สมุนไพรรักษาอาการหอบหืด

สมุนไพรรักษาอาการหอบหืด

สมุนไพรรักษาอาการหอบหืด


สมุนไพรรักษาอาการหอบหืด
โรคหอบหืด (Asthma) เรียกสั้นๆ ว่า โรคหืด เป็นโรคของหลอดลมหายใจ ผู้ป่วยจะหอบเหนื่อย ไอ และมีเสียงหายใจดัง เป็นอาการของหายใจติดขัด เป็นโรคเรื้อรัง หายขาดได้ยาก อาการที่ปรากฏเป็นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวคือ เป็นบ้างหายบ้าง บางครั้งหอบเหนื่อยไป สักครู่อาการก็อาจดีขึ้นเอง หรือเมื่อได้รับการรักษาอาการหอบอาจหายไปได้ จึงเป็นโรคที่ตรวจร่างกายไม่พบในภาวะปกติ

เมื่อเกิดมีอาการที่เรียกว่าจับหืด ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าแน่นหน้าอก หายใจถี่ๆ และหายใจขัด บางคนมีอาการคันของหลอดลมในทรวงอกนำมาก่อนเล็กน้อย ต่อมาเมื่อหลอดลมตีบตันมากขึ้น เสียงหายใจจะดังเป็นเสียงวี้ดๆ หรือเสียงหืด ผู้ป่วยไอติดต่อกันเป็นระยะๆ นอนราบ ไม่ได้ เมื่อเป็นมากขึ้น ใบหน้าของผู้ป่วยจะเขียวคล้ำเพราะขาดออกซิเจน อาการเช่นนี้อาจเป็นหลายชั่วโมง ถ้าได้รับการรักษาหรือผู้ป่วยสามารถไอ ขับเอาเสมหะออกมาได้ และมีการคลายตัวของหลอดลม ผู้ป่วยจะสบายขึ้น อาการต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วจะค่อยๆ หายไป เมื่ออาการดีขึ้น
ไพล เป็นพืชในวงศ์เดียวกับขิง เหง้ามีเนื้อสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะ จากการศึกษาทางคลินิกพบว่าในเหง้าไพลมีสารเวอราทอล (veratrole) มีฤทธิ์ขยายหลอดลม มีการทดลองในผู้ป่วยเด็กที่เป็นหืด พบว่าให้ผลดีทั้งในผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืดแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง แต่การรับประทานไพลในปริมาณสูงและใช้เป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดพิษต่อตับ
น้ำสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการหอบหืด
1. ไพล (ส่วนเหง้าของไพลที่แก่จัด) 100 กรัม
2. พริกไทยขาว 40 กรัม
3. ดีปลี 40 กรัม
4. กานพลู 10 กรัม
5. พิมเสน 10 กรัม
วิธีทำ
นำสมุนไพรแต่ละอย่างมาทำการบดให้ละเอียดแล้วผสมรวมกัน จากนั้นให้นำยาสมุนไพรที่บดผสมกันแล้ว 1 ช้อนชา มาชงกับน้ำร้อนดื่ม เพียงเท่านี้ก็ได้น้ำสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการของโรคหอบหืดแล้วค่ะ
สูตรที่ 2
1.ใบกระเพราแดง
2.น้ำผึ้งแท้
3.เกลือ 4.เหล้าขาว
วิธีใช้
นำใบกระเพราะแดงผสมกับน้ำผึ้งใส่ในครกตำให้เข้ากัน แล้วเอาเกลือใส่(นิดเดียว)กับเหล้าขาวนิดหน่อยตำให้เข้ากัน คั้นเอาน้ำไปให้คนที่เป็นหอบหืดกิน กินทุกวันไม่นานก็หาย
สูตรที่ 3
1. หอมแดง 1 หัว (ขนาดเท่าหัวแม่มือผู้ป่วย)
2. กระเทียม (ขนาดเท่าหัวแม่มือผู้ป่วย)
3. ขิง เหมือนกับข้อ1-2
4. มะนาว 3-4 ลูก
5. น้ำผึ้ง 2-3 ช้อนโต๊ะ
หอมแดง, กระเทียม, ขิง ที่เอาเปลือกออกแล้ว โขลกรวมกัน
(ถ้ามีเครื่องปั่นก็ใช้วิธีปั่น)ให้ละเอียด
มะนาวบีบเอาน้ำ นำมาผสมรวมกันกับหอมแดง กระเทียม ขิง และน้ำผึ้ง
ป.ล. ควรทำทีละมากๆหน่อย กะปริมาณเพราะสูตรข้างบนนี้เฉพาะดื่มครั้งเดียว
ถ้าทำมากเก็บแช่ตู้เย็นไว้ดื่มทุกวันดื่มเวลาไหนก็ได้วันละกี่ครั้งก็ได้ เพราะสมุนไพรมีแต่ประโยชน์ไม่มีโทษ ถ้านึกได้ก็จะดื่มเสมอๆค่ะ
สำหรับสมุนไพรแก้หอบหืดที่มีบันทึกไว้ในตำรายาโบราณ ที่สามารถรักษาอาการหอบหืดได้นั้นมีหลายตำรับและสมุนไพร ที่นำมาใช้ก็มีหลากหลาย เช่น
ดอกปีบ หรือ ดอกกาสะลอง เป็นไม้ยืนต้นสูง มีดอกสีขาว มีกลิ่นหอม จากการวิจัยพบว่าในดอกและใบปีบมีสารฮีสปีดูลิน (Hispidulin) ที่สามารถระเหยได้ มีสรรพคุณในการช่วยขยายหลอดลม เป็นสมุนไพรแก้หอบหืด ซึ่งมีฤทธิ์ดีกว่าอมิโนฟิลลีน (Aminophylline) ที่เป็นยาแผนปัจจุบันสำหรับรักษาอาการโรคหอบหืด และยังไม่มีพิษตกค้างเหมือนยาแผนปัจจุบันอีกด้วย
หมอแผนโบราณจะนำดอกปีบแห้งมาม้วนกับใบบัวหลวงหรือใบตองนวล นำไปสูบคล้ายบุหรี่ หรือสูดดมดอกปีบเข้าไปก็ได้ ทางภาคเหนือและภาคอีสานนิยมนำรากต้นปีบมาต้มรักษาอาการไอ เพราะมีสรรพคุณเรื่องการบำรุงปอด นอกจากนี้เราจะพบว่าดอกปีบเป็นส่วนประกอบสำคัญของยารักษาริดสีดวงจมูก
ส่วนที่ใช้ : ดอกแห้ง
ปริมาณ : 7-8 ดอก
วิธีใช้ : นำดอกปีบที่แห้งแล้วนำมามวนเป็นบุหรี่สูบ วันละ 1 มวน
****คนทีเขมา หรือ ผีเสื้อดำ เป็นสมุนไพรแก้หอบหืดเก่าแก่ที่ปรากฏอยู่ในตำราอายุรเวทของอินเดีย มีอายุราว 4,000 ปี เป็นไม้พุ่มสูง กิ่งและใบมีกลิ่นหอม มีดอกสีม่วงอ่อนๆ และผลรูปกลมรี หมอยาพื้นบ้านนิยมใช้คนทีเขมาเป็นยารักษาโรคทางเดินหายใจ อย่าง หอบ ไอ เนื่องจากมีฤทธิ์ร้อนและมีน้ำมันหอมระเหย
บางตำราก็นำใบหรือเมล็ดมาทำเป็นยานัด ยาต้ม ยาลูกกลอน เช่น นำเมล็ดคนทีเขมาตากแห้งแล้วนำมาตำเป็นผงละเอียด สักประมาณครึ่งช้อนชา นำมาชงดื่มกับน้ำ/น้ำผึ้ง/น้ำตาลทรายแดง วันละ 2 ครั้ง ยังมีผลการวิจัยพบว่าคนทีเขมามีฤทธิ์ขับเสมหะ รักษาอาการไอและหอบ รักษาหลอดลลมอักเสบเรื้อรังได้อีกด้วย
****หนุมานประสานกาย หรือ สังกรณี เป็นอีกสมุนไพรแก้หอบหืด ที่บรรเทาอาการหอบหืด แก้แพ้อากาศ ขยายหลอดลม หนุมานประสานกายเป็นไม้พุ่ม ออกดอกเป็นช่อสีขาวนวล และมีผลทรงกลมขนาดเล็ก
ตามตำราแพทย์แผนโบราณจะนำใบกึ่งอ่อนกึ่งแก่ประมาณ 7 ใบใช้เคี้ยวสดๆ กลืนน้ำจนกว่ากากยาจะจืดจึงค่อยคายทิ้งหรือกลืนลงไปก็ได้ ทำอย่างนี้วันละ 2ครั้งก่อนอาหารเช้า-เย็น อาจนำใบแห้งไปต้มดื่มคล้ายน้ำชา ดื่มทั้งเช้า-เย็น ก่อนอาหาร อย่างไรก็ตามหากผู้ใช้มีอาการใจสั่น แน่นหน้าอก อึดอัด หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อาเจียน ควรหยุดรับประทานทันที แสดงว่าท่านแพ้สมุนไพรชนิดนี้ และสำหรับหญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ ก็ไม่ควรรับประทานเช่นกันคะ
***ต้นดอก.ลำโพงกาสะลัก
ส่วนที่ใช้ : ดอกและใบที่แห้งแล้ว
ปริมาณ : ดอกแห้ง 2 ดอก หรือใบแห้ง 5 ใบ
วิธีใช้ : นำมามวนเป็นบุหรี่สูบ วันละ 1 มวน

SHARE NOW

Facebook Comments