อาหารที่ให้ และ ห้ามในโรคไต
อาหารที่ให้ และ ห้ามในโรคไต
ห้ามอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง
ตัวอย่างอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง
* ผักที่มีโพแทสเซียมสูง โรคไต ควรงด ได้แก่ หัวปลี ผักชี ต้นกระเทียม
ที่มีมากได้แก่ บร๊อคโคลี่ แครอท มันเทศ ผักบุ้ง เห็ดฟาง มะเขือพวง มะเขือเปราะ ใบแมงลัก โหระพา หน่อไม้ฝรั่ง หอมแดง ผักปวบเล้ง มันฝรั่ง มะเขือเทศ ดอกกระหล่ำ
ถั่วต่างๆ เม็ดทานตะวัน กาแฟ น้ำนม ผักที่มีโพแทสเซียม ปานกลางได้แก่ เห็ดนางฟ้า แตงกวา ฟักเขียว พริกฝรั่ง หัวผักกาดขาว มะเขือเทศสีดา ผักกาดขาวใบเขียว พริกหยวก
ผักที่มีโพแทสเซียมน้อยได้แก่ บวบเหลี่ยม ถัวพู หอมหัวใหญ่ ผักที่มีน้อยที่สุดคือเห็ดหูหนู
* ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง โรคไต ควรงด ได้แก่
มากที่สุดคือทุเรียนหมอนทอง และชะนี รองลงมาได้แก่มะพร้าว กล้วย ลำไยพันธ์ต่างๆ
มีปานกลางได้แก ฝรั่ง มะขาม กระท้อน ส้ม ลางสาด องุ่น มะม่วง มะละกอสุก ลิ้นจี่ ละมุด ขนุน ลูกพรุน ลูกเก็ด
ผักและผลไม้ที่ผู้ป่วย โรคไต ทานได้ เช่น
ผักและผลไม้ที่พอรับประทานได้ แต่ปริมาณไม่มากได้แก่ ถั่วพู ถั่วผักยาว มะเขือยาว หน่อไม้ตรง ผักคะน้า ถั่วลันเตา มะระ หัวผักกาดขาว มะม่วง มะละกอ องุ่น แตงโม สับปะรด แอปเปิล ชมพู่ เป็นต้น
ผักที่รับประทานได้ กะหล่ำปลี แตงกวา บวบ ฟักเขียว ถั่วงอก เป็นต้น
อาหารที่ โรคไต ควรหลีกเลี่ยง
หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เช่น หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก ผักดอง มัสตาร์ด และเนยแข็ง
อาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง
เนื้อสัตว์ปรุงรส ได้แก่ หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง
อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง
อาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส มันฝรั่ง
เครื่องปรุงรสที่มีเกลือมาก เช่น ซุปก้อน ผงชูรส ผงฟู
อาหารหมักดองเค็ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอีสาน
โภชนาการบำบัดกับโรคไต ผักและผลไม้ที่ผู้ป่วย โรคไต รับประทานได้ ทานแล้วมีประโยชน์อย่างไร เรามาลองดูกันนะค่ะ
สับปะรด ปกป้องไต รับประทานสับปะรดวันละ 5 – 6 ชิ้น หรือ น้ำสับปะรด วันละ 1 แก้ว จะลดความเสื่ยงต่อการเกิด โรคไต
ลูกเดือย น้ำลูกเดือยที่ผู้ป่วยโรคไตต้องดื่ม ดื่มน้ำลูกเดือยวันละ 2 กล่อง หรือต้มดื่มเองวันละ 2 แก้ว ลูกเดือยจะช่วยบำรุงไตให้มีอาการดีขึ้น
แอปเปิลเขียว รักษาไต รับประทานแอปเปิลเขียววันละ 1 ผล หรือดื่มน้ำแอปเปิ้ลวันละ 1 แก้ว ช่วยรักษาโรคไต
ฟักทอง ชะลอไตเสื่อม นำฟักทองมาทำอาหารผัก ต้ม หรือทำน้ำฟักทองดื่มทุกวัน ช่วยเสริมสมรรถภาพการทำงานของไต
แตงโม รับประทานแตงโมวันละ 8 – 9 ชิ้น แตงโมมีโพแทสเซียมต่ำ ผู้ป่วยโรคไตทานได้
หอมหัวใหญ่ รับประทานหอมหัวใหญ่วันละ 1 มื้อ หอมหัวใหญ่มีโพแทสเซียมต่ำ ผู้ป่วยโรคไตทานได้
แตงกวา ผักที่ไม่ส่งผลกระทบต่อโรคไต ใช้ประกอบอาหารได้
กะหล่ำปลี อุดมไปด้วยแร่ธาตุ แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อโรคไต ใช้ประกอบอาหารได้