สรรพคุณของกระถิน
สรรพคุณของกระถิน
ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก)
เมล็ดแก่ กระถินมีฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างและบำรุงกระดูก (ยอดอ่อน,ฝักอ่อน,เมล็ด)
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ยอดอ่อน)
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ยอดอ่อน)
กระถินอุดมไปด้วยวิตามินเอ จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้ (ยอดอ่อน)
ช่วยบำรุงหัวใจ (ฝักอ่อน,ยอดอ่อน)
ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (เมล็ดแก่)[6]ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ฝักอ่อน,ยอดอ่อน)
ช่วยแก้อาอาการร้อนในกระหายน้ำ (ฝักอ่อน,ยอดอ่อน)[6]ช่วยแก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา (ดอก)
ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ฝัก)
เมล็ดกระถิน สรรพคุณใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม (Ascariasis) สำหรับผู้ใหญ่ให้ใช้ครั้งละ 25-50 กรัม ส่วนเด็กให้ใช้ 5-20 กรัม ต่อวัน โดยใช้รับประทานในช่วงตอนท้องว่างในตอนเช้าประมาณ 3-5 วัน (เมล็ด)
สรรพคุณกระถิน ช่วยขับลมในลำไส้ (ราก
เมล็ดแก่ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ราก
เมล็ดแก่ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร (ยอดอ่อน,ฝักอ่อน,เมล็ด)ดอกกระถิน สรรพคุณช่วยบำรุงตับ (ดอกช่วยบำรุงไตและตับ (เมล็ดแก่)
ฝักกระถินเป็นยาฝาดสมาน ใช้ห้ามเลือด (ฝัก,เปลือก)
ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก[4],[5], เมล็ดแก่[6])
กระถินมีฟอสฟอรัสสูง จึงช่วยเสริมสร้างและบำรุงกระดูก (ยอดอ่อน, ฝักอ่อน, เมล็ด)[3]
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ยอดอ่อน)[5]
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ยอดอ่อน)[5]
กระถินอุดมไปด้วยวิตามินเอ จึงช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้ (ยอดอ่อน)[5]
ช่วยบำรุงหัวใจ (ฝักอ่อน, ยอดอ่อน)[6]
ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (เมล็ดแก่)[6]
ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ฝักอ่อน, ยอดอ่อน)[6]
ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ฝักอ่อน, ยอดอ่อน)[6]
ช่วยแก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา (ดอก)[4]
ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ฝัก)[5],[6]
เมล็ดกระถินใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม (Ascariasis) สำหรับผู้ใหญ่ให้ใช้ครั้งละ 25-50 กรัม ส่วนเด็กให้ใช้ 5-20 กรัมต่อวัน โดยใช้รับประทานขณะท้องว่างในตอนเช้าประมาณ 3-5 วัน (เมล็ด)[4],[5],[6]
ช่วยขับลมในลำไส้ (ราก[2],[4],[5], เมล็ดแก่[6])
ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ราก[2],[4],[5], เมล็ดแก่[6])
ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร (ยอดอ่อน, ฝักอ่อน, เมล็ด)[3]
ดอกกระถินช่วยบำรุงตับ (ดอก)[2],[4],[6] ช่วยบำรุงไตและตับ (เมล็ดแก่)[6]
ฝักกระถินเป็นยาฝาดสมาน ใช้ห้ามเลือด (ฝัก, เปลือก)[5],[6]
หมายเหตุ : ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกมีรสมัน เมล็ดอ่อนมีรสมันอมหวานเล็กน้อย รากมีรสจืดเฝื่อน ส่วนเปลือกมีรสฝาด[6]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระถิน
ผลเมล็ดมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยลดไขมันในเลือดของหนูขาว แต่เมล็ดมีสารลิวซีนีน (Leucenine) ซึ่งจะทำให้สัตว์เป็นหมันได้[4]
สารสกัดจากใบกระถินเมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดของสุนัขจะทำให้มีระดับความดันโลหิตลดลง มีอัตราการเต้นของหัวใจช้าลง ช่วยกระตุ้นการหายใจ มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต แต่ฤทธิ์ดังกล่าวนี้สามารถต้านได้ด้วย Atropine และยาต้านฮิสตามีน และเมื่อนำน้ำยาสกัดกระถินมาใช้กับหัวใจของกบและเต่าที่แยกออกมา พบว่ามีอัตราการบีบของหัวใจลดลง และในระบบทางเดินอาหารทั้งการทดลองแบบ in vitro ก็พบว่าน้ำสกัดนี้ทำให้เกิดแรงตึงตัวและเกิดแรงบีบตัวเพิ่มขึ้น เมื่อทดลองใน in vivo จะพบว่าการบีบตัวของกระเพาะลำไส้ตามปกติลดลง[4]
ประโยชน์ของกระถิน
ยอดอ่อนกระถิน ฝักอ่อน และเมล็ดใช้รับประทานเป็นผักได้[1],[2],[3] โดยยอดใบจะใช้รับประทานร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ หรือยำหอยนางรม[5] ส่วนเมล็ดอ่อนชาวอีสานใช้ผสมในส้มตำมะละกอหรือรับประทานกับส้มตำ ส่วนชาวใต้ใช้เมล็ดอ่อนและใบอ่อนรับประทานร่วมกับหอยนางรม[6]
ใบ ยอด ฝัก และเมล็ดอ่อนสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ แพะ แกะ ฯลฯ[1],[2],[3],[4]
ใบกระถินอุดมไปด้วยธาตุไนโตรเจนและเกลือโพแทสเซียม สามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักได้[1],[3],[4]
เมล็ดสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้หลายชนิด เช่น เข็มกลัด สายสร้อย เข็มขัด ฯลฯ[1],[2],[4]
ลำต้นหรือเนื้อไม้กระถินสามารถนำมาใช้ทำด้ามอุปกรณ์เครื่องมือทางการเกษตร ทำฟืน เผาทำถ่าน และได้น้ำส้มควันไม้[1],[3],[5]
เปลือกต้นกระถินให้เส้นใยที่สามารถนำไปใช้ทำเป็นกระดาษได้ แต่มีคุณภาพไม่ดีนัก[1],[2],[4]
เปลือกต้นกระถินสามารถนำมาใช้ย้อมสีเส้นไหมได้ โดยเปลือกต้นแห้ง 3 กิโลกรัมจะสามารถย้อมเส้นไหมได้ 1 กิโลกรัม โดยจะให้สีน้ำตาล[8]
สายพันธุ์กระถินที่ทำการปรับใหม่จะมีขนาดลำต้นสูงกว่าสายพันธุ์เดิม หรือที่เรียกว่า “กระถินยักษ์” ใช้ปลูกเพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน แนวกันลม และช่วงบังแสงแดดให้แก่พืชที่ปลูกได้ เหมาะในพื้นที่ที่มีการดูแลรักษาต่ำ และต้นกระถินยังมีความแข็งแรง เจริญเติบโตได้เร็ว[1],[2],[4]
ตามคติความเชื่อในตำราพรหมชาติฉบับหลวงกล่าวว่า กระถินเป็นไม้มงคลที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำมาปลูกร่วมกับต้นสารภี มีความเชื่อว่าจะช่วยป้องกันเสนียดจัญไรต่าง ๆ ได้[4]
คุณค่าทางโภชนาการของยอดอ่อนกระถิน ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 62 กิโลแคลอรี
กระถินไทยคาร์โบไฮเดรต 5 กรัม
โปรตีน 8.4 กรัม
ไขมัน 0.9 กรัม
เส้นใยอาหาร 3.8 กรัม
น้ำ 80.7 กรัม
วิตามินเอ 7,883 หน่วยสากล
วิตามินบี 1 0.33 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.09 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 1.7 มิลลิกรัม
วิตามินซี 8 มิลลิกรัม
ธาตุแคลเซียม 137 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 9.2 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม
แหล่งที่มา : สถาบันการแพทย์แผนไทย[4]
การเลือกซื้อและการเก็บรักษากระถิน
ควรเลือกซื้อยอดกระถินหรือฝักอ่อนที่มีความสดใหม่และไม่เหี่ยว ส่วนวิธีการเก็บรักษานั้นให้นำกระถินที่ได้มาห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ให้ดี แล้วนำมาใส่กล่องพลาสติกและปิดฝาให้สนิท เก็บเข้าแช่ตู้เย็นในช่องผัก จะสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น[7]
โทษของกระถิน
เนื่องจากใบของกระถินมีสารที่เป็นพิษคือสารลิวซีนีน (Leucenine) หากสัตว์กระเพาะเดียวกินใบกระถินในปริมาณสูงอาจทำให้ขนร่วงและเป็นหมันได้ แต่ยังไม่มีรายงานความเป็นพิษเนื่องจากการกินกระถินในคน และยังมีรายงานว่ากระถินเป็นพืชที่มีคุณสมบัติช่วยดูดธาตุซีลีเนียมจากดินมาสะสมไว้ได้มาก จึงอาจทำให้เกิดพิษเนื่องจากธาตุนี้ได้[1]
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กระถินไทย”.