สรรพคุณของใบชะพลู
ชะพลู มหัศจรรย์ รูปหัวใจ ของใบชะพลู
สรรพคุณของใบชะพลู
ชะพลูเป็นสมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณทางยามีฤทธิ์ แก้ลม จุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับภายลม บำรุงธาตุ เป็นยาประจำธาตุน้ำ แก้ท้อง อืดเฟ้อ แก้อุระเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง แก้ดีซ่าน บำรุงน้ำดี ต้าน เกาะกรุมของเกล็ดเลือด ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดระดับน้ำตาลในเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง แก้ขัดเบา เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับเสมหะ โรคเส้นเลือดในร่างกายแข็ง
– ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
– ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
– ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
– ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสาร เบต้า-แคโรทีน สูงมาก
รากนั้นใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ใบมีคุณสมบัติเจริญอาหารและขับเสมหะ เถาและรากก็ใบขับเสมหะเหมือนกัน รับประทานใบชะพลูบ้างเพื่อปรับธาตุปรับสมดุลในร่างกาย แต่อย่ามากเกินเพราะอาจเป็นพิษกับตัวคนกินได้ ดังนั้นรู้จักความพอดีได้ในใบชะพลู
วิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทย
-แก้เบาหวาน เอาต้นชะพลู ทั้ง 5 (เอาทั้งต้นตลอกถึงราก) มา 1 กำมือ พับเป็น 3 ทบใช้ ตอกไม้ไผ่มัดเป็น 3 เปราะ ใส่หม้อดินต้มกับน้ำ 3 ขัน เคี่ยวเหลือ 1 ขัน รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ได้ผลชะงัดหรือจะเอาใบชะพลูทั้งต้นและใบ 9 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่ในภาชนะพร้อมด้วยน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ต้มเคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว รับประทานให้หมดก่อนอาหารเย็น โดยรับประทาน 15 วันต่อครั้ง เมื่อรับประทานไปได้ 2 ครั้ง ภายใน 30 วันแล้ว
ลองไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์กรวดน้ำปัสสาวะ หากปกติให้หยุด ถ้ายังมีน้ำตาลในปัสสาวะให้ต้มรับประทานต่อ
-ยาแก้โรคถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ เอาเปลือกหอยแครง 7 ฝา (เผาไฟให้เป็นขี้เถ้า) กับต้นชะพลูทั้ง 5 นำมาย่างไฟให้กรอบ ตำผสม กันให้ละเอียด ใช้ชงกับน้ำร้อน รับประทานต่างน้ำชามีสรรพคุณแก้โรคถ่ายปัสสาวะบ่อยๆได้ผลชะงัด
-แก้ขัดเบา เอาต้นแจงทั้ง 5 หนัก 3 ตำลึง ชะพลู หนัก 3 ตำลึง แก่น ไม้สัก 3 ตำลึง ตัวยาทั้ง3 นี้ ใส่หม้อดิน กับน้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยว ให้เหลือ 1 ส่วน ใช้น้ำยารับประทาน เช้า-เย็น แก้ขัดเบาได้ผลชะงัก 4. เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับเสมหะ นำใบชะพลูมาจิ้มน้ำพริก หรือกะปิหลน น้ำพริกปลาป่น หรือจะนำใบชะพลูมาทำเมี่ยงคำ ทานวันละ อย่างน้อย ๗ ใบ ทุกวัน จะทำให้ธาตุปกติ เจริญอาหาร ขับเสมหะได้ดี
-ชะพลู” ทั้งต้นรวมราก จำนวน 3 ต้น ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ตักดื่มครั้งละครึ่งแก้ว เช้าเย็น ดื่มจนตัวยาจืดแล้วเปลี่ยนยาใหม่ ดื่มให้ครบ 15 วัน จึงหยุด แก้โรคเส้นเลือดในร่างกายแข็ง เมื่อเป็นแล้วทำให้เลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงหัวใจและสมองมีปัญหา ก่อให้ เกิดอาการเส้นโลหิตแตกหรือหัก เสียชีวิตได้
– แก้อาการบิด ด้วยการใช้รากประมาณครึ่งกำมือ ใช้ผลประมาณ 3 หยิบมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก)
-ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก,ทั้งต้น)
– ช่วย ขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ดอก,ราก)
– รากชะพลูเป็นหนึ่งในส่วนผสม ของตำรับสมุนไพรพิกัดยาตรีสาร ซึ่งช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้คูถเสมหะ
แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
-เมนูใบชะพลู ก็ได้แก่ แกงคั่วไก่ใบชะพลู แกงคั่วหอยขมใบชะพลู หมูห่อใบชะพลู ไข่น้ำใบชะพลู ยำตะไคร้ใบชะพลู เมี่ยงปลาเผาใบชะพลู ผัดป่าใบชะพลู แกงอ่อมใบชะพลู ยำปลาทูใบชะพลู เป็นต้น
ข้อควรระวัง
ใบชะพลูมีสารอาหารที่สำคัญ คือ แคลเซียมและวิตามินเอซึ่งจะมีสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ส่วนสรรพคุณทางยานั้นช่วยบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด การกินใบชะพลูมาก ๆ ชนิดที่เรียกว่า กินกันทุกวัน กินกันแทบทุกมื้อ เช่น ชาวบ้านภาคอีสานนั้น แคลเซียมที่มีในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้าสะสมมาก ๆ อาจกลายเป็นนิ่วในไตได้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวันก็ไม่มีใครกินชะพลูได้มากมายขนาดนั้น ถ้ากินใบชะพลูต้องกินร่วมกับเนื้อสัตว์ร่างกายจึงใช้แคลเซียมที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การใช้รักษาโรคเบาหวานจะต้องคอยตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนและหลังดื่มน้ำทุกครั้ง เพราะยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก และในการต้มจะต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวัน
ต้นไม้ไม่ได้มีเพียงแค่ความสวยงาม แต่ช่วยให้ สรรพคุณเป็นยา ที่หาง่ายใกล้ตัว
ปลูกง่ายขึ้นง่าย ประโยชน์คุ้มค่า สมุนไพรในสวน
ที่มา ข้อมูล เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น
: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี,
TEAY