Author Archive: admin

สมุนไพรน่ารู้ | “กระชาย” บำรุงกำลัง ต้านไวรัส รักษาโรคในช่องปาก

 

สมุนไพรน่ารู้ | “กระชาย” บำรุงกำลัง ต้านไวรัส รักษาโรคในช่องปาก

สมุนไพรน่ารู้ | “กระชาย” บำรุงกำลัง ต้านไวรัส รักษาโรคในช่องปาก

สมุนไพรน่ารู้ | “กระชาย” บำรุงกำลัง ต้านไวรัส รักษาโรคในช่องปาก

… “กระชาย” เป็นสมุนไพรรสเผ็ดร้อน ขม ที่คนไทยในอดีตรู้ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ที่ช่วยชะลอความเสื่อมของอวัยวะ เช่น สมอง ตับ ไต หลอดเลือด และหัวใจ เนื่องจากกระชาย มีสารที่ช่วยลดการอักเสบ และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งการแพทย์แผนปัจจุบันพบว่า อนุมูลอิสระและการอักเสบแบบเรื้อรังเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด เช่น โรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคระบบประสาท โรคเบาหวาน โรคข้อเข่าเสื่อม โรคมะเร็ง และการกำจัดสารพิษของตับ
นอกจากนี้ ยังมีรายงานวิจัยเกี่ยวกับกระชายช่วยต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลอง และมีรายงานการวิจัยจากสหรัฐอเมริกา พบว่า สารพิโนสโตรบินจากกระชาย มีฤทธิ์เพิ่มประสิทธิภาพของเอนไซม์ที่ใช้กำจัดสารพิษในตับ กระชายจึงเป็นยาอายุวัฒนะของไทยที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน หาได้ง่าย กินง่าย ทำเองได้ ในครัวเรือน ทั้งยังช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง รักษาแผลฝี แก้ปวดเมื่อย แก้โรคในปาก ทั้งยังเป็นยาบำรุงเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง ทำให้แข็งแรง กระชุ่มกระชวย อารมณ์ดี แก้อ่อนเพลีย คงด้วยสรรพคุณทางยาอันมากมายเหล่านี้นี่เอง คนโบราณจึงมีกุศโลบายให้คนปลูกกระชายไว้กันผีและสิ่งชั่วร้าย
… “กระชาย” ถูกนำมาใช้เพื่อการฆ่าเชื้อโรค เช่น บิด ท้องเสีย ฝี แผล กลาก และโรคที่เกิดในช่องปาก เช่น เหงือกบวม เหงือกอักเสบ ฟันผุ เจ็บคอ แผลในปาก ปากเหม็น ไซนัสอักเสบหรือจมูกเน่า
ปัจจุบัน มีการศึกษาวิจัยพบว่า กระชาย เป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อต่างๆ ได้ดีมาก ทั้งเชื้อบิด แบคทีเรีย รา และไวรัส เช่น มีฤทธิ์ต้าน Helico-bacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ภาวะกรดเกินในกระเพาะอาหาร ภาวะปวดไม่สบายท้อง กระเพาะอาหาร มีฤทธิ์ต้านเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในทางเดินอาหารและทางเดินปัสสาวะได้ ต้านเชื้อบิด ยับยั้งการทำงานของเชื้อเอดส์ผ่านการยับยั้ง HIV-1 protease ต้านไวรัสไข้เลือดออกในกลุ่ม Flaviviridae family ได้ และยับยั้งเชื้อไวรัส Picornavirus ซึ่งก่อโรคมือเท้าปากได้
การศึกษาวิจัยสมัยใหม่ยังยืนยันสรรพคุณในการช่วยรักษาฟันและดูแลช่องปากของกระชายได้เป็นอย่างดี จากการที่สารสกัดกระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดคราบจุลินทรีย์ หรือ BiofIm จากเชื้อ 4 ชนิดได้ คือ Streptococcus mutans, Streptococcus sanguinis, Streptococcus pyogenes และ
Actinomyces viscosus ได้
สารในกระชายชื่อ Panduratin A นั้น เทียบ
เท่ากับฤทธิ์ของ Chlorhexidine gluconate ซึ่งเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อแผนปัจจุบันที่ใช้ในช่องปาก และมีฤทธิ์ลดการเกิดโรคปริทันต์ ลดการเกิดเหงือกบวม มีฤทธิ์ป้องกันฟันผุ ลดกลิ่นปาก
… “กระชาย” ช่วยย่อย และช่วยการดูดซึมของอาหาร การศึกษาวิจัยพบว่า สารสกัดจากกระชายกระตุ้นการใช้พลังงานและสลายไขมัน ทำให้น้ำหนักลดลง
… “กระชาย” ได้ชื่อว่าเป็นโสมของคนไทย “Thai ginseng” พื้นบ้าน ใช้แก้ไอแห้งและแก้หวัด การจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่า สารสำคัญที่พบสามารถแย่งจับกับตำแหน่ง main protease (Mpro) ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด 19
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คัดเลือกสารสกัดสมุนไพรเฉพาะที่คนไทยนิยมรับประทานประมาณ 121 สารสกัด ทดสอบฤทธิ์ต้านไวรัส SARS-COV-2 พบว่า กระชายขาวให้ผลยับยั้งเชื้อดีที่สุดในบรรดาสารที่ทดสอบ
🔻ตัวอย่างตำรับยาพื้นบ้าน
▪️ตำรับยารักษาอาการจมูกไม่ได้กลิ่น : นำรากกระชายมาตุ๋นผสมกับเนื้อกิน หรือกินเป็นผักปริมาณมากๆ
▪️ตำรับแก้ไซนัสอักเสบ : นำรากกระชายมาประกอบอาหารกินปริมาณมากๆ
▪️ตำรับยารักษาไข้ออกตุ่มออกเปื่อย : กระชายทั้งห้า ประมาณ 1 กำมือ น้ำประมาณ 1 ลิตรครึ่ง ต้มดื่มแทนน้ำ
▪️ตำรับยาแก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก
ตำรับ 1 : เอาหัวกระชายแก่ๆ บดเป็นผง เก็บใส่ขวดไว้ใช้กินกับน้ำร้อน แก้โรคลมตีขึ้น มีอาการวิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม
ตำรับ 2 : รากกระชายฝนกับน้ำซาวข้าว ประมาณ 1/2 ถ้วยชา กินแก้อาการแน่นหน้าอกได้ผลดี
▪️ตำรับยารักษาโรคในปาก แก้ปากเปื่อย ปากเหม็น เป็นรำมะนาด : กระชาย 1 กำมือ มาโขลกให้ละเอียด ต้มกับน้ำ 1 ลิตร กรองได้น้ำมาใส่เกลือ 1 หยิบมือ ต้มจนเกลือละลาย นำมาอมหลังแปรงฟันไว้สักครู่ ค่อยบ้วนทิ้งหรือจะกลืนลงท้องก็ไม่มีอันตราย
#สมุนไพรน่ารู้ #กระชาย #กระชายขาว #อภัยภูเบศร #สมุนไพรอภัยภูเบศร

(more…)

“หนุมานประสานกาย” สมุนไพรขยายหลอดลม แก้หอบหืด

“หนุมานประสานกาย” สมุนไพรขยายหลอดลม แก้หอบหืด

“หนุมานประสานกาย” สมุนไพรขยายหลอดลม แก้หอบหืด

สมุนไพรน่ารู้ | “หนุมานประสานกาย” สมุนไพรขยายหลอดลม แก้หอบหืด

“หนุมานประสานกาย” หรือชื่ออื่นๆ เช่น สังกรณี ว่านอ้อยช้าง (เลย) ชิดฮะลั้ง กุชิดฮะลั้ง (จีน) สรรพคุณทางยาไทย ใบรสหอมเผ็ดปร่า ขมฝาดเล็กน้อย แก้เจ็บคอ คออักเสบ แก้ปอดและหลอดลมอักเสบ แก้ช้ำใน แก้อาเจียนเป็นเลือด กระจายเลือดลมที่จับกันเป็นก้อนหรือคั่งภายใน ทำให้เลือดลมเดินสะดวก ใช้ภายนอกตำพอกแผลสด ห้ามเลือด สมานแผลแก้อักเสบบวม และได้มีงานวิจัย พบว่า สารสกัดจากใบมีสารซาโปนินซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม

(more…)