รู้จัก “ยาหอม 4 ตำรับ” เลือกกินเลือกใช้อย่างไร?
“ยาหอม” ถือเป็นเอกลักษณ์ด้านยาสมุนไพรของไทย มีการใช้มายาวนานยาหอมใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ซึ่งในทางการแพทย์แผนไทย หมายถึง ยาปรับการทำงานของลมที่เคลื่อนไหวทั่วร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อจิตใจ อารมณ์ความรู้สึก
การหมุนเวียนของเลือด เรียกรวมกันว่า ลมกองละเอียด ยาหอมบางชนิดนอกจากใช้บำรุงหัวใจแล้ว ยังใช้สำหรับแก้ไขปัญหาที่เกิดจากลมกองหยาบ ซึ่งหมายถึง ลมที่อยู่ภายในทางเดินอาหาร ที่ทำให้เกิดอาการจุกเสียดอีกด้วย ดังนั้น การตั้งตำรับยาหอมจึงต้องประกอบด้วยสมุนไพรจำนวนมากเพื่อปรับการทำงานของธาตุลม ไฟ และน้ำให้เข้าสู่สมดุลย์
โดยทั่วไปแล้วยาหอม จะประกอบด้วย…
สรรพคุณ : แก้ลมตีขึ้นบนหัว วิงเวียน หน้ามืดตาลาย ใจสั่น หนักๆ มึนๆ ในหัว บำรุงหัวใจ คลายเครียด ช่วยการนอนหลับ
ขนาดรับประทาน : ครั้งละ 1/2 – 1 ช้อนชา ละลายน้ำอุ่น รับประทานทุก 3 – 4 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ ไม่ควรเกินวันละ 3 ครั้ง
– ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด
– ควรระวังในการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูรและเกิดพิษได้
– ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้
สรรพคุณ : แก้ลมในอก จุกเสียด ลมจุกคอ กลืนไม่เข้าคายไม่ออก หงุดหงิดก่อนมีประจำเดือน ทำให้รู้สึกสดชื่น
ขนาดรับประทาน : ครั้งละ 1/2 – 1 ช้อนชา ละลายน้ำดอกไม้เทศหรือน้ำต้มสุก รับประทานทุก 3 – 4 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ
สรรพคุณ : แก้ลมในท้อง ท้องอืดเฟ้อ เรอบ่อย พะอืดพะอม ท้องผูก คลื่นเหียน อาเจียน ลมปลายไข้ ปรับสมดุลธาตุลม ท้องไส้ ช่วยการนอนหลับ
น้ำกระสายยาที่ใช้
– แก้ลมคลื่นเหียน อาเจียน ใช้น้ำลูกผักชีเทียนดำต้ม
– แก้ลมปลายไข้ ใช้ก้านสะเดา ลูกกระดอม และบอระเพ็ดต้มเอาน้ำ ถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ใช้น้ำสุกแทน
ขนาดรับประทาน : ครั้งละ 1/2 – 1 ช้อนชา ละลายน้ำกระสายยาทุก 3 ชั่วโมง
– ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด
– ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้
สรรพคุณ : แก้ลมบาดทะจิต แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด จิตใจไม่สงบ กระวนกระวาย (อาการไม่สบายตัวร้อนๆ หนาวๆ)
ขนาดรับประทาน : รับประทานครั้งละ 1-2 กรัมละลายน้ำกระสายยาทุก 3 – 4 ชั่วโมง ไม่ควรเกินวันละ 3 ครั้ง
น้ำกระสายยาที่ใช้
– กรณีแก้ลมบาดทะจิต ใช้น้ำดอกมะลิ
– กรณีแก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้น้ำลูกผักชีเทียนดำต้ม ถ้าไม่มีใช้น้ำสุก
– กรณีแก้ลมจุกเสียด ใช้น้ำขิงต้ม
– ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด
– ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้