ขิง..แก้ปวดไมเกรน

ขิง..แก้ปวดไมเกรน

ขิง..แก้ปวดไมเกรน

💛 ขิง..แก้ปวดไมเกรน

“ขิง” มีสรรพคุณเป็นยา ทั้งในตำรับยาไทย จีน และแพทย์อายุรเวท โดยเหง้าของขิงแก่ มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม ลดอาการ คลื่นไส้ อาเจียน แก้ท้องผูก เหงือกอักเสบ แก้ไอขับเสมหะ บรรเทาข้ออักเสบ รักษาอาการปวดศีรษะรวมทั้งช่วย กระตุ้นการอยากอาหาร นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิจัยพบว่า ขิงสามารถใช้รักษาอาการปวดไมเกรนได้อีกด้วย

🔎มีการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยไมเกรน 100 ราย ในแผนกประสาทวิทยา ของโรงพยาบาลในประเทศอิหร่าน ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีระยะการเป็นไมเกรนมาประมาณ 7 ปี มีอาการปวดมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน เปรียบเทียบระหว่างการให้แคปซูลขิง (ผงขิง 250 มิลลิกรัม/แคปซูล) กับยาแผนปัจจุบันชื่อ “ซูมาทริปแทน” ขนาด 50 มิลลิกรัม เมื่อมีอาการปวดไมเกรน

…ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่รับประทานขิง อาการปวดไมเกรนลดลงดีเทียบเท่ากับกลุ่มที่รับประทานยาแก้ปวดแผนปัจจุบัน คือ สามารถลดอาการปวดไมเกรนได้ถึง 60% ภายในเวลา 2 ชั่วโมงหลังรับประทานยา และพบว่าแคปซูลขิง มีข้อดีที่เหนือกว่ายาแผนปัจจุบัน คือ ไม่พบอาการข้างเคียงจากการรับประทานยา ในขณะที่ยาซูมาทริปแทน มักทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ ง่วงนอน และอาการแสบร้อนที่หน้าอก (Heartburn)

⚠️ การที่ขิงสามารถบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้นั้น น่าจะมาจากการที่ขิงมีฤทธิ์ในการลดกระบวนการอักเสบ ลดอาการปวดในร่างกาย ลดการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน (prostiglandins) ที่ทำให้ปวดและอักเสบ ซึ่งยังมีข้อมูลในการใช้ขิงในการบรรเทาอาการปวดข้อมาก่อนหน้านี้

…อีกทั้ง ขิง ยังมีสรรพคุณในการแก้คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ซึ่งอาการดังกล่าวมักพบว่าเป็นอาการนำก่อนที่จะมีอาการปวดไมเกรน จึงถือได้ว่า ขิงเป็นสมุนไพรอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยไมเกรน และหากใครชื่นชอบการดื่มน้ำขิงอยู่แล้ว ก็สามารถจิบน้ำขิงอุ่นๆ เวลาปวดไมเกรนได้เช่นกัน

 “ขิง” เป็นพืชสมุนไพรที่มีความปลอดภัย ใช้รับประทานเป็นอาหารและยาได้ มีการศึกษาเกี่ยวกับอาการข้างเคียงจากขิงในมนุษย์ โดย Chrubasik และคณะ พบว่า การใช้ขิงใน อาสาสมัครปกติ 12 คน ขนาด 1200 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง มีเพียง 1 รายที่มี อาการท้องเสียใน 2 วันแรก

..นอกจากนี้ Arfeen และคณะรายงานว่า ขิงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก และมีลมในกระเพาะอาหาร (bloating) ที่มีระดับความรุนแรงน้อยได้

🔸วิธีรับประทาน
จิบน้ำขิงอุ่นๆ เวลาปวดไมเกรน หรือกินขิงชนิดแคปซูลขนาด 250 มิลลิกรัม เช้า เย็นหรือก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการ

⛔️ข้อควรระวัง
▪️ควรระวังในการรับประทานขิงร่วมกับยาในกลุ่ม Anticoagulant�▪️ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน�▪️หากมีอาการแสบร้อนทางเดินอาหารควรรับประทานหลังอาหารทันที
▪️สตรีมีครรภ์ไม่ควรทานในปริมาณมากเกินไป

🔖เอกสารอ้างอิง
▪️Wang WH, Wang ZM. Studies of commonly used traditional medicine-ginger. Zhongguo Zhong Yao Za Zhi 2005;30:1569-1573.
▪️Maghbooli M, Golipour F, Moghimi Esfandabadi A, Yousefi M.
▪️Comparison between the efficacy of ginger and sumatriptan in the ablative treatment of the common migraine. Phytother Res 2014;28(3):412-5.
▪️Srivastava KC, Mustafa T, et al. , Ginger ( Zingiber officinale) in rheumatism and musculoskeletal disorders. Med Hypotheses 1992;39(4):342-8.
▪️Chrubasik S, Pittler MH, Roufogalis BD. Zingiberis rhizoma: a comprehensive review on the ginger effect and efficacy profiles. Phytomedicine 2005;12:684–701.
▪️Arfeen Z, Owen H, Plummer JL, et al., A double-blind randomized controlled trial of ginger for the prevention of postoperative nausea and vomiting. Anaesth Intens Care 1995;23:449– 452.

SHARE NOW
Exit mobile version