รู้ทันโรค | โรคหัวใจและหลอดเลือด

รู้ทันโรค | โรคหัวใจและหลอดเลือด

รู้ทันโรค | โรคหัวใจและหลอดเลือด

รู้ทันโรค | โรคหัวใจและหลอดเลือด❤️

โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary artery disease) เป็นโรคเรื้อรังที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว (atherosclerosis) เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด รวมถึงโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์/อัมพาต (stroke) การที่ผนังหลอดเลือดเกิดการแข็งตัวได้ เป็นเพราะมีการอักเสบของเซลล์บุผนังชั้นในของหลอดเลือด (Endothelial injury) จากการที่หลอดเลือดได้รับความเสียหาย

ปัจจัยเสี่ยงหลัก ที่ทำให้หลอดเลือดได้รับความเสียหาย ที่สามารถควบคุมได้มีอยู่ 4 อย่าง คือ
1. ไขมันสูงในเลือด
2. น้ำตาลในเลือดสูง
3. ความดันโลหิตสูง
4. การสูบบุหรี่
เมื่อเกิดการบาดเจ็บของเซลล์บุผนังชั้นในของหลอดเลือดไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม จะทำให้ไขมันที่ลอยอยู่ในกระแสเลือดผ่านแผลบริเวณเซลล์บุผนังชั้นในของหลอดเลือดที่ถูกทำลายนั้น เข้าไปสะสมอยู่ที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
ไขมันจะทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidised LDL) และเหนี่ยวนำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์ (Monocytes) เปลี่ยนเป็นเซลล์แมคโครเฟจ (Macrophages) ทำลายไขมันทิ้ง โดยการกลืนกิน (Phagocytosis) เข้าไปเกิดเป็นลักษณะคล้ายฟองอากาศเล็กๆ เรียกว่า “Foam cells”
หากมองด้วยตาป่าวจะเห็นเป็นคราบริ้วไขมันที่หลอดเลือด (Fatty streaks) ซึ่งจะสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่านั้นต้องใช้เวลาประมาณ 11 – 12 ปี ภายหลังจากการบาดเจ็บของเซลล์บุผนังชั้นในของหลอดเลือด
นอกจากนี้ การที่หลอดเลือดเกิดการอักเสบ ยังเกิดจากการที่เม็ดเลือดขาวชนิด T-lymphocytes หลั่งสารอักเสบ ร่วมกับ Macrophages ที่กลืนกิน Oxidised LDL มีการปล่อยไปกระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle cells) ในผนังชั้นกลางของหลอดเลือดแดงให้เกิดการแบ่งตัว กลายเป็นพังผืดหุ้ม Foam cells และยังสามารถก่อให้เกิดการสะสมหินปูน (Calcification) ปะปนอยู่กับไขมันและ Foam cells บริเวณผนังชั้นในของหลอดเลือดแดง เมื่อมองด้วยตาเปล่าจะเห็นเป็นแผ่นนูนขึ้นมาเรียกว่า “Atheroma plaques” ดังนั้นหลอดเลือดแดงจึงมีผนังที่หนาและมีความแข็งมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะหากเกิดการสะสมหินปูนร่วมด้วย สำหรับการเกิดเป็น Atheroma จนสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่านั้นต้องใช้เวลาประมาณ 15 – 30 ปีภายหลังจากการเกิด Fatty streaks
🔻ผลที่เกิดมาเมื่อภาวะผนังหลอดเลือดแดงแข็งตัว (atherosclerosis)
1. ทำให้เกิดการสร้างลิ่มเลือดขึ้นภายในหลอดเลือดแดงได้ง่ายมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดง ส่งผลทำให้เนื้อเยื่อที่อยู่ปลายต่อหลอดเลือดแดงนั้นได้รับเลือดที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ และเกิดการตายของเซลล์ในเนื้อเยื่อจากการขาดเลือดตามมา
2. Atherosclerotic plaque สามารถแตกหรือกะเทาะออก และหลุดลอยไปตามกระแสเลือดกลายเป็นลิ่มเลือด ไปอุดกั้นหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ก่อให้เกิดการตายของเซลล์จากการขาดเลือดในเนื้อเยื่อที่อยู่ปลายต่อหลอดเลือดแดงซึ่งถูกอุดกั้น
3. หลอดเลือดแดงสูญเสียความแข็งแรงของผนังของหลอดเลือด จนทาให้เกิดการโป่งพองของหลอดเลือด
🌾น้ำมันรำข้าว
มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ในการลดไขมันในเลือด โดยสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein cholesterol) ไตรกลีเซอไรด์และเพิ่มระดับเอชดีแอล คอเลสเตอรอล(high-density lipoprotein cholesterol) ในเลือดของหนูทดลองได้ ให้ผลสอดคล้องกับการศึกษาในมนุษย์ที่พบว่าน้ำมันรำข้าวสามารถลดภาวะไขมันในเลือดสูงได้
มีการศึกษาวิจัยแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (Randomized Controlled Trial : RCT) ในผู้ป่วยเพศชายที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 40 คน อายุระหว่าง 30-70 ปี อายุเฉลี่ย 56 ปี แบ่งเป็นกลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าว และ กลุ่มที่รับประทานน้ำมันดอกทานตะวัน (ทั้งสองกลุ่มรับประทาน ปริมาณ 30 กรัมต่อวัน หรือคิดเป็นประมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน และมีการควบคุมการรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อโรคเหมือนกัน) เป็นระยะ 8 สัปดาห์ โดยมีการประเมินผลลัพธ์ด้วยค่าที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดแดงแข็งจำนวน 8 ดัชนี (Castelli’s risk index I & II, atherogenic coefficient, lipoprotein combine index, cholesterol index, triglyceride glucose index, atherogenic index of plasma, triglyceride to HDL‐C ratio) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการเกิดความผิดปกติของระบบเมแทบอลิก
ผลการศึกษาพบว่า ที่ 8 สัปดาห์กลุ่มที่รับประทานน้ำมันรำข้าว มีค่าเฉลี่ยของดัชนีทั้ง 8 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานน้ำมันดอกทานตะวัน โดยพบว่าน้ำมันรำข้าวมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการแข็งตัวของหลอดเลือดผ่านหลายกลไกที่น่าสนใจ ได้แก่ ลดระดับไขมันในลือด ลดการอักเสบของเลือด นอกจากนี้ยังมีการศึกษาก่อนหน้าพบว่า หากผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด (Coronary Artery Disease , CAD) รับประทานน้ำมันรำข้าวในขนาด 30 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ จะมีส่วนช่วยทำให้การทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายทำงานดีขึ้น ซึ่งหัวใจห้องล่างซ้ายเป็นส่วนสำคัญที่มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย หากหัวใจห้องดังกล่าวทำงานได้ไม่ดี หรือแย่ลง จะส่งผลทำให้เกิดหัวใจล้มเหลว หรือส่งผลต่อการออกแรงของผู้ป่วยในการใช้ชีวิต ทำให้ออกแรงได้น้อยลง และใช้ชีวิตได้ลำบากขึ้น
🏷️ข้อมูลอ้างอิง
SHARE NOW

Facebook Comments