มะขาม : เสาหลักครัวไทย

มะขาม : เสาหลักครัวไทย

มะขาม : เสาหลักครัวไทย

#มะขาม : เสาหลักครัวไทย
มะขามเปรียบดังเสาหลักของครัวไทยได้เลยทีเดียว เพราะเพียงย่างเข้าไปในครัวก็จะพบแผ่นไม้สำหรับเตรียมอาหารที่เรียกว่า “เขียง” ถัดมา ก็คือ “มะขามเปียก” ไว้ปรุงอาหารมากมายหลายชนิด เช่น แกงส้ม ต้มยำ น้ำพริก หลนต่างๆ
สรรพคุณทางยานั้น มะขามแทบทุกส่วนใช้เป็นยาได้ทั้งสิ้น ที่นิยมใช้กัน ก็คือ เนื้อมะขามเปียกใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับเสมหะ ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้กระหายน้ำ เนื้อในเมล็ดใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือน เปลือกหุ้มลำต้นแก้ท้องเดิน สมานแผล ใบสดใช้ต้มอาบ โกรกศีรษะ หรืออบไอน้ำแก้หวัด คัดจมูก ขับเสมหะ แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว ฝักมะขามแก่ รสเปรี้ยวจัด แก้ท้องผูก แก้ไอ ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำ ฯลฯ
วิธีใช้
– ลบรอยด่างดำบนใบหน้า ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น กำจัดรอยเหี่ยวย่น ผิวอ่อนเยาว์ขึ้น ใช้มะขามเปรี้ยวเปียก 1 กำมือ นมสด 1 ถ้วย น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ห่อด้วยผ้าขาวบาง ฟอกขัดตัวเมื่ออาบน้ำ จะทำให้ผิวที่คล้ำด้วยแดด หรือลม เป็นผิวที่นวลผ่อง หรือใช้ล้างหน้าทุกวันทำให้หน้าขาวขึ้น
– บำรุงน้ำนมและยาอาบหลังคลอด ใช้กิ่งหรือต้นมะขาม 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 แก้วต้มเดือดนาน 10-15 นาที กินวันละ 4-8 ครั้งๆ ละ 1-2 แก้ว หรือกินได้ทั้งวันต่างน้ำวันละ 6-8 แก้ว กินขณะอุ่นๆ มีรสหวานกินง่าย กินติดต่อกันนาน 1 เดือน และถ้าต้มอาบด้วยจะช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น
– ยาถ่ายพยาธิ ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกออก แล้วเอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานเนื้อทั้งหมด ครั้งละ 20-30 เมล็ด
– ยาระบาย ยาถ่าย ใช้เนื้อที่หุ้มเมล็ด (มะขามเปียก) แกะเมล็ดแล้วขนาด 2 หัวแม่มือ จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ
– แก้ท้องร่วง ใช้เมล็ดคั่วให้เกรียม กะเทาะเปลือกรับประทาน หรือใช้เปลือกต้น ทั้งสดและแห้ง ประมาณ 1-2 กำมือ ต้มกับน้ำปูนใส หรือ น้ำ รับประทาน
– แก้ท้องผูก ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียก 10-20 ฝัก จิ้มเกลือกิน หรือใส่เกลือเติมน้ำคั้นดื่ม
– รักษาแผล เมล็ดกะเทาะเปลือก ต้ม นำมาล้างแผลและสมานแผลได้
– แก้ไอและขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทานพอควร
– ยาลดความดันสูง ใช้ดอกสด ไม่จำกัดจำนวน ใช้แกงส้มหรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน

SHARE NOW

Facebook Comments