กัญชา กัญชง อาจเป็นตัวช่วย

กัญชา กัญชง อาจเป็นตัวช่วย

กัญชา กัญชง อาจเป็นตัวช่วยระบบเก็บขยะที่ร่างกายร้องขอมาอย่างยาวนาน

กัญชา กัญชง อาจเป็นตัวช่วยระบบเก็บขยะที่ร่างกายร้องขอมาอย่างยาวนาน

สารอนุมูลอิสระ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย ทั้งเกิดขึ้นเองในกระบวนการทำงานของร่างกาย หรือ ได้รับจากภายนอกเข้ามา เช่น มลภาวะ อาหารที่ปนเปื้อน ล้วนเป็นตัวเริ่มจุดชนวนให้มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นในร่างกาย

และสารอนุมูลอิสระ ก็ถูกจัดว่า เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่ทำให้ร่างกายแก่ หรือ ร่างกายเสื่อมโทรม จนมีผลทำให้สุขภาพแย่ลงได้

ปกติร่างกายมีระบบทำความสะอาดขยะอยู่แล้ว ขยะในที่นี้ หมายถึง สารอนุมูลอิสระ ส่วนตัวจัดการขยะ ซึ่งเรามักจะเรียกกันว่า สารต้านอนุมูลอิสระ

ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระก็มีตั้งแต่ร่างกายสร้างขึ้นเองได้ เช่น สารต้านอนุมุลอิสระในกลุ่มกลูต้าไธโอน และสารต้านอนุมูลอิสระจากข้างนอก ก็พวกวิตามินในผักผลไม้ หรือ สารสกัดที่มาในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นั่นละครับ

ถึงแม้เราจะทราบ การทำงานของระบบสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย แต่เราก็พึ่งรู้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระ ก็ถูกควบคุมด้วยระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ด้วยเช่นกัน

หรือเข้าใจง่ายๆว่า เหนือกว่าการทำงานของระบบสารต้านอนุมูลอิสระ ก็คือ มีระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์คอยควบคุมหรือสั่งการอยู่ นั่นเอง

โดยการควบคุมผ่านการสั่งการไปยังตัวรับชนิดต่างๆในระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายผลิตขึ้นเอง ตามภาพประกอบ

แต่ถ้าเมื่อไรที่ขยะมีเยอะมาก จนแทบจะล้น สารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ก็จัดการไม่ไหวเช่นกัน ประกอบกับถ้าร่างกายผลิตสารต้านอนุมูลอิสระขึ้นมาใช้เองไม่เพียงพอ ขยะนั้นก็จะกลายเป็นพิษต่อร่างกาย

และสามารถทำลายจนถึงระดับยีนหรือดีเอ็นเอได้ สุดท้ายอาจกลายพันธุ์ และเริ่มก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง นั่นเอง

สารต้านอนุมูลอิสระจากภายนอกจึงมีความจำเป็นต้องถูกส่งเข้าไปทำการช่วยเหลือร่างกาย เช่น วิตามิน ผัก ผลไม้ ที่ไม่มียาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง (ประเทศไทย หายากจริงๆในปัจจุบัน) ก่อนที่เซลล์ร่างกายจะถูกจุดชวนของเซลล์มะเร็งให้เกิดขึ้น

นอกจากวิตามิน ผักผลไม้แล้ว สารไฟโตแคนนาบินอยด์ก็อาจมีความสำคัญ เพราะปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า สารไฟโตแคนนาบินอยด์มีคุณสมบัติต้านอนุมุลอิสระที่แรงมากๆ แรงกว่าวิตามินหลายชนิดบางตัว (ครั้งหน้าจะนำข้อมูลส่วนนี้มาแบ่งปันครับ)

และกัญชา กัญชง ก็สามารถเข้าไปทำงานสวมรอยแทนสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ร่างกายผลิตขึ้น และเนียนจับกับตัวรับในแบบที่คล้ายกับสารกัญชาในร่างกาย อารมณ์แบบ ละครไทยที่นางเอกใส่แค่หนวด พระเอกก็จำไม่ได้แล้ว เพราะมันเนียนมาก นั่นเอง 55

ซึ่งประเด็นสารต้านอนุมูลอิสระนี้ เป็นที่ยอมรับ และกำลังพยายามประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในวงการเครื่องสำอาง และดูเหมือน กัญชง จะเนื้อหอม ในประเด็น สารต้านอนุมูลอิสระนี้

ร่างกายในยุคที่มลภาวะรอบด้าน ก่อให้เกิดสารอนุมูลอิสระจนทำให้ร่างกายต้องหลังชนฝา รอความเจ็บป่วยมาเยือนแล้วตายไปอย่างทรมาน ถึงเวลาหรือยัง ที่จะให้กัญชา กัญชง เข้ามามีบทบาทช่วยเหลือ จัดการขยะที่มากเกินไปในร่างกายคนเรา

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

CB2 cannabinoid receptors differentially regulate the production of reactive oxygen species by macrophages.Cardiovasc. Res. 2009, 84, 378–386.

Role of ROS and RNS Sources in Physiological and Pathological Conditions. Oxid. Med. Cell. Longev. 2016, 2016, 1245049.

Endocannabinoid 2-arachidonyl glycerol is a full agonist through human type 2 cannabinoid receptor: Antagonism by anandamide.Mol. Pharmacol. 2000, 57, 1045–1050.

Cannabinoid-2 receptor limits inflammation, oxidative/nitrosative stress, and cell death in nephropathy.Free Radic. Biol. Med. 2010, 48, 457–467.

SHARE NOW

Facebook Comments