืองหลวงชื่อกุสาวดี ภายหลังแยกเป็นกุสินารากับปาวา ๗  .แคว้นเจตี          เมืองหลวงชื่อ โสถิวดี ๘.  แคว้นวังสะ           ”                 โกสัมพี ๙.  แคว้นกุรุ               ”                 อินทปัตถ์ ๑๐.แคว้นปัญจาละ     ”                 กับปิลละ ๑๑.แคว้นมัจฉะ       ”          สาคละ ๑๒.แคว้นสุรเสนะ    ”          มถุรา ๑๓.แคว้นอัสสกะ     ”          โปตลี ๑๔.แคว้นอวันตี       ”          อุชเชนี ๑๕.แคว้นคันธาระ   ”           ตักกสิลา ๑๖.แคว้นกัมโพชะ   ”          ทวารกะ ๑๗.แคว้นสักกะ       ”          กบิลพัสดุ์ ๑๘.แคว้นโกลิยะ     ”           เทวทหะหรือรามคาม ๑๙.แคว้นวิเทหะ     ”           มถิลา ๒๐.แคว้นอังคุตตราปะ       ”       อาปณะ           ประชาชนในแคว้นเหล่านี้ได้นับถือเทพเจ้าค่างๆพยายามอ้อนวอนบวงสรวงฝากวิถีชีวิตไว้กับเทพเจ้า   โดยไม่คำนึงถึงเหตุผล  เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วจึงยังความสุขให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนทั้งหลายโดยทั่วกัน       ความเป็นมาของบรรพบุรุษของพระพุทธเจ้า ความเป็นมาของศากยวงศ์         พระเจ้าโอกกากราช   ได้ครองราชสมบัติในพระนครแห่งหนึ่ง   พระองค์มีพระมเหสี ๕ พระองค์       ๑. พระนางหัตถา ๒. พระนางจิตตา ๓. พระนางชันตุ ๔. พระนางชาลินี ๕. พระนางวิสาขา                                                                                                                                                                                               พระนางหัตถาเป็นพระอัครมเหสี  มีพระราชโอรส ๔ พระองค์คือ  ๑.โอกกากมุขราชกุมาร  ๒.กรัณทิราชกุมาร  ๓.หัตถินิเกสิราชกุมาร  ๔.นิปูรราชกุมาร มีพระราชธิดา ๕ พระองค์คือ   ๑.พระนางปิยาราชกุมารี  ๒.พระนางสุปิยาราชกุมารี  ๓.พระนางอานันทาราชกุมารี  ๔.พระนางวิชิตาราชกุมารี  ๕.พระนางวิชิตเสนาราชกุมารี ส่วนมเหสีองค์อื่นไม่มีราชโอรสและพระราชธิดาครั้นต่อมาพระนางหัตถา    มเหสีเอกสิ้นพระชนม์     พระเจ้าโอกกากราชได้พระมเหสีใหม่    เป็นขัติยนารีที่สวยมาก   จึงตั้งใจไว้ในตำแหน่งพระมเหสี      พระนางมีราชโอรสที่น่ารักองค์หนึ่งพระนามว่า   ชันตุ    พระเจ้าโอกกากราชทรงโปรดปรานมากจึงประทานพรแก่พระนาง    ให้ทูลขอสิ่งที่พระนางพึงประสงค์ได้  พระนางจึงทูลขอราชสมบัติให้แก่ชันตุราชกุมาร   พระเจ้าโอกกากราชแม้ไม่พอพระทัย  แต่ได้พลั้งประทานพรไปและถ้าไม่พระราชทานให้ก็จะเสียสัตย์    จึงตรัสสั่งให้พระราชโอรสและพระราชธิดา   ซึ่งประสูติจากพระมเหสีเอกออกไปสร้างพระนครอยู่ใหม่                     สถานที่สร้างเมืองกบิลพัสดุ์                                พระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง  ๙   พระองค์    ได้เสด็จออกจากพระนครด้วยจาตุรงคนิกรเป็นจำนวนมาก  เพื่อไปแสวงหาที่อยู่ใหม่  ได้เสด็จไปทางภูเขาหิมาลัยถึงสถานที่ที่เป็นป่าไม้สักกะ   ได้พบพระดาบสองค์หนึ่งมีพระนามว่า   กปิละ   ซึ่งสร้างอาศรมบำเพ็ญพรต ณ ป่าไม้สักกะนั้นท่านฤาษีได้ถามถึงเหตุที่ออกจากพระนคร   ครั้นทราบแล้วก็มีจิตเมตตา   จึงแนะนำให้สร้างพระนครอยู่ ณ ที่นั้น  เพราะเป็นชัยภูมิอันเป้นมงคล  เมื่อพระราชโอรสและพระราชธิดาสร้างเมืองแล้ว  จึงขนานนามพระนครว่า   กบิลพัสดุ์   เพื่อให้สมกับเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส                                เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว  พระพี่นางองค์ใหญ่คือเจ้าหญิง ปิยา   ให้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพเหมือนพระมารดา ส่วนพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๘ พระองค์ได้สมรสกันเป็นคู่ๆได้ครบ ๔คู่ เพื่อไม่ให้สกุลวงศ์โฮกกากราชขาดสูญจึงได้สมรสกันเองในระหว่างพี่น้อง  ไม่สมรสกับกษัตริย์วงศ์อื่น  พระเจ้าโอกกากราชทรงทราบเรื่องนี้จึงพอพระทัยยิ่งนัก ถึงเปล่งอุทานว่า  “สักยา วต  โภ  กุมาร ปรมสักยา วต  โภ  กุมารา” แปรว่า “พระกุมารสามารถหนอ  พระกุมารสามารถยิ่งหนอ” ด้วยเหตุนี้  กษัตริย์วงศ์นี้ได้ชื่อว่า “ศากยวงศ์”  แปรว่า    พระกุมารสามารถหนอ     พระกุมารรสามารถยิ่งหนอ    ด้วยเหตุนี้ กษัตริย์นี้  ได้ชื่อว่า  ศากยวงศ์   แปลว่าวงศ์ที่สามารถ  หรืออี กนัยหนึ่งที่ได้ชื่อว่าศากยวงศ์   เพราะได้สร้างพระนครขึ้นในดงไม้สักกะ               ความเป็นมาของโกลิยวงศ์                           ครั้นต่อมาพระพี่นางองค์ใหญ่คือเจ้าหญิงปิยา    ได้เกิดโรคเรื้อนขึ้น   พระนางมีความลถะอายพระทัย  และบรรดาน้อง    กลัวโรคเรื้อนจะติดต่อไปยังคนอื่น  จึงไปสร้างที่ให้อยู่ใจนป่า  หางจากกรุงกบิลพัสดุ์พอสมควร   นานๆจึงให้ราชบุรุษนำอาหารไปส่งสักครั้งหนึ่ง                ในเวลานั้นมีพระเจ้าแผ่นดินผู้ครองพาราณสีองค์หนึ่ง    พระนามว่า  รามะ  เกิดเป็นโรคเรื้อนขึ้น    กลัวประชาชนจะรังเกียจว่าในหลวงของตนเป็นโรคเรื้อน  จึงมอบราชสมบัติให้แก่โอรสองค์ใหญ่  แล้วพระองค์ก็เสด็จออกไปอยู่  ประทับอยู่  ณ  ต้นโกละ( กระเบา)  ใหญ่ต้นหนึ่งพระองค์ได้เสวยผลไม้เหมือนกับดาบทั้งหลายที่อยู่ในปป่าบังเอิญผลไม้ที่เสวยนั้นเป็นยารักษาโรคเรื้อนได้  โรคเรื้อนจึงหายไป                   ครั้นต่อมา พระองค์ได้พบเจ้าหญิงปิยา  ทรงทราบว่าเป็นขัตติยาณีปและเป็นโรคเรื้อนจึงแนะนำให้เสวยผลไม้ที่พระเสวยเจ้าหญิงปิยาก็หายจากโรคเรื้อน  กษัตริย์ทั้งสองมีพระทัยปฏิพัทธ์ซึ่งกันและกันจึงได้สมสู่อยู่ด้วยกันที่ต้นโกละนั้นต่อมาได้สร้างเมืองขึ้นที่ต้นโกละนั้นได้ชื่อว่า  โกลนคร   และตั้งวงศ์กษัตริย์ปกครองกันต่อมาชื่อโกลิยวงศ์  ตามชื่อของต้นโกละนั้น  ภายหลังได้เปลี่อนชื่อเมืองหลวงเป็นเทวทหะ                  จะเห็นได้ว่ากษัตริย์ศากยวงศ์และโกลิยวงศ์   ต่างก็เป็นเมืองพี่เมืองน้องสืบเชื้อสายพระโอกากราชด้วยกันทั้งสองวงศ์              ความสัมพันธ์ของกษัตริย์ทั้งสองพระนคร                      กษัตริย์ศากยวงศ์ได้ครองเมืองกบิลพัสดุ์สืบต่อมาตามลำดับ จนถึงพระเจ้าชยเสนะ  ซึ่งมีพระราชโอรสพระนามว่า  สีหหนุ   และพระราชธิดาพระนามว่า  ยโสธรา                     ฝ่ายกษัตริย์ผู้สืบโกลิยวงศ์     เริ่มตั้งแต่พระเจ้ารามะกับเจ้าหญิงปิยา   ล่วงมาหลายชั่วกษัตริย์  จนถึงกษัตริย์ผู้ครองกรุงเทวทหะ   พระนามว่าอัญชนะและขนิษฐภคินีของพระองค์พระนามว่า  กาญจนา                พระเจ้าสีหหนุได้อภิเษกสมรสกับพระนางกาญจนามีพระราชโอรส  ๕  พระองค์  คือ   ๑   สุทโธทนะ   ๒   สุกโกทนะ   ๓   อมิโตทนะ   ๔    โธโตทนะ   ๕    ฆนิโตทนะ มีพระราชธิดา ๒   พระองค์ คือ    ๑    อมิตา   ๒    ปมิตา  ส่วนพระเจ้าอัญนะได้อภิเษกสมรสกับพระนางเจ้ายโสธรา    ซึ่งเป็นขนิษฐภคินีของพระเจ้าสีหหนุ  แห่งศากยวงศ์มีพระราชโอรส  ๒  พระองค์ คือ   ๑   สุปปพุทธะ   ๒   ทัณฑปาณิ  มีพระราชธิดา  ๒  พระองค็ คือ     ๑   สิริมหามายา   ๒  ปชาบดีโคตมี และก็ได้อภิเษกสมรสกันไปตามลำดับ                เจ้าชายสิทธัตถะ    ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น  เป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ  ผู้ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์แคว้นสักกะ    และพระนางสิริมหามายาอัครมเหสี   ซึ่งมาจากกรุงเทวทหะ   แคว้นโกลิยะ  ปัจจุบันแคว้นทั้งสองอยู่ในประเทศเนปาล              ครั้นพระนางวสิริมหามายา    ทรงพระครรภ์ใกล้จะประสูติ  จึงได้พระบรมราชานุญาตพระเจ้าสุทโธทนะ  เสด็จ กรุงเทวทหะเพื่อประสูติกาลยังพระนครของตนตามธรรมเนียมพราหมณ์   เมื่อเสด็จถึง ส่วนลุมพินีซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ     ก็ประชวรพระครรภ์จะประสูติ      อำมาตย์ผู้ตามเสด็จจึงจัดที่ประสูติถวายใต้ต้นสาละนางก็ประสูติพระราชโอรส  ณที่นั้น     เมื่อวันขึ้น  ๑๕   ค่ำ   เดือน ๖ (วันเพ็ญ   เดือนวิสาขะ )    ก่อนพุทธศักราช   ๘๐  ปี      เป็นธรรมดาของผู้เกิดมาเพื่อยังประโยชน์ให้เกิดแก่ชาวโลกทั้งหลาย    พระอรรถกถาจารยได้พรรณนาไว้ว่า  พอประสูติแล้วก็เดินด้วยพระบาทได้  ๗  ก้าว   และเปล่งวาจาเป็นบุพพนิมิตรว่า                      อัคโคหมัสมิ       เราเป็นผู้เลิศที่สุด                       เชฏโฐหมัสมิ      เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุด   อธิบายบุพพนิมิตรนี้ว่า   ต่อไปจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า   ศาสดาเอกของโลก   และเดินด้วยพระบาท  ๗  ก้าวนั้น  หมายความว่าเมื่อตรัสรู้แล้วจะเผยแพ่พระพุทธศาสนาไปได้  ๗  แคว้น  คือ     ๑. แคว้นอังคะรวมกับแคว้นมคธ   ๒. แคว้นกาสี   ๓. แคว้นวังสะ   ๔. แคว้นวัชชี   ๕. แคว้นมัลละ   ๖. แคว้นโกลิยะ   ๗. แคว้นสักกะรวมกับแคว้นโกศล ซึ่งก็เผยแผ่พระพุทธศาสนาได้จริงตามบุพพนิมิตรนั้น  ด้วยความเชื่อความเลื่อมใสในพระบรมศาสดาของพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์อินเดีย  ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างหลักศิลาและจารึกข้อความว่า  พระบรมศาสดาศากยมุนี  ประสูติ ณ ที่นี้  อยู่ที่สวนลุมพินี   ปัจจุบันเรียก     ปาดาเรีย   แขวงเปชวาว์ในประเทศเนปาล  พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงทราบว่าอัครมเหสีประสูติพระราชโอรส   จึงเชิญเสด็จกับกรุงกบัลพัสดุ์   เวลาล่วงมา ๓ วัน  อสิดาบส หรือ กาฬเทวิลดาบส  ผู้เป็นที่นับถือของราชกุล ได้ทราบว่าพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรสจึงเข้ามาเยี่ยมเพื่อถวายพระพร  พระเจาสุทโธทนะจึงได้อุ้มพระกุมารออกมาเพื่อนมัสสการพระดาบส  อสิตดาบสเห็นว่าพระกุมารประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ  ได้แก่  ๑. มีพระบาทเรียบเสมอ  ๒. มีเกิดขึ้นที่ฝ่าพระบาท  มีซี่ข้างละพันพร้อมด้วยกงและดุม                ๓. มีส้นพระบาทยาว  ๔. มีพระองคุลียาว  ๕. มีฝ่าพระหัตถ์ และ ฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม  ๖. มีมีฝ่าพระบาทและฝ่าพระหัตถ์มีลายดุจตาข่าย  ๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ  ๘. มีพระชงค์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย  ๙. มีขณะยืนอยู่มิได้นอมลง  เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบไล้ถึงพระชานุ  ( เข่า )  ทั้งสอง             ๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก  ๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจสีแห่งทองคำ ๑๒. มีพระฉวีวรรณละเอียด  ละอองจับมิได้ ๑๓. มีพระโลมาชาติเกิดขุมละเส้น ๑๔. มีปลายพระโลมาช้อนขึ้นข้างบน    เวียนขวามีสีเหมือนดอกอัญชัน ๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน  (หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ หลังพระบาททั้ง ๒ และลำพระศอ ๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ ๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม  ( คือไม่มีร่องหลัง ) ๑๙. มีทรวดทรงดุจต้นไทร   วาของพระองค์เท่ากับกายของพระองค์ ๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน ๒๑. มีประสาทรับรสอันเลิศ ๒๒. มีคางดุจคางราชสีห์ ๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ๒๔. มีพระทนต์เรียกว่าเสมอกัน ๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่างกัน ๒๖. มีพระเขี้ยวสีขาวงาม ๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ ๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม  ตรัสมีสำเนียงดังนกการวิก ๒๙. มีพระเนตรดำสนิท ๓๐. มีพระเนตรดุจตาโค ๓๑. มีพระอุณาโลมบังเกิดขึ้น ณ ระหว่างโขนง  มีสีขาวประดุจปุยนุ่น ๓๒. มีพระเศียรรับกับกรอบพระพักตร์ จึงเกิดความเลื่อมใส  ได้นมัสการพระกุมารแล้วพยากรณ์ว่าจะมีคติเป็น ๒ ประการ  ๑. ถ้าอยุ่ครองฆราวาส  จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์  ๒. ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก  เวลาล่วงมาได้ ๕ วัน  นับแต่วันประสูติ   พระเจ้าสุทโธทนะโปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีขนานนาม โดยเชิณพราหมณ์ ๑๐๘ คนมาฉันอาหาร  และให้พราหมณ์ ๘ คนขนานพระนามพราหมณ์ทั้ง ๘ คน   ได้ขนานพะรนามว่า    สิทธัตถะ  แปลว่า  ผู้ต้องการความสำเร็จ  พราหมณ์โกณฑัญญะ ได้ทำนายลักษณอย่างเดียวว่า  จะต้องออกบาชและได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า    ส่วนพราหมณ์อื่น ๆ ได้ทำนายว่าจะมีคติเป็น ๒ ดังกล่าวแล้ว  ครั้นเวลาล่วงมาได้ ๗  วัน    พระนางสิริมหามายาทิวงคต   พระเจ้าสุทโธทนะจึงมอบเจ้าสิทธัตถะ  ให้พระนางปชาบดีโคตมี  พระน้านางเลี้ยงดูต่อมา  นางปชาบดีโคตมีเป็นมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าสุทโธทนะ  ต่อมานางได้มีโอรสกับพระเจ้าสุทโธทนะองค์หนึ่งพระนามว่า  รูปนันทา   แต่พระนางปชาบดีโคตมีก็มิได้เอาพระทัยใส่เกินก่วาเจ้าชายสิทธัตถะ  ครั้นพระกุมารเจริญวัยขึ้นแล้ว  ในวิธีวัปปมงคลแรกนางขวัญครั้นหนึ่ง   พระเจ้าสุทโธทนะโปรดให้เชิญเจ้าชายสิทธัตถะไปด้วย  และจัดที่ให้ประทับใต้ต้นหว้า  พระกุมารได้เจริญอานาปานัสสติทำให้ปฐมฌาณเกิดขึ้น  พระเจ้าสุทโธทนะมีพระราชประสงค์จะให้เจ้าชายสิทธัตถะอยู่ครองฆราวาส   จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ตามคำทำนาย  จึงผูกพันด้วยสิ่งอำนายความสุขทางโลกด้วยประการต่าง ๆ  เมื่อทรงพระเยาว์ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดสระในพระราชนิเวศน์  ๓  สระ คือ   ๑. สระที่ ๑ ให้ปลูกอุบลบัวขาบ   ๒. สระที่ ๒ ให้ปลูกประทุมบัวหลวง   ๓. สระที่ ๓ ให้ปลูกบุณฑริกบัวขาว เพื่อให้เป็นที่เล่นสำราญของพระราชโอรส  และโปรดเกล้า ฯ  ให็เจ้าชายสิทธัตถะได้ศึกษาศิลปศาสตร์  ๑๘  ประการ  คือ  ๑. ไตรเพทศาสตร์  ได้แก่ ฤคเวท  และ  สามเวท ๒. สรีรศาสตร์  วิชาพิจารณาส่วนต่าง ๆ  ของร่างกาย ๓. สังขยาศาสตร์  วิชาคำนวณ ๔. สมาธิศาสตร์  วิชาทำจิตให้แน่วแน่ ๕.นิติศาสตร์  วิชากฏหมาย ๖. วิเสสิกศาสตร์  วิชาแยกประเภทคนและสิ่งของ ๗. โชติยศาสตร์   วิชาทำนายเหตุการณ์ทั่วไป ๘. คันทัพพศาสต์  วิชาฟ้อนลำและดนตรี ๙. ติกิจฉศาสตร์  วิชาแพทย์ ๑๐. ปุรณศาสตร์  วิชาโบราณคดี ๑๑. ศาสนศาสตร์  วิชาการศาสนา ๑๒. โหราศาสตร์  วิชาทำนายบุคคล ๑๓. มายาศาสตร์  วิชากล ๑๔. เหตุศาสตร์  วิชาค้นหาเหตุ ๑๕. วันตุศาสตร์  วิชาคิด ๑๖. ยุทธศาสตร์  วิชารบ ๑๗.ฉันทศาสตร์  วิชาแต่งกลอน  ฉันท์ ๑๘. ลักษณศาสตร์  วิชาดูลักษณะคน จากสำนักครูวิศวามิตร  ซึ่งเป็นวิชาสำหรับครองราชย์ของผู้นำประเทศสมัยนั้น  การศึกษาของพราหมณ์ได้ศึกษาในวิชาการเหล่านี้เท่านั้น   คือวิชาพื้นฐานที่จะให้เข้าใจความหมายในพระเวทให้ถูกต้อง  ได้แก่  ๑.นิรุกติศาสตร์  วิชาว่าด้วยที่มาและความหมายของคำ  ๒.ศึกษาศาสตร์  วิชาว่าด้วยการออกเสียงอักขระให้ถูกต้อง  ๓. ไวยากรณศาสตร์  วิชาว่าด้วยระเบียบของภาษา ๔. ฉันทศาสตร์  วิชาว่าด้วยการแต่งบทร้อยกรอง ๕. กัลปศาสตร์  วิชาว่าด้วยลำดับพิธีกรรมต่าง ๆ ๖.ดาราศาสตร์  วิชาดูดาวฤกษ์ต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์ เมื่อศึกษาวิชาพื้นฐานดีแล้วก็เรียนคำภีพระเวทซึ่งแบ่งออกเป็น  ๓  คัมภีร์   เรียกว่าไตรเพท  ได้แก่ ๑. ฤคเวท  เป็นคำฉันท์สำหรับอ้อนวอนและสรรเสริญเทพเจ้า ๒. สามเวท  เป็นคำฉันท์สำหรับสวดในพิธีถวายน้ำโสมแด่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ๓. ยชุรเวท  เป็นคำร้อยแก้ว  ซึ่งว่าด้วยพิธีทำพลีกรรมและบวงสรวง ๔. อาถรรพเวท  เป็นคาถา   มนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์สำหรับแก้เสนียดจัญไร  นำความสวัสดีมงคลมาแก่ตน  และนำผลร้ายให้แก่ศัตรู ครั้นพระกุมารอายุได้ ๑๖ ปีให้สร้างปราสาทสามหลัง  เพื่อเป็นที่ประทับของพระโอรสในสามฤดู และให้อภิเษกกับพระนางพิมพา  ซึ่งเป็นพระธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธและพระนางอมิตาแห่งกรุงเทวหะ พยายามกีดกันไม่ไห้เห็นคนแก่ คนเจ็บ และคนตาย แต่วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้มีโอกาสประภาสอุทยาน ได้ทอดพระเนตร คนแก่ คนเจ็บ และ คนตาย ตามลำดับ และน้อมเข้ามาหาพระองค์ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ทรงสลดพระทัย ทันใดนั้นได้เห็นสมณเดินผ่านมา ทรงพอพระทัยในบรรพชา ถึงกับเปล่งอุทานว่า ” สาธุ โข ปพพชชา” บวชดีนักแล ขณะเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ก็ครุ่นคิดถึงวิธีที่จะทำให้คนเรา ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย โดยคำนึงถึงธรรมชาติว่า มีร้อนแล้วก็มีเย็น มีมือแล้วก็มีสว่าง จะต้องมีทางที่จะทำให้คน ไม่แก่ ไม่เจ็ย และไม่ตายได้ แต่ที่มนุษย์ทั้งหลายที่จมอยู่ในทุกข์ทั้งสามนี้เพราะไม่ได้ฟังคำสั่งสอนของนักปราชญ์ ทรงเห็นฆราวาสเป็นที่มืดมน เป็นที่มาของกิเลสธุลีทั้งหลาย ทรงเห็นพรรพชาเป็นของสว่างที่จะหาวิธีให้คนพ้นทุกข์ทั้งสามนั้นได้ ครั้นเสด็จถึงอุทยานทรงทราบข่าวว่าพระนางพิมพาประสูติพระโอรส จึงบังเกิดความรักในพระกุมารยิ่งนักแต่พระองค์ไม่ได้หลงในบุตรเหมือนสามัญชนทั้งหลาย ทรงเห็นว่ามีความรักมากเท่าใด ความผูกพันก็มากขึ้นเท่านั้นถึงกับเปล่งอุทานว่า ราหุลํ  ชาตํ  บ่วงเกิดขึ้นแล้ว พันธนํ ชาตํ  เครื่องผูกพันเกิดขึ้นแล้ว จึงทรงดำริต่อไปว่าเราจะต้องตัดเครื่องผูกนี้ให้ได้ พอเสด็จเข้าไปในปราสาท นางกีสาโคตมีเห็นพระพักตร์ของเจ้าชายหมองคล้ำจึงกล่าวปลอบประโลมใจว่า        นิพพุตา นูน สา มาตา นิพพุโต นูน โส ปิตา  นิพพุตา นูน สา นารี  ยัสสายํ อีทิโส ปติ        เจ้าชายสิทธัตะเป็นลูกชายของหญิงใด หญิงนั้นเป็นสุขเจ้าชายสิทธัตถะเป็นลูกของชายใด ชายนั้นเป็นสุข        เจ้าชายสิทธัตถะเป็นสวามีของผู้หญิงใด หญิงนั้นเป็นสุข  เจ้าชายสิทธัตถะกำลังครุ่นคิดหาวิธีดับความทุกข์ทรงพอพระทัยในบทว่า “นิพพุต” ซึ่งหมายถึง ความดับเย็นเป็นสุข ของนางกีโสโคตมียิ่งนัก  ถึงกลับถอดสร้อยพระศอพระราชทานแก่พระนางเป็นรางวัล  ครั้นเข้าสู่ห้องบรรทม ได้ทอดพระเนตรเห็นกิริยาที่ไม่สำรวมของหญิงฟ้อน  ทรงเบื่อหน่ายยิ่งนัก จึงตรัสสินพระทัยออกบวชวันนั้น  ได้เดินทางเข้าสู่แคว้นมคธโดยม้ากัฏฐกะ  เจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จรอนแรมผ่านแคว้นโกศลแคว้นมัลละ โดยมีนายฉันนะเป็นเพื่อนร่วมทางเดินเสด็จ  ครั้นถึงฝั่งแม่น้ำอโนมา ระยะทางประมาร ๓๐ โยชน์  ซึ่งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองกรุงราชคฤห์ ทรงเปลื้องเครื่องประดับให้นายฉันนะ โปรดให้นำม้ากัณฐกะกลับไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์ได้ตัดพระเมาฬีด้วยขรรค์อธิษฐานเพศพรรพชิต ณ ที่นั้น  ฝ่านนายฉันนะได้นำเครื่องประดับกลับไป ส่วนม้ากัณฐกะได้สิ้นใจตาย ณ ที่นั้น ด้วยความรักในพระมหาบุรุษ  ครั้นต่อมาได้เดินทางบ่ายหน้าสู่แคว้นมคธ วันหนึ่งได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์แคว้นมคธ ได้พบพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองกรุงราชคฤห์ พระองค์ได้ตรัสถามถึงสกุลวงศ์ที่ออกบวช เมื่อทราบแล้วจึงขอให้สิทธัตถะมาครองราชในแคว้นมคธโดยจะแบ่งสมบัติให้กึ่งหนึ่ง พระมหาบุรุษปฏิเสธ โดยออกบวชเพื่อแสวงหาพระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างเดียว  พระเจ้าพิมพิสารตรัสอนุโมทนาและขอให้มาโปรดเมื่อตรัสรู้แล้ว พระมหาบุรุษทรงได้รับปฏิญญา  พระมหาบุรุษได้เข้าไปศึกษาในสำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบส ซึ่งเป็นเจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ได้ความรู้เพียงสมาบัติ ๘ เห็นว่าไม่ใช้ทางตรัสรู้ จึงได้ลาอาจารย์ทั้งสอง ไปบำเพ็ญค้นหาความรู้ได้ด้วยพระองค์เอง ได้เดินทางไปถึงอุรุเวลาเสนานิคม พิจารณาเห็นป่าเขียวสดมีหมู่บ้านสำหรับเที่ยวภิกขาจารไม่ไกลนัก ณ ที่นันั้นใกล้แม่น้ำเนรัญชญา มีน้ำใสสะอาด มีต้นโพธิ์ใหญ่ร่มรื่นเหมาะทีจะบำเพ็ญเพียร  นักบาช ๕ รูปคือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ  ได้ออกบาชติดตามและเฝ้าปฏิบัติพระมหาบุรุษอยู่ ณ ที่นี้ โดยคิดว่าพระมหาบรุษตรัสสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมสั่งสอนตนเองบ้าง พระมหาบุรุษเริ่มทำความเพียรด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งเป็นวิธิการทรมานร่างกายตามความเชื่อถือของพราหมณ์ว่า ถ้าทรมานร่างกายได้มากเท่าไรกิเลสก็จะละลงเท่านั้น  พระองค์ทรงทรมานร่างกายมาจนถึงขั้นที่อดอาหาร คือเสวยลดลงทีละน้อย ๆ จนร่ายกายซูบผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกก็ยังไม่ได้ตรัสรู้  ดำริว่าทางตรัสรู้คงจะเป็นการบำเพ็ญทางจิตกระมัง พระมหาบุรุษดำริต่อไปว่า คน ที่มีร่างกายสูบผอมเช่นเราจะบำเพ็ญทางจิตได้ยาก จึงเริ่มเสวยอาหารเพื่อให้ร่างกามีกำลัง ปัญจวัคคีย์เห็นพระอาจารย์กลับเสวยอาหารอย่างเดิม จึงถือว่าพระมหาบุรุษคลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมาก คงไม่ได้ตรัสรู้แน่แล้ว จึงหนีพระมหาบุรุษไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเมืองพาราณาสี แคว้นกาสี  พระมหาบุรุษได้เสวยอาหารจนมีกำลังขึ้นมาตามลำดับ  มาจนถึงเข้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พระมหาบุรุษได้ประทับนั่งใต้ต้นไทร  นางสุชาดาบุตรีกุฏมพี ได้บนพระเทพเจ้าไว้ว่า ถ้าได้สามีที่เป็นเนื้อคู่และได้บุตรชายคนแรกแล้ว จะแก้บนด้วยของมีราคาจำนวนแสนหนึ่ง ครั้นนางได้สมประสงค์สองอย่าง แล้วจึงได้หุงข้าวมธุปายาสใส่ถาดทองคำ นำไปที่ใต้ต้นไทร เห็นพระมหาบุรุษนั่งอยู่ นึกว่าพระเทพาารักษ์ จึงน้อมข้าวมธุปายาสไปถวาย  พระมหาบุรุษเมื่อได้รับข้าวมธุปายาสแล้ว จึงไปสู่แม่น้ำเนรัญชรา สรงน้ำแล้วจึงเสวยข้าวมธุปายาสจนหมดแล้วนำแล้วนำถาดไปลอยน้ำในแม่น้ำเนรัญชรา  ครั้นพระองค์ลอยถาดแล้ว ได้พักอยู่ใต้ร่มไม้ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราจนถึงเวลาเย็น จึงเดินทางกลับมาที่ใต้ต้นโพธิ์พบคนเกี่ยวหญ้าชื่อโสตถิยะระหว่างทาง เขาได้ถวายหญ้าสุสะแก่พระองค์ ๘ กำมือ พระองค์ได้นำมาราดเป็นบัลลังก์ใต้ต้นโพธิ์ นั่งผิงพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ได้เริ่มทำความเพียรโดยตั้งสัตยาธิษฐานว่า ” ถ้ายังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเพียรไร จักไม่เสด็จลุกขึ้นเพียงนั้น แม้พระมังสะและพระโลหิตจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนังเอ็นและกระดูกก็ตามที  สถานที่พระมหาบุรุษบำเพ็ญเพียรนี้ ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ กษัตริย์อินเดียได้สร้างเป็นเจดีย์ ๔ เมตร มีอยู่แห่งเดียวในอินเดีย เรียกว่าเจดีย์พุทธคยาที่ตรัสรู้ ขณะที่พระมหาบุรุษบำเพ็ญเพียรใกล้จะตรัสรู้นั้นพญามารเกรงว่าพระมหาบุรุษจะพ้นอำนาจของตนไปเสีย  จึงให้ธิดาผู้เผอโฉมคือนางตัณหา  นางราคะและนางอรดี  มาฟ้อนรำยั่วยวน  เพื่อให้พระมหาบรุษเกิดความยินดี  จะได้เลิกล้มการทำความเพียร ครั้นพญามารเห็นว่าพระมหาบุรุาไม่ยินดีในความงามของธิดาตน  จึงได้ขี่ช้างคีรีเมฆยกขบวนเสนามารโห่ร้องกึกก้อง  เพื่อให้พระมหาบุรุษหนีไปจากที่ทำความเพียร ความพยายามของพญามาร  ยังผลให้พระะมหาบุรุษยกพระหัตถ์วางที่พระชานุ  พระองค์ได้สติระลึกความดีที่บำเพ็ญมาเป็นเอนกชาติ  คือบารมี ๑๐ ทัศน์มีทานบารมี เป็นต้น  ขอให้ช่วยขับไล่พญามารหนีไป  และพร้อมกันนี้แม่พระธรณีได้มาบีบมวยผมให้น้ำไหลท่วมท้น ทำให้พญามารและเสนามารหนีไป พุทธศาวนิกชนจึงเรียกพุทธจริยาตอนนีว่าปางชนะมาร  หรือ  ปางมารวิชัย แต่ความจริงและเป้น้กิเลสที่เกิดขึ้นในใจของพระมหาบุรุษเอง  ที่นึกถึกความอบอุ่นด้วยความสุขในสตรีเพศและนึกถึงความเป็นใหญ่ในกรุงกบิลพัสดุ์  แต่ทรงชนะกิเลสเหล่านั้นด้วยบารมี ๑๐ ทัศน์  และได้ทำความเพียรต่อไป เมื่อพญามารและเสนามารหนีไปแล้ว  พระมหาบุรุษได้กระทำความเพียรทางจิตอย่างแน่วแน่  จนหยั่งรู้ธรรมพิเศษตามลำดับดังนี้ ปฐมยาน  รู้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ  ได้แก่ความรู้ระลึกชาติหนหลังของตนได้ มัชฌิมยาน  รู้จุตูปปาตญาณ  ได้แก่ความรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย ปัจแมยาน   รู้อาสวักขยญาณ  ได้แก่ความรู้ที่ทำให้กิเลสสิ้นไปเวลาไกล้รุ่งจึงตรัสรุ้อริยสัจจธรรม  ๔  ประการ  ความรู้นี้นับว่าพระองค์ได้คนพบใหม่  ซึ่งไม่เหมือนกับความรู้ที่พระองค์ได้รับจากเจ้าลัทธิอื่น ๆ มาก่อน   พระองค์จึงพอพระทัยว่ารู้ละนั่นคือพระองค์ได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ  ณ  ใต้ต้นโพธิ์  ในวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ   เดือน  ๖  ก่อนพุทธศก  ๔๕  ปี สถานที่ประทับเสวยวิมุติสุข  ครั้นพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว  พระองค์ยังไม่ไปแสดงธรรมสั่งสอนประชาชน  ยังคงประทับเสวยวิมุติสุขอยู่  ณ  บริเวรต้นโพธิ์นั้นเป็นเวลา  ๗  สัปดาห์  สัปดาห์ที่ ๑  ได้ประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ ณ ใต้ต้นโพธิ์นั้นเองได้พิจารณาปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง  พระองค์พอพระทัยอย่างยิ่งที่ได้ค้นพบธรรมหมวดนี้  จากภาพจะเห็นว่าบริเวรรอบต้นโพธิ์  แวดล้อมไปด้วยวัดของชาวพุทธชาติต่าง ๆ   ทางด้านซ้ายของแนวถนนมีวัดจีน  วัดธิเบต  วัดพม่า  ทางด้านขวาของถนน  มีวัดญี่ปุ่น  วัดไทยพุทธคยา   วัดเหล่านี้ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลของต้น  ได้ไปสร้างวัดไว้   และให้พระสงฆ์อยื่ประจำเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นพุทธบูชา  สัปดาห์ ที่ ๒  ได้เดินออกจากต้นมหาโพธิ์ไป  และได้ยืนเพ่งดูต้นโพธิ์เป็นเวลา ๗  วัน  นี่ก็เป็นการเปลี่ยนอริยาบถเพื่อทำสมาธิพิจารณาธรรมที่ตรัสรู้แล้วของพระพุทธเจ้านั่นเอง  สถานที่ตรงนี้เรียกว่า  อนิมิสเจดีย์  สัปดาห์ที่ ๓ ได้เดินมาใกล้ต้นโพธิ์  และได้เดินจงกรมอยู่ตลอดเวลา ๗ วัน  เรียกว่า  รัตนจงกรมเจดีย์  สัปดาห์ที่ ๔  ได้นั่งพิจารณาพระอภิธรรม ซึ่งเป็นธรรมสูงสุดใสหมวดสามของพระไตรปิฏก ได้แก่ พระอภิธรรมปิฏก มีคำสอน ๔๒,๐๐๐พระธรรมขันฑ์ พระสุตันตปิฏก มีคำสอน ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันฑ์ พระวินัยปิฏก       มีคำสอน ๒๑,๐๐๐  พระธรรมขันฑ์ สถานที่นี้เรียกว่า  รัตนฆรเจดีย์  สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จไปประทับที่ใต้ต้นไทร  ชื่อว่า อชปาลนิโครธ  อันเป็นที่พักของคนเลี้ยงแพะ คนเลี้ยงแพะได้ถามพระองค์ว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุอะไร? พระองค์ตอบว่าบุคคลผู้มีบาปและบุญอันลอยเสียแล้วไม่มีกิเลสอันย้อมจิตให้ติดแน่นดุจน้ำฝาด  มีตนสำรวมแล้วมีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  ชื่อว่าเป็นพราหมณ์  สัปดาห์ที่ ๖ เสด็จไปประทับที่ต้นจิต    ชื่อว่ามุจจลินทร์ ในสัปดาห์นี้มีฝนตกเจือด้วยลมหนาวตลอด  ๗  วันพญานาคได้มาแผ่พังพานป้องกันฝนให้  พุทธศาสนิกชนจึงเรียกพุทธจริยานี้ว่า  ปางนาคปรก  สัปดาห์ที่ ๗  ไปประทับที่ต้นเกต  ชื่อว่าราชายตนะมีพ่อค้า ๒ คน  ชื่อว่าตปุสสะและภัลลิกะ  เดินทางมาพบพระองค์  ได้นำข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผงไปถวาย  พระองค์ทรงรับและเสวย  พ่อค้า ๒ คนแสดงตนเป็นอุบาสก  ถึงพระพุทธและพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึกก่อนผู้ใดในโลกก่อนจะจากไปพ่อค้าทั้งสองได้ทูลขอสิ่งที่ระลึกไปสักการะบูชาพระองค์ได้เอาพระหัตถ์ลูบพระเศียร  พระเกศที่เหลืองอันสั้นหลุดล่วงมาเส้นหนึ่ง  จึงประทานแก่พ่อค้าทั้งสองไปเป็นที่ระลึก พ่อค้าได้นอมรับไปแล้วได้บรรจุสถูปไว้สักการะบูชา ณ บ้านของตน เมื่อพระองค์ได้พิจารณาธรรมตลอด  ๗  วันแล้วเห็นว่าธรมนั้นลึกซึ้งยากที่ผู้อื่นจะรู้ตามได้  ทรงท้อพระทัยที่จะสั่งสอนประชาชน  ครั้นได้พิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลสติปัญญาการรับรู้  จึงน้อมพระทัยไปเพื่อการสั่งสอนประชาชน ความแตกต่างเหล่านั้นได้แก่  ๑. อุคฆติตัญญู  ไดแก่บุคคลที่มีสติปัญญาดีเลิศพอฟังหัวข้อธรรมก็รู้ได้ทันทีเหมือนดอกบัวที่ขึ้นพ้นเหนือน้ำแล้วพอสัมผัสแสงอาทิตย์ก็จะบานทันที  ๒. วิปจิตัญญู  ได้แก่บุคคลที่มีสติปัญญาดี  เมื่อฟังหัวข้อธรรมแล้ว  ยังไม่อาจรู้ตามได้  พอท่านขยายความในหัวข้อธรรมนั้นแล้วจึงรู้ตามได้เหมือนดอกบัวเสมอน้ำจะบานในวันพรุงนี้  ๓. เนยยะ  ได้แก่บุคคลที่มีสติปัญญาปานกลางเมื่อฟังหัวข้อธรรมนั้นแล้ว  ยังไม่อาจรู้ตามได้  ครั้นสนใจเล่าเรียนศึกษาต่อไปก็สามารถรู้ตามได้  เหมือนดอกบัวใต้น้ำจะบานในวันต่อ ๆ ไป  ๔. ปทปรมะ  ได้แก่บุคคลที่มีปัญญาอ่อนและไม่สนใจในการศึกษา  สอนอย่างไรก็ไม่อาจรู้ตามได้  เหมือนบัวในโคลนตม ซึ่งเป็นภักษาของปลาและเต่าเสียแล้ว  เมื่อพระองค์รู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้วจึงตัดสินใจสั่งสอนประชาชน  ทรงพิจารณาว่าจะสอนใครก่อนดำริว่าอาฬารดาบสและอุทกดาบสมีกิเลสเบาบาง  ถ้าได้ฟังธรรมแล้วจะรู้ได้ทันที  แต่ท่านทั้งสองก็ได้มรณภาพเสียแล้วจึงพิจารณาถึงผู้ที่จะรับฟังธรรมต่อไป  เห็นว่าปัญจวัคคีย์เป้นบรรชิตด้วยกัน เมื่อได้ฟังธรรมนี้แล้วจะรู้ตามได้ แต่ขณะนี้ปัญจวัคคีย์ไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  เมืองพาราณสีแคว้นกาสี  จึงออกเดินทางไปป่าอิสิปตนมฤคทายวันเพื่อแสดงธรรมสั่งสอนปัญจวัคคีย์  พระองค์เดินทางไปยังไม่พ้นบริเวณพุทธคยา  ก็พบอุปกาชีวก  นักบวชประเภทหนึ่งของอินเดีย  อุปกาชีวกเห็นผิวพรรณของพระศาสดาผุดผ่องน่าเลื่อมใส  จึงถามว่า  ท่านบวชในสำนักของผู้ใด  ใครเป็นครุของท่าน  พระศาสดาตอบว่าเราตรัสรู้เองโดยชอบ ไม่มีใครเป็นครูสั่งสอน อุปกาชีวกไม่เชื่อสั่นศีรษะแลบลิ้นแล้วเดินทางหลีกไปพระศาสดาดำเดินไปตามลำพังเป็นเวลา ๑๑ วันถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันปัญจวัคคีย์เห็นพระองค์เดินมาแต่ไกลจึงพูดกันว่า   พระสมณโคดม   คลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมาก   ไม่อาจรู้ธรรมพิเศษได้  นี่คงมาให้เราอุปัฏฐากอีก  พวกเราอย่าต้อนรับเลย  ครั้นพระศาสดาเสด็จมาถึง  ปัญจวัคคีย์ต่างก็ลืมที่นัดหมายกันไว้  ต่างคนรับบาตรจีวร  แต่ไม่แสดงความเคารพเหมือนแต่ก่อน  พระศาสดาตรัสว่า  เราได้ตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้วจะมาแสดงธรรมสั่งสอนท่าน  ปัญจวัคคีย์แสดงกิริยากระด้างกระเดื่องกล่าวโดยไม่เคารพว่า  อาวุโส  โคดม  ท่านคลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้ว  ท่านจะรู้ธรรมพิเศษได้อย่าไร ?”  พระองค์ตรัสรู้แล้ว  ปัญจวัคคีย์คัดค้าน  ๒-๓ ครั้ง  พระองค์ตรัสว่า  วาจาเช่นนี้  เราเคยพูดในการก่อนถึงบัดนี้หรือ  ปัญจวัคคีย์ระลึกได้ว่าวาจาเช่นนี้พระองค์ไม่เคยตรัสเลย  จึงเชื่อว่าพระองค์ตรัสรู้แล้ว  และตั้งใจรับฟังพระธรรมเทศนา เมื่อปัญจวัคคีย์ตั้งใจฟังธรรมแล้ว  ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ พระพุทธเจ้าจึงแสดงพระธรรมเทศนาชื่อธรรมจักกัปปวัตตนสูตร  หมายถึงจักรคือธรรมแผ่ไปถึงใหน  ความสุขก็จะแผ่ไปถึงนั่น  ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นสูตรที่สำคัญยิ่งในการประกาศสัจจธรรมของพระพุทธเจ้า  พระองค์ปฏิเสธส่วนสุด ๒ อย่าง  คือ  อัตตกิลมถานุโยค  คือ  การทรมานตนให้ลำบากเปล่า  กามสุขัลลิกานุโยค  คือ  การมัวเมาในกามสุขมากเกินไป  และได้เสนอมัชชิมาปฏิปทา  ทางสายกลาง  คือมรรคแปด  ได้แก่        ๑.  สัมมาทิฏฐิ          ความเห็นชอบ        ๒.  สัมมาสังกัปปะ    ความดำริชอบ        ๓.  สัมมาวาจา         เจรจาชอบ        ๔.  สัมมากัมมันตะ   การงานชอบ        ๕.  สัมมาอาชีวะ      เลี้ยงชีพชอบ        ๖.  สัมมาวายามะ    เพียรชอบ        ๗.  สัมมาสติ            ระลึกชอบ        ๘.  สัมมาสมาธิ        ตั้งใจชอบ ความเห็นชอบ  ได้แก่เห็นความจริงอย่างประเสริฐ ๔ ประการ คือ                   – ทุกข์       ความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ                   – สมุทัย    เหตุให้เกิดทุกข์                   – นิโรธ      ความดับทุกข์                   – มรรค     ข้อปฏิบัติให้ถึงความเบทุกข์ ความดำริชอบ  ได้แก่คิดในสิ่งที่ดี  ที่ควร ๓ ประการ  คือ                   – ดำริออกจากกาม                   – ดำริในการไม่เบียดเบียน                   – ดำริในการไม่พยาบาท  เจรจาชอบ  ได้แก่เว้นจากวจีทุจริต ๔ ประการคือ – ไม่พูดเท็จ – ไม่พูดสอเสียด                    – ไม่พูดคำหยาบ                     – ไม่พูดเพ้อเจ้อ  ทำการงานชอบ  ได้แก่เว้นจากกายทุจริต ๓ ประการ คือ – ไม่ฆ่าสัตว์ – ไม่ลักษณ์ – ไม่ประพฤติผิดทางชู้สาว  เลี้ยงชีพชอบ  ได้แก่การเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด ๕ ประการคือ – ไม่ค้าขายมนุษย์ – ไม่ค้าขายอาวุธ – ไม่ค้าขายยาพิษ – ไม่ค้าขายน้ำเมา – ไม่ค้าขายสัตว์เป็นเพื่อให้เขาฆ่า  เพียรชอบ  ได้แก่ทำความเพียร ๔ ประการ คือ – เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในตน – เพียรระบาปที่เกิดขึ้นแล้ว – เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในตน – เพียรรัดษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม  ระลึกชอบ  ได้แก่ระลึกในสติปัฏฐาน ๔ ประก่รคือ – กายานุปัสสนา      ระลึกในกาย – เวทนานุปัสสนา     ระลึกในเวทนา – จิตตานุปัสสนา      ระลึกในจิต – ธัมมานุปัสสนา       ระลุกในธรรม  ตั้งใจชอบ  ได้แก่เจริญฌาน ๔ ประการคือ                     – ปฐมฌาน      ฌานที่ ๑                     – ทุติยฌาน      ฌานที่ ๒                     – ตติยฌาน      ฌานที่ ๓                     – จตุตถฌาน    ฌานที่ ๔  มรรค ๘  ข้อที่ ๓ ,๔ ,๕ มุ่งหมายให้บุคคลรักษากาย  วาจา  ให้เรียบร้อยจัดเป็น  ศีล                ข้อที่ ๖ ,๗ ,๘ มุ่งหมายให้บุคคลฝึกจิตให้สงบระงับจัดเป็น  สมาธิ ข้อ  ๑,๒  มุ้งหมายให้บุคคลตริตรึกนึกคิดให้เห็นความจริงอย่างถ่องแท้  จัดเป็น  ปัญญา  นับว่าเป็นแผนสอนของพระพุทธเจ้าที่ให้ดำเนินไป ๓ขั้นตอน  เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงด้วยปัญญาของตนเอง ต่อจากนั้นทรงแสดงของจริงอย่างประเสริฐ ๔ การ ๑  ทุกข์       สิ่งที่นได้ยาก ๒  สมุทัย     เหตุที่ให้เกิดทุกข์ได้แก่ตัณหา ๓ ประการคือ      -กามตัณหา    ความอยากในกาม      -ภวตัณหา       ความอยากเป็นโน่นไม่เป้นนี่      -วิถวตัณหา     ความอยากเป้นโน่น  เป็นนี่ ๓  นิโรธ       ความดับทุกข์ ๔   มรรค      ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์              เมื่อจบพระธรรมเทศนา  โกณฑัณญญะได้บรรลุพระโสดาปัติผล  เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา  พระพุทธเจ้าได้เปล่งอุทานว่า  ” อัญญาสิ  วต  โภ  โกณฑัญโญ  อัญญาสิ  วต  โภ  โกณฑัญโญ ” แปลว่า  โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ  โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ  ท่านจึงได้ชื่อว่าอัญญาโกณฑัญญะตั้งแต่นั้นมา ณ สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้  พระเจ้าอโศกมหาราชธัมเมกสถูปไว้เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายทราบว่า ” พระพุทธเจ้าได้แสดงพระธรรมเทศนาครั้งแรก ณ ที่นี้ ”               พระพุทธศาสนิกชนได้สร้างเสมาธรรมจักรและรูปกวางขึ้นเป็นสัญลักษณ์ของการประกาศสัจธรรมครั้งแรกวงล้อมนั้นหมายถึงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร  รูปกวางหมายถึงป่าดิสิปตนมฤคทายวัน  แม้พระโสณและพระอุตตระได้มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิ  ก็ให้พุทธศาสนิกชนสร้างรูปนี้ขึ้น  ดังที่ขุดพบในจังหวัดนครปฐม

 

SHARE NOW

Facebook Comments