สมุนไพรรักษาโรค

รวมรวมข้อมูล ต่างๆ เกี่ยวกับสมุนไพร ที่พบที่แชร์กันอยู่ในโลกออนไลน์ ที่เห็นว่าดีมีประโยชน์ มาเล่าสู่กันฟัง

หอมใหญ่

หอมใหญ่

หอมใหญ่

หอมใหญ่
คนไทยมีการใช้หอมในการรักษาหวัดมานานแล้ว ทั้งหอมใหญ่และหอมแดง และพบว่าทั้งหอมใหญ่ และหอมเล็กมีสารเคอร์ซิติน (Quercetin) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกัน ฤทธิ์ต้านฮิสตามีน(ต้านการแพ้) ช่วยขยายหลอดลม พื้นบ้านใช้แก้หวัด แก้ไอ
สารเควอซิติน เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ในการต้านสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ที่สูง จึงนิยมนำ สาร Quercetin มาใช้เป็นยาเพื่อป้องกันโรคทางระบบหลอดเลือด และหัวใจ รวมถึงใช้ในการป้องกันการอักเสบ และอาการแพ้ต่างๆ
เมนูแนะนำ ต้านหวัด
– ยำ หรือสลัด ใส่หอม หอมแดง
– ซุปไก่ใส่หัวหอม

แจกสูตรกระเทียมดอง

แจกสูตรกระเทียมดอง

แจกสูตรกระเทียมดอง

แจกสูตรกระเทียมดอง [สูตรโอท็อป]
ทำไว้กินเองได้ หรือลองไปประยุกต์ทำขายก็ได้เช่นกันนะคะ
เรื่องน่ารู้ของกระเทียม
การใช้ประโยชน์ทางยาจากกระเทียมนั้น ต้องบดกระเทียมให้ละเอียดเพื่อให้สาร alliin(อัลลิอิน) ในกระเทียมเปลี่ยนเป็นสารออกฤทธิ์ allicin (อัลลิซิน) อย่างเต็มที่
กระเทียมบดแล้วต้องกินทันทีไม่ทิ้งไว้นาน เพื่อโอสถสารจะได้ไม่สลายตัว
บางท่านอาจจะแพ้กระเทียม มีทั้งอาการแพ้ทางผิวหนัง หอบหืด ผู้แพ้ละอองเกสรดอกไม้มีโอกาสแพ้กระเทียมมากกว่าคนปกติ
หากกินยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดอยู่ ให้ระวังการรับประทานกระเทียม เพราะจะไปเสริมฤทธิ์ยาดังกล่าว
ท่านที่รับประทานกระเทียมเป็นประจำ หากจะต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเลือดไม่แข็งตัวหลังการผ่าตัด
ผู้ที่มีธาตุร้อนเป็นเจ้าเรือน คือ มีอาการหน้าแดง คอแห้ง ท้องผูก ร้อนใน กระหายน้ำ กระเพาะอาหารเป็นแผลหรืออักเสบเรื้อรัง มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ไม่ควรกินหรือกินได้เล็กน้อย
ดับกลิ่นกระเทียมดิบในปาก ให้เคี้ยวใบชา หรือใช้น้ำชาแก่ๆ บ้วนปาก หรือเคี้ยวพุทราจีน 2-3 เม็ดหรือยี่หร่า 3-4 เม็ด หรือถั่วเขียว 4-5 เมล็ด
กระเทียมดองทำให้กินกระเทียมได้ง่ายขึ้น แม้ไม่มีสารออกฤทธิ์ allicin แต่มีสาร S-allycysteine ที่ออกฤทธิ์ได้เช่นกัน
กระเทียมควรรับประทานพร้อมกับโปรตีน เพื่อไม่ให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร และไม่ควรรับประทานกระเทียมตอนท้องว่าง

ขิง ต้านหวัด

ขิง ต้านหวัด

ขิง ต้านหวัด

ขิง ต้านหวัด​
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber officinale Rosc.
​“ขิง” เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายมานาน เห็นได้จาก ประเทศจีน ซึ่งเป็นชนชาติที่เก่าแก่ ก็ได้มีการใช้ประโยชน์จากขิง
แพทย์จีนโบราณจัดขิงเป็นพืชรสเผ็ดอุ่น มีฤทธิ์แก้หวัดเย็น ขับเหงื่อ บำรุงกระเพาะ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ลดคลอเลสเตอรอลที่สะสมในตับและเส้นเลือด
ในตำรับเภสัชของสาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1985 จึงบรรจุขิง ทั้ง “ขิงสด” “ขิงแห้ง” และ “ทิงเจอร์ขิง” เป็นยาสมุนไพรแห่งชาติตัวหนึ่ง
แพทย์จีนโบราณจะใช้ประโยชน์จากขิงสดและขิงแห้งในแง่มุมที่ต่างกัน
.
โดยจะใช้ขิงแห้งในภาวะที่ขาดหยาง (ภาวะขาดหยาง คือ ภาวะที่ร่างกายมีอาการเย็น หนาวง่าย ทนต่อความเย็นได้น้อย การย่อยอาหารไม่ดี เป็นต้น)
.
จะใช้ขิงสดเมื่อต้องการกำจัดพิษที่เกิดจากการติดเชื้อภายในร่างกาย โดยการขับพิษออกมาทางเหงื่อ
ขิงสด ช่วยทำให้ร่างกายปรับสภาพในภาวะที่ร่างกายมีอาการเย็นได้เช่นเดียวกับขิงแห้ง ช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน
นอกจากนี้ ยังช่วยกำจัดพิษโดยการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยขับเสมหะ (สุภาภรณ์ ปิติพร. 2545)
สิ่งที่คนทุกมุมโลกใช้เหมือนกัน ก็คือ การใช้ในการแก้หวัด และแก้ไอ ซึ่งได้มีการศึกษาพบว่า “ขิง”
มีสารหลายชนิดที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และมีการทดลองพบว่า
น้ำขิงที่ได้จากการต้ม 30 นาที ช่วยกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโครฟาจ (Macrophage) ที่มีหน้าที่ในการจับกินเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น
ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงคุณค่าภูมิปัญญาอันเก่าแก่ในการใช้ประโยชน์จากขิง (Imanishi N et al, 2006)
มีการศึกษาประสิทธิผลของขิงต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยมีการศึกษาในสัตว์ทดลอง ทำการป้อนน้ำมันหอมระเหยขิง ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าน้ำมันหอมระเหยจากขิงมีผลต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันผ่านเซลล์ T lymphocyte ซึ่งอาจมีประโยชน์ในทางคลินิก เช่น การอักเสบเรื้อรังและโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Zhou HL, et al. 2006)
มีการทดลองโดยใช้ขิงแห้งและขิงสดมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำขิงร้อน เพื่อทดสอบกับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากไวรัสอาร์เอสวี (Human Respiratory Syncytial Virus) ผลลัพธ์พบว่าน้ำขิงที่ได้จากขิงสดมีประสิทธิผลต่อต้านการสะสมของเชื้อไวรัสบริเวณเยื่อบุผิวทางเดินหายใจด้วยการป้องกันการยึดเกาะ หรือป้องกันการแพร่ของไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้ (Chang JS, et al. 2013)
. ขิง จึงเป็นสมุนไพรแนะนำสำหรับการใช้เป็นเครื่องดื่มในช่วงหวัดโควิดระบาดนี้ เพราะขิงเป็นสมุนไพรที่หาง่าย มีความปลอดภัยสูง ใช้กันมานาน คนทั่วไปคุ้นเคย กินง่าย ทำได้เอง
ปัจจุบันขิงบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ และองค์การอนามัยโลกรับรองในการรักษาหวัด
ข้อจำกัดในการกินขิงปริมาณสูง
– ในหญิงตั้งครรภ์
– ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี
– ในผู้ป่วยที่ใช้ยาละลายลิ่มเลือดวาฟาริน
ในกรณีที่เป็นหวัด น้ำขิงที่ต้มเองจะดีที่สุด
Reference
สุภาภรณ์ ปิติพร. ขิง : ยาดีที่โลกรู้จัก. นิตยสารหมอชาวบ้าน 2545. เดือน พฤศจิกายน เล่มที่ 283.
Chang JS, et al. Fresh ginger (Zingiber officinale) has anti-viral activity against human respiratory syncytial virus in human respiratory tract cell lines. J Ethnopharmacol 2013;145(1):146-51.
Imanishi N, et al. Macrophage-mediated inhibitory effect of Zingiber officinale Rosc, a traditional oriental herbal medicine, on the growth of influenza A/Aichi/2/68 virus. Am J Chin Med 2006;34(1):157-69.
Zhou HL, et al. The modulatory effects of the volatile oil of ginger on the cellular immune response in vitro and in vivo in mice. J Ethnopharmacol 2006;105(1-2):301-

จันทน์ลีลา ตำรับยาแก้ไข้

จันทน์ลีลา ตำรับยาแก้ไข้

จันทน์ลีลา ตำรับยาแก้ไข้

จันทน์ลีลา ตำรับยาแก้ไข้ ปวดหัว ตัวร้อน วิจัยพบสรรพคุณไม่แพ้ยาพาราเซตามอล
…ตำรับยาจันทน์ลีลา เป็นตำรับยาแก้ไข้ ประกอบด้วยสมุนไพรหลัก 8 ชนิด ได้แก่ โกฐสอ โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา จันทน์ขาวหรือจันทน์ชะมด จันทน์แดง กระดอม บอระเพ็ด และปลาไหลเผือก
…ยาจันทน์ลีลาเป็นยาแผนโบราณที่เป็นยาสามัญประจำบ้านและจัดอยู่ในกลุ่มยาแก้ไข้ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิมในบัญชียาหลักแห่งชาติ (1) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สูตรตำรับ ในผงยา 99 กรัม ประกอบด้วย โกฐสอ โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา แก่นจันทน์ขาวหรือ จันทน์ชะมด แก่นจันทน์แดง ลูกกระดอม เถาบอระเพ็ด รากปลาไหลเผือก หนักสิ่งละ 12 กรัม พิมเสน หนัก 3 กรัม
ข้อบ่งใช้ บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู
ขนาดและวิธีใช้ :
ชนิดผง
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 ก. ละลายน้ำสุก ทุก 3- 4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 500 มก.-1 ก. ละลายน้ำสุก ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
ชนิดแคปซูลและชนิดเม็ด
ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 ก. ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
เด็ก อายุ 6 – 12 ปี รับประทานครั้งละ 500 มก.-1 ก. ทุก 3-4 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ
ข้อควรระวัง
– ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก
– หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
ข้อมูลเพิ่มเติม
แนะนำให้ใช้ยาจันทน์ลีลาได้ในหญิงที่มีไข้ทับระดูหรือไข้ระหว่างมีประจำเดือน
สำหรับรายงานวิจัยที่สนับสนุนสรรพคุณของตำรับยาจันทน์ลีลา มีดังนี้
ฤทธิ์แก้ไข้
เมื่อป้อนกระต่ายที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดไข้ด้วยไลโปโพลีแซคคาไรด์ด้วยผงยาตำรับจันทน์ลีลา ขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก. หรือยาพาราเซตามอล ขนาด 200 มก./กก. พบว่ายาจันทน์ลีลาขนาด 400 มก./กก. สามารถลดไข้ได้ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 1 หลังจากได้รับยา และยังแสดงผลลดไข้ต่อเนื่องไปอีก 3 ชั่วโมงเช่นเดียวกับยาพาราเซตามอล (2) ตำรับยาจันทน์ลีลาขนาด 1,200 มก./กก. มีฤทธิ์ลดอุณหภูมิร่างกายของหนูแรทที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเหนี่ยวนำด้วยยีสต์ได้ แต่ฤทธิ์อ่อนกว่ายาแอสไพริน ขนาด 300 มก./กก. (3) การศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นไข้ จำนวน 18 คน อายุระหว่าง 16-55 ปี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิทางปากก่อนให้ยาเท่ากับ 38.6±0.2 °C โดยให้ยาจันทน์ลีลาขนาด 500 มก. จำนวน 1 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง ทำการวัดอุณหภูมิ ทางปากทุก 4 ชั่วโมง จนครบ 72 ชั่วโมง พบว่ายาจันทน์ลีลาไม่สามารถลดไข้ได้ อาจเนื่องมาจากในการทดลองเลือกใช้ยาในขนาดต่ำสุดที่ได้ระบุไว้ในตำรายา (4)
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของตำรับยาจันทน์ลีลาในหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการบวมของใบหูด้วย ethyl phenylpropiolate (EPP) โดยให้ยาจันทน์ลีลาในขนาด 1, 2 และ 4 มก./20 มคล./หู เปรียบเทียบผลกับหนูในกลุ่มที่ได้รับยามาตรฐาน phenylbutazone ขนาด 1 มก./20 มคล./หู และกลุ่มควบคุม พบว่าสามารถลดการบวมของใบหูหนูและให้ผลใกล้เคียงกับยา phenylbutazone นอกจากนี้ ยาจันทน์ลีลาที่ขนาด 300, 600 และ 1,200 มก./กก. ยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการบวมที่อุ้งเท้าด้วยคาราจีแนนได้ (3)
ฤทธิ์แก้ปวด
ตำรับยาจันทน์ลีลาขนาด 300, 600 และ 1,200 มก./กก. มีฤทธิ์แก้ปวดในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้ปวดด้วยการฉีดฟอร์มาลินเข้าใต้ผิวหนังหลังเท้าหนู โดยให้ผลดีกว่ายามาตรฐานแอสไพริน ขนาด 300 มก./กก. ในระยะแรก (early phase; ระยะที่เกิดความเจ็บปวดแบบเฉียบพลัน ประมาณ 0-5 นาที หลังฉีดฟอร์มาลีน) แต่ให้ผลใกล้เคียงกันในระยะหลัง (late phase; ประมาณ 15-30 นาทีหลังฉีดฟอร์มาลิน) (3)
ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
การศึกษาในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยเอทานอลร่วมกับกรดเกลือ (ethanol/hydrochloric acid) การแช่น้ำเย็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความเครียด และยาต้านการอักเสบ อินโดเมทาซิน (30 มก./กก.) เมื่อป้อนด้วยตำรับยาจันทน์ลีลา ขนาด 150, 300 และ 600 มก./กก. เปรียบเทียบผลกับยา cimetidine ขนาด 100 มก./กก. พบว่าตำรับยาทุกขนาด และยา cimetidine มีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูได้ แต่ตำรับยาจันทน์ลีลาไม่มีผลลดการหลั่งกรดและความเป็น กรดรวม (total acidity) และไม่มีผลเพิ่มค่า pH ในกระเพาะอาหาร ขณะที่ยา cimetidine มีผลเพิ่มค่า pH ในกระเพาะอาหาร แสดงว่าฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของตำรับยาจันทน์ลีลาไม่ได้เกี่ยวข้อง กับฤทธิ์ในการยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร (3)
ฤทธิ์ต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
การศึกษาผลต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของตำรับยาจันทน์ลีลาในอาสามัครสุขภาพดี จำนวน 24 คน อายุ 19-30 ปี โดยให้รับประทานยา ขนาด 750 มก./ครั้ง (เม็ดละ 250 มก. จานวน 3 เม็ด) ทุก 8 ชั่วโมง 3 ครั้งติดต่อกัน ทำการเจาะเลือดอาสาสมัครก่อนได้รับยา และที่เวลา 8, 32 ชม. และ 8-10 วัน ภายหลัง การให้ยาครั้งแรก วัดผลการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดโดยใช้เครื่อง aggregometer และ microplate reader โดยสารกระตุ้นการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่ใช้ คือ adrenaline, และ adenosine diphosphate (ADP) พบว่ายาจันทน์ลีลาไม่มีผลต่อการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดไม่ว่าจะใช้ adrenaline หรือ ADP เป็นสารกระตุ้น ทั้งการวัดด้วยวิธี aggregometer และ microplate reader และไม่พบอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา สรุปได้ว่าตำรับยาจันทน์ลีลาสามารถใช้ลดไข้ได้โดยไม่มีผลต่อการเกาะกลุ่มและจำนวนเกล็ดเลือดของผู้ป่วย (5)
หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
การทดสอบความเป็นพิษ
การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของตำรับยาจันทน์ลีลาในหนูแรท โดยป้อนสารสกัด 95% เอทานอลจากตำรับยา ขนาด 5 ก./กก. น้ำหนักตัว เพียงครั้งเดียว พบว่าไม่ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลัน ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือทำให้หนูตาย และไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะภายใน และการศึกษา พิษกึ่งเรื้อรัง โดยป้อนสารสกัด ขนาด 600, 1,200 และ 2,400 มก./กก. เป็นเวลา 90 วัน พบว่าสารสกัด ทุกขนาดไม่ก่อให้เกิดพิษ และไม่มีผลต่อค่าทางโลหิตวิทยาและค่าทางชีวเคมีในเลือดของหนู (6)
เมื่อให้สารสกัด 50% แอลกอฮอล์จากตำรับยาจันทน์ลีลาโดยกรอกทางปาก ฉีดเข้าใต้ผิวหนังและ ฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ในขนาด 1, 3 และ 10 ก./กก. พบว่ายาจันทน์ลีลาไม่แสดงอาการพิษเมื่อให้ทางปาก แต่เมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนังและช่องท้องในขนาดสูง (10 ก./กก.) หนูมีอาการซึมเล็กน้อยในระยะเวลา 2 ชั่วโมงหลังฉีด มีอาการยืดตัวไปมาเนื่องจากระคายเคืองในช่องท้อง (wrighting effect) เล็กน้อย แต่ไม่มีการตาย และมีค่า LD50 = 13.22 ก./กก. เมื่อฉีดเข้าช่องท้อง ในการทดสอบพิษกึ่งเรื้อรังโดยให้หนูแรทกินอาหารที่ผสมยาจันทน์ลีลาในขนาด 0.5, 5 และ 10% ของน้ำหนักอาหาร ซึ่งคิดเป็น 4, 40 และ 80 เท่าของขนาดของยาที่ใช้รักษาในคน เป็นเวลา 6 เดือน พบว่ายาจันทน์ลีลาไม่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของหนู ไม่พบความผิดปกติของค่าทางโลหิตวิยาและชีวเคมีของเลือด และไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะภายในของหนู (7)
จากข้อมูลรายงานการศึกษาวิจัยจะเห็นได้ว่า ตำรับยาจันทน์ลีลามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาตามสรรพคุณ ที่ได้กล่าวอ้าง คือ แก้ไข้ แก้ปวด และต้านการอักเสบ และมีความปลอดภัยสูง ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจ ในประสิทธิภาพและความปลอดภัยของตำรับยาที่จะนำมาใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันได้ และเป็นการสนับสนุนและเผยแพร่ตำรับยาที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิมให้เป็นที่ยอมรับของบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน
เอกสารอ้างอิง
1.ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 คัดจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนพิเศษ 184 ง วันที่ 10 สิงหาคม 2558.
2.สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ ยุวดี วงษ์กระจ่าง รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล รัตนา นาคสง่า บุญเทียม คงศักดิ์ตระกูล. ฤทธิ์ลดไข้ของยาตำรับจันท์ลีลา. วารสารสมุนไพร 2544;8(1):24-30.
3.Sireeratawong S, Khonsung P, Piyabhan P, Nanna U, Soonthornchareonnon N, Jaijoy K. Anti-inflammatory and anti-ulcerogenic activities of Chantaleela recipe. Afr J Tradit Complement Altern Med 2012;9(4):485-94.
4.ธนกร วิเวก ชยันต์ พิเชียรสุนทร จุลรัตน์ คนศิลป์ ประทีป เมฆประสาร พรรณี ปิติสุทธิธรรม. การทดสอบยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณจันท์ลีลาทางคลินิก. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2550;6(2):62.
5.Itthipanichpong R, Lupreechaset A, Chotewuttakorn S, et al. Effect of Ayurved Siriraj herbal recipe Chantaleela on platelet aggregation. J Med Assoc Thai 2010;93(1):115-22.
6.Sireeratawong S, Chiruntanat N, Nanna U, Lertprasertsuke N, Srithiwong S, Soonthornchareonnon N, Jaijoy K. Acute and subchronic toxicity of Chantaleela recipe in rats. Afr J Tradit Complement Altern Med 2013;10(1):128-33.
7.วันทนา งามวัฒน์ ปราณี ชวลิตธำรง อุไรวรรณ เพิ่มพิพัฒน์ โอรส ลีลากุลธนิต เอมมนัส อัมพรประภา จรินทร์ จันทร์ฉายะ รังสรรค์ ปัญญาธัญญะ. ความเป็นพิษของยาแก้ไข้จันท์ลีลาในสัตว์ทดลอง. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2530;29(4):299-305.
Cr. ข้อมูลจาก MED HERB GURU

มะขามป้อม …กินทุกวันเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

มะขามป้อม ...กินทุกวันเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

มะขามป้อม …กินทุกวันเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

มะขามป้อม …กินทุกวันเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica
วงศ์ : Phyllanthaceae
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : กันโตด (เขมร – กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
มะขามป้อมมีวิตามินซีสูงมากกกกก กล่าวกันว่ามีมากกว่าแอปเปิ้ลถึง 160 เท่า และที่สำคัญ วิตามินซีในมะขามป้อมยังสามารถคงสภาพอยู่ได้แม้จะถูกทำให้แห้ง หรือผ่านความร้อน
เป็นยาอายุวัฒนะขนานหนึ่ง สามารถกินเป็นผลไม้แก้กระหายน้ำได้ อีกทั้งเป็นยาบำรุงแก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย รักษาเลือดออกตามไรฟัน แถมมีแคลเซียมสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง รักษาไข้จากอากาศเปลี่ยน
ล่าสุด มีการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า มะขามป้อม มีคุณสมบัติที่สำคัญคือกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดย สารสำคัญแต่ละชนิดมีบทบาทสำคัญดังนี้
phyllaemblicin B และ phyllaemblinol เป็นสารกลุ่ม flavonoids ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส
phyllaemblicin G7 จะป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ โดยการจับที่ขาของไวรัส และไปจับที่ตัวรับที่ปอด ทำให้ไวรัสไม่สามารถเข้าปอดได้
[**งานวิจัยขั้นต้นยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มแรก คือการศึกษาโครงสร้างของสารกับโครงสร้างของเชื้อในคอมพิวเตอร์แบบสามมิติ]
อ่านเพิ่มเติม
1. Jaijoy, K., Soonthornchareonnon, N., Panthong, A., & Sireeratawong, S. (2010). Anti-inflammatory and analgesic activities of the water extract from the fruit of Phyllanthus emblica Linn. International Journal of Applied Research in Natural Products, 3.
2.Singh, M. K., Yadav, S. S., Gupta, V., & Khattri, S. (2013). Immunomodulatory role of Emblica officinalis in arsenic induced oxidative damage and apoptosis in thymocytes of mice. BMC Complement Altern Med, 13, 193. doi: 10.1186/1472-6882-13-193
3.Wu, C., Liu, Y., Yang, Y., Zhang, P., Zhong, W., Wang, Y., . . . Li, H. (2020). Analysis of therapeutic targets for SARS-CoV-2 and discovery of potential drugs by computational methods. Acta Pharmaceutica Sinica B. doi: https://doi.org/10.1016/j.apsb.2020.02.008
4.Yadav, S. S., Singh, M. K., Singh, P. K., & Kumar, V. (2017). Traditional knowledge to clinical trials: A review on therapeutic actions of Emblica officinalis. Biomed Pharmacother, 93, 1292-1302. doi: 10.1016/j.biopha.2017.07.065

คลายข้อสงสัย ฟ้าทะลายโจรกับหวัด

คลายข้อสงสัย ฟ้าทะลายโจรกับหวัด

คลายข้อสงสัย ฟ้าทะลายโจรกับหวัด

📌 คลายข้อสงสัย ฟ้าทะลายโจรกับหวัด

1.ฟ้าทะลายโจรอภัยภูเบศร ประกอบด้วยผงยา 400 mg มีสารสำคัญ Andrographolide เฉลี่ย 12 mg/แคป

2. ขนาดรักษา {มีอาการแล้วของหวัด เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ} ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ แนะนำขนาด 3×4 ในคนอายุ 12 ปีขึ้นไป ห้ามใช้ในคนท้องและให้นมบุตร

#หายแล้วหยุดยาได้เลย ไม่ได้ระบุวันที่ควรกิน แต่ปกติหวัดธรรมดา ควรจะต้องหายภายใน 1-2 สัปดาห์

#กินเร็ว เห็นผลเร็ว จากฤทธิ์กระตุ้นภูมิ
เช่น ถ้าครั่นเนื้อครั่นตัว กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ รุมๆเหมือนจะเป็นไข้ กินเลย 3 เม็ดทันที ถ้าอาการไม่มาก บางทีกินครั้งเดียว อาการหายได้เลย

#ในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 กินแล้วภายใน 24 ชม อาการแย่ลง หรืออาการรุนแรงแต่แรก ต้องไปพบแพทย์เลย ไม่ควรเสียโอกาสในการรักษา

3. ขนาดป้องกันหวัดอ้างอิงจากงานวิจัย ให้เด็กมัธยม อายุเฉลี่ย 18 ปี จำนวน 107 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ครึ่งหนึ่งกินยาหลอก อีกครึ่งกินสารสกัดฟ้าทะลายโจร Andrographolide วันละ 11.2 mg x 5 วันต่อสัปดาห์ x 3 เดือน หวังผลเรื่องการเสริมภูมิ วัดผลจากอัตราการเป็นหวัด พบว่าช่วยลดการเป็นหวัดลง 2 เท่า เมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก {อัตราการเป็นหวัด 30% VS 62%}
……..ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการแนะนำให้กินป้องกัน เสริมภูมิ ในคนปกติ อายุ 12 ปีขึ้นไป วันละเม็ด วันเว้นวัน ได้นาน 3 เดือน

4. การศึกษาในเด็ก พบงานวิจัยใช้สารสกัด Andrographolide 10 mg วันละ 3 ครั้ง x 10 วัน รักษาหวัดที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน ในเด็กอายุ 4-11 ปี จำนวน 130 คน พบว่าช่วยบรรเทาอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนได้เร็วกว่ากลุ่มที่ได้สมุนไพร Echinacea และยังช่วยลดน้ำมูก และลดอาการบวมคั่งในจมูก

ดังนั้นการใช้ฟ้าทะลายโจรในเด็กอายุ 4-11 ปี แนะนำขนาดรักษาแคปซูลปกติ วันละ 1-2 เม็ด ไม่เกิน 10 วัน ส่วนขนาดป้องกัน ข้อมูลยังไม่มีรายงานความปลอดภัยระยะยาว อนึ่ง ตัวผงยามีความขมมาก เด็กอาจไม่สามารถทนรสยาได้ หากต้องแบ่งผงแกะออกมาใช้

การกินฟ้าทะลายโจรระยะยาว มีเคสที่กินนานเป็นปี แล้วอ่อนแรง อธิบายตามองค์ความรู้แผนไทยว่าเป็นยาเย็น หากใช้ขนาดสูง ติดต่อกันนานหลายเดือน ธาตุไฟในร่างกายจะหย่อน เกิดอาการมือเท้าเย็น ชา อ่อนแรง เปลี้ยหนาวง่าย และอาจทำให้ตับทำงานหนัก เพราะตับเป็นแหล่งผลิตความร้อนที่สำคัญของร่างกาย ในมุมมองแผนไทย

🔐🔐 Ref
1. Caceres DD, Hancke JL, Burgos RA, Wikman GK. Prevention of common colds with Andrographis paniculata dried extract. A Pilot double blind trial. Phytomedicine : international journal of phytotherapy and phytopharmacology. 1997;4(2):101-4.
2. Spasov AA, Ostrovskij OV, Chernikov MV, Wikman G. Comparative controlled study of Andrographis paniculata fixed combination, Kan Jang and an Echinacea preparation as adjuvant, in the treatment of uncomplicated respiratory disease in children. Phytotherapy research : PTR. 2004;18(1):47-53.

#ศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรกลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

Cr. ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ

มะระขี้นก

🍃

มะระขี้นก

มะระขี้นก สมุนไพรตัวช่วย..เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน

สมุนไพรตัวช่วย..เพื่อผู้ป่วยเบาหวาน

🔎 มีรายงานการศึกษาวิจัยสรรพคุณการลดน้ำตาลในเลือดของมะระขี้นก พบว่า…มะระขี้นก มีสารออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสของตับ

…โดยองค์ประกอบทางเคมีของมะระขี้นก ที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด คือ p-Insulin, Charantin และ Visine และสามารถใช้ได้ทั้งในรูปแบบของน้ำคั้น ชาชง แคปซูล และผงแห้ง

👉🏻ในส่วนการทดลองทางคลินิก มีรายงานว่า น้ำคั้นจากมะระขี้นก 50 มิลลิลิตร และ 100 มิลลิลิตร เพิ่มความทนต่อน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ และยังพบเช่นเดิมในผู้ที่กินผลมะระแห้ง 0.23 กิโลกรัมต่อวันเป็นเวลา 8-11 สัปดาห์ และกินผงมะระขี้นกแห้ง 50 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 7 วัน

👉🏻ความเป็นพิษ การศึกษาด้านพิษวิทยาและความปลอดภัยของมะระขี้นก พบว่า..เมล็ดมีสารโมมอร์คาริน (momorcharin)ที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ทดลอง คือ สารดังกล่าวมีฤทธิ์ทำให้แท้งในหนูถีบจักร ไม่มีพิษต่อเซลล์ แต่มีผลกระทบต่อเซลล์ของตัวอ่อนในระยะสร้างอวัยวะ ทำให้ส่วนหัว ลำตัว และขามีรูปร่างผิดปกติ แต่เมล็ดก็สามารถแยกส่วนออกไปได้ง่าย ดังนั้น จึงน่าจะมีความปลอดภัยในการนำมาใช้พอสมควร

 มะระขี้นก จึงเป็นพืชผักสมุนไพรที่ควรส่งเสริมให้ใช้เป็นสมุนไพรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จากการที่มีรายงานการศึกษาวิจัยถึงสรรพคุณการลดน้ำตาลในเลือดทั้งในสัตว์ทดลอง และในคนเป็นจำนวนมาก และรูปแบบวิธีใช้ที่ให้ผลลดน้ำตาลในเลือดก็ไม่ซับซ้อน คือ สามารถใช้ได้ทั้งน้ำคั้น ชงเป็นชา หรือกินในรูปแบบของแคปซูล หรือผงแห้ง

🔻ตำรับยา
1️⃣ น้ำคั้นสด
ให้นำผลมะระขี้นกสด 8-10 ผล เอาเมล็ดในออก ใส่น้ำเล็กน้อย ปั่นคั้นเอาแต่น้ำดื่ม (ประมาณ 100 มล.) หรือรับประทานทั้งกาก แบ่งรับประทานวันละ 3 เวลา ต่อเนื่อง

2️⃣ ชาชง
ให้นำเนื้อมะระขี้นกผลเล็กซึ่งมีตัวยามากมาผ่าเอาแต่เนื้อ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วชงกับน้ำเดือด โดยใช้มะระขี้นก 1-2 ชิ้น ต่อน้ำ 1 ถ้วย ดื่มแบบชาครั้งละ 2 ถ้วย วันละ 3 เวลา หรือต้มเอาน้ำมาดื่มหรือใส่กระติกน้ำร้อนดื่มแทนน้ำ ไม่เกิน 1 เดือนเห็นผล

3️⃣ แบบแคปซูล
แนะนำทานมะระขี้นก 500-1,000 มิลลิกรัม หรือ 1-2 แคปซูล วันละ 1-2 ครั้งก่อนอาหาร

🚫สตรีมีครรภ์ ให้นมบุตร เด็กและคนที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ควรรับประทาน

Cr.ภาพจาก www.doctor.or.th

#มะระขี้นก #ลดน้ำตาลในเลือด #เบาหวาน #สมุนไพรอภัยภูเบศร #สมุนไพรเกษตรอินทรี #GMP

ใบหม่อน…ลดน้ำตาลในเลือด

ใบหม่อน...ลดน้ำตาลในเลือด

ใบหม่อน…ลดน้ำตาลในเลือด

🍃ใบหม่อน…ลดน้ำตาลในเลือด

“หม่อน” หรือ “mulberry” ปัจจุบันนิยมนำหม่อนทั้งในส่วนของผลและใบมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งรับประทานเป็นอาหารและเครื่องดื่มสำหรับสุขภาพกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะชาใบหม่อน ซึ่งกล่าวว่ามีสรรพคุณเด่นในการลดน้ำตาลในเลือด

🍃ในใบหม่อนมีสาร DNJ ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ α-glucosidase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว จึงมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงได้

🔰การศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาถึงผลในการลดน้ำตาลของใบหม่อน เพื่อสนับสนุนในการที่จะนำมาใช้รักษาเบาหวาน พบว่า…มีการศึกษาทั้งในหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง และการศึกษาทางคลินิก

✳️ โดยในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง พบว่า..>> สารสกัดและชาใบหม่อน มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ยับยั้งการดูดซึมกลูโคส และลดน้ำตาลในเลือดได้ สารสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สาร 1-deoxynojirimysin (DNJ) ซึ่งเป็นสารกลุ่มแอลคาลอยด์ ที่มีโครงสร้างคล้ายน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharides)

✳️ สำหรับการศึกษาทางคลินิก พบว่า..>> การรับประทานผงใบหม่อนขนาด 5.4 ก./วัน ร่วมกับน้ำ (แบ่งรับประทานครั้งละ 1.8 ก. วันละ 3 ครั้ง) เป็นเวลา 3 เดือน มีผลทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาล และระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดลดลง และไม่พบอาการข้างเคียงใดๆ

✳️ และในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับประทานแคปซูลผงใบหม่อน ขนาด 6 แคปซูล/วัน (ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร (1 แคปซูล มีผงใบหม่อน 500 มก. เท่ากับ 3 ก./วัน) เป็นเวลา 30 วัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยา glibenclamide ขนาด 5 มก./วัน พบว่า..>> กลุ่มที่ได้รับผงใบหม่อนมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง แต่ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม และยังมีผลลดคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ กรดไขมันอิสระ LDL และ VLDL และเพิ่มระดับของ HDL อีกด้วย ..ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยา glibenclamide ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง แต่ไม่มีผลต่อระดับไขมันในร่างกาย ยกเว้นระดับไตรกลีซอไรด์ที่มีค่าลดลง

✳️ การศึกษาในอาสาสมัครที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือด 100-140 มก./ดล.) รับประทานแคปซูลสารสกัดจากใบหม่อน ขนาด 1, 2 และ 3 แคปซูล (ซึ่งมี DNJ เท่ากับ 3, 6 และ 9 มก./แคปซูล) ก่อนอาหาร เป็นเวลา 15 นาที พบว่า..>> มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร และลดการหลั่งอินซูลินได้

✳️การศึกษาผลความปลอดภัยของการรับประทานผงสารสกัดจากใบหม่อนในระยะยาว โดยให้อาสาสมัครสุขภาพดีรับประทานผงสารสกัดใบหม่อน ขนาด 3.6 ก./วัน (ครั้งละ 1.2 ก. ก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง ; DNJ เท่ากับ 54 มก./วัน ) เป็นเวลา 38 วัน พบว่า..>> สารสกัดใบหม่อนไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือเกิดความผิดปกติของไขมันในร่างกาย ไม่มีผลต่อค่าชีวเคมีในเลือดและไม่เกิดอาการข้างเคียงที่อันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร

🔹🔸จากการทดลองทั้งหมด ช่วยให้เราสรุปผลได้ว่า..ใบหม่อนมีผลลดน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน และคนปกติได้..โดยไม่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดลดต่ำ ไม่เกิดอาการข้างเคียงที่อันตรายเมื่อรับประทานต่อเนื่องนาน 1 เดือน และมีการศึกษาที่รับประทานในระยะยาว 12 สัปดาห์ ก็ไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายเช่นกัน

 วิธีใช้
ปัจจุบันในท้องตลาดจะมีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาใบหม่อนให้เลือกอยู่หลากหลายยี่ห้อ แต่เราสามารถทำชาใบหม่อนภายในครัวเรือนได้เอง โดยใช้ใบหม่อนสดหรือใบแห้ง 2-6 กรัม แช่น้ำร้อน 100-200 มิลลิลิตร แช่ทิ้งไว้นานอย่างน้อย 6 นาที รินดื่มเป็นชา ก่อนอาหาร วันละ 2-3 ครั้ง

⛔️ข้อควรระวัง
ควรระมัดระวังในการใช้หม่อนร่วมกับยารักษาเบาหวาน โดยเฉพาะยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase เช่น Acarbose เพราะหม่อนมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase ได้เช่นกัน ดังนั้นอาจจะไปเสริมฤทธิ์ของยา ทำให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากได้

🔻จากข้อมูลงานวิจัยข้างต้น นับได้ว่า “ใบหม่อน” มีศักยภาพในการนำมาใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้ แต่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องขนาดการใช้ที่เหมาะสม และความปลอดภัยเมื่อรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน

▶️ เอกสารอ้างอิง
◾️อรัญญา ศรีบุศราคัม. ใบหม่อนกับโรคเบาหวาน. จุลสารข้อมูลสมุนไพร 2557:32(1);3-9.
◾️กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (นายวิโรจน์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์หม่อนไหม). “หม่อน & ไหม… พืชและเส้นใยแห่งอนาคต”.
◾️Vichasilp C, Nakagawa K, Sookwong P, Higuchi O, Luemunkong S, Miyazawa T. Development of high 1-deoxynojirimycin (DNJ) content mulberry tea and use of response surface methodology to optimize tea-making conditions for highest DNJ extraction. LWT – Food Sci Technol 2012;45:226-32.
◾️Kwon HJ, Chung JY, Kim JY, Kwon O. Comparison of 1-deoxynojirimycin and aqueous mulberry leaf extract with emphasis on postprandial hypoglycemic Effects: In vivo and in vitro studies. J Agric Food Chem 2011;59:3014-9.
◾️Watanabe K, Nakano R, Inoue M, et al. Basic and clinical study. Effects and toxicity studies of the mulberry leaf powder (Morus alba leaves) in volunteers with hyperglycemia and normoglycemia. Niigata Igakkai Zasshi 2007;121(4):191- 200.
◾️Andallu B, Suryakantham V, Srikanthi BL, Reddy GK. Effect of mulberry (Morus indica L.) therapy on plasma and erythrocyte membrane lipids in patients with type 2 diabetes. Clinica Chimica Acta 2001;314:47-53.
◾️Asai A, Nakagawa K, Higuchi O, et al. Effect of mulberry leaf extract with enriched 1-deoxynojirimycin content on postprandial glycemic control in subjects with impaired glucose metabolism. J Diabetes Invest 2011;2(4):318-23.
◾️Kimura T, Nakagawa K, Kubota H, et al. Food-grade mulberry powder enriched with 1-deoxynojirimycin suppresses the elevation of postprandial blood glucose in humans. J Agric Food Chem 2007;55:5869-74

Cr. ขอบคุณภาพจาก health.kapook.com

#สมุนไพรน่ารู้ #ใบหม่อน #mulberry #ชาใบหม่อน #ลดน้ำตาลในเลือด #สมุนไพรอภัยภูเบศร

ยาดอง…กินพอดีเป็นยา

ยาดอง...กินพอดีเป็นยา

ยาดอง…กินพอดีเป็นยา

ยาดอง…กินพอดีเป็นยา
ยาดอง คือ การหมักสมุนไพรหรือการแช่สมุนไพร เพื่อเป็นโอสถหรือยารักษาโรคต่างๆ มีสรรพคุณช่วยในการไหลเวียนโลหิต แก้ปวดเมื่อย บำรุงร่างกาย ปรับสมดุลร่างกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ดังนั้น ยาดอง จึงถือได้ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ เมื่อกินถูกกับโรค ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะทำให้อายุยืน ทั้งนี้ การดองเป็น 1 ใน 28 วิธี การทำยาของไทย เป็นวิธีในการสกัดยาอย่างหนึ่งจากสมุนไพร การดองจึงมีสารสำคัญออกมาในปริมาณที่มีความเข้มข้น ดังนั้น การกินยาดอง จึงควรกินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ยาดองแพทย์แผนไทย แบ่งได้ 6 แบบ คือ
1. ยาดองสุรา ซึ่งเป็นการนำสุรามาเป็นตัวสกัดโอสถสารในสมุนไพรออกมา เนื่องจากสุราสามารถฆ่าเชื้อได้ดี ซึ่งความเข้มข้นของสุราที่นิยมนำมาดองสมุนไพร คือ 40 ดีกรี วิธีกิน ให้กินวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น ครั้งละ 30 ซีซี แต่มีข้อควรระวัง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคตับ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่แพ้สุรา ควรหลีกเลี่ยง
2. ยาดองแป้งข้าวหมาก เป็นการนำสมุนไพรมาดองกับแป้งข้าวหมากหรือลูกข้าวหมาก โดยสมุนไพรที่นำมาดองนั้นจะเป็นสมุนไพรที่มีน้ำตาลสูง อีกทั้ง แป้งข้าวหมากเมื่อหมักเป็นเวลาสักระยะหนึ่งจะเกิดเป็นแอลกอฮอล์ ดังนั้น จึงสามารถใช้ในการควบคุมเชื้อต่างๆ ได้ดี และยังช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารได้ดีอีกด้วย
3. ยาดองเกลือ เป็นการหมักโดยใช้เกลือเป็นตัวสกัดสารสำคัญในตัวยา เนื่องจากเกลือมีรสเค็ม และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้ดี ยาดองเกลือเป็นการดองที่ไม่ใช้น้ำ แต่จะใช้การโรยเกลือสลับกับการวางสมุนไพรเรียงเป็นชั้นๆ จนเต็มภาชนะและดองทิ้งไว้
4. ยาดองน้ำผึ้ง เป็นการดองโดยใช้ความเข้มข้นของน้ำตาล ที่เลือกใช้น้ำผึ้งเป็นตัวสกัดสารสำคัญในตัวยาออกมานั้น เพราะน้ำผึ้งจะทำการดึงน้ำออกมาจากสมุนไพร และยังเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงร่างกาย โดยตัวอย่างยาดองน้ำผึ้ง เช่น ยอดองน้ำผึ้ง บอระเพ็ดดองน้ำผึ้ง มะขามป้อมดองน้ำผึ้ง กล้วยดองน้ำผึ้ง เป็นต้น
5. ยาดองเปรี้ยว เป็นการดองโดยใช้สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว มีฤทธิ์การควบคุมเชื้อแบคทีเรียได้ดี มีสรรพคุณ เป็นยาบำรุงเลือด ยาฟอกเลือด ยาระบายอ่อน เช่น ยาดองน้ำส้มสายชู ยาดองน้ำมะนาว ยาดองน้ำมะกรูด
6. ยาดองน้ำมูตร (น้ำมูตร หรือน้ำปัสสาวะ) เป็นการดองในสมัยโบราณ โดยมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกว่า “ให้พระภิกษุฉันยาดองน้ำมูตร เพื่อรักษาอาการอาพาธ” ซึ่งสมุนไพรที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวซึ่งมีฤทธิ์ในการควบคุมการก่อเชื้อ และจากการศึกษาพบว่า น้ำปัสสาวะ มีความเค็มและมียูเรียเป็นองค์ประกอบ จึงทำให้ปัสสาวะมีประสิทธิภาพในการุคมเชื้อเพิ่มมากขึ้น มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ ลดไข้ ขับพิษต่างๆ ได้ เช่น สมอดองน้ำมูตร

Cr. มูลนิธิหมอชาวบ้าน

(เครดิตภาพ : Chill up, phuketthaitraditional, ปาริชาติ)

หม่อน รักษาเกาต์

หม่อน รักษาเกาต์

หม่อน รักษาเกาต์

หม่อนบ้านเรา : เกาต์ยอมแพ้ …🦵..😍
.
🎩…เวลาเราเรียกต้นหม่อนหรือลูกหม่อนดูชื่อบ้านๆไม่น่าสนใจ แต่พอมีคนเรียกหม่อนว่ามัลเบอร์รี่ ดูโกอินเตอร์ขึ้นมาทันที
.
🍕 …เดี๋ยวนี้คนไทยไม่นิยมปลูกต้นหม่อนเพื่อเอาใบไปเลี้ยงหนอนไหมกันแล้ว แต่เขาปลูกใบไปทำชาและเก็บลูกไปขายเป็นผลไม้ได้ราคาดี ยังเอาไปทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ทำแยม ทำเค้ก ก็อร่อยมากๆ
.
…การศึกษาวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับหม่อนหรือมัลเบอร์รี่ถือว่าโกอินเตอร์อย่างมาก มีงานวิจัยอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นข้อมูลยืนยันสรรพคุณทางยาพื้นบ้านที่ใช้มานานหลายอย่าง ทั้งลดความดัน เบาหวาน บวมตามร่างกาย ข้ออักเสบ ปวดตามข้อ ปวดตามหัวเข่า บำรุงไต เป็นต้น
.
🦵 …โดยเฉพาะโรคเกาต์ (ข้ออักเสบ ปวดตามข้อ) ในตำรายาจีนใช้หม่อนช่วยรักษาได้ โดยมีงานวิจัยพบว่า สารสกัดจากใบหม่อนช่วยลดกรดยูริกในหนูทดลอง และยังพบว่าสารมัลเบอร์โรไซด์ เอ ( mulberroside A) ที่พบในหม่อนมีผลขับกรดยูริกในปัสสาวะและมีฤทธิ์ป้องกันไต ลดค่า BUN และ Creatinine ในหนูที่มีกรดยูริคในเลือดสูง
.
👤…สารสกัดใบหม่อนมีฤทธิ์ต้านการเกิดนิ่วในไตด้วย ช่วยสลายนิ่ว ทั้งป้องกันการเกิดนิ่วและทำให้การทำงานของไตดีขึ้นด้วย
.
…ใครปลูกหม่อนไว้ที่บ้าน ให้นำยอดใบอ่อนมาล้างให้สะอาด ตากแห้งแล้วนำไปคั่วให้หอม มาทำเป็นชาใบหม่อน ใช้ชาใบหม่อนหนึ่งหยิบมือ ( 3 นิ้วหยิบ ) ต่อน้ำร้อนหนึ่งแก้ว รอให้อุ่นแล้วนำมาดื่ม เช้ากับเย็น
.
🥤…ส่วนผลสุกของลูกหม่อนหรือมัลเบอร์รี่ ผลสุกเต็มที่มีสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว กินเปล่าๆหรือจิ้มพริกเกลือ เอามาทำเป็นเครื่องดื่ม เหยาะเกลือนิด น้ำตาลหน่อยก็อร่อย
.
🦅… ส่วนผลแดงจะยังไม่สุกเต็มที่ รสออกเปรี้ยวไม่อร่อยเท่ารอให้สุกเป็นสีดำ เพียงแต่ต้องแย่งเก็บให้ทันก่อนนกกินจ้า
.
💋 …กระซิบข้างหู : ชาใบหม่อนดื่มเป็นชาเพื่อสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานได้ ภายใต้การกินยาแผนปัจจุบันตามแพทย์สั่ง แต่ต้องระวังไม่กินเข้มข้นเกินไปจนระดับน้ำตาลในเลือดตก
.
#หม่อน #มัลเบอร์รี่ #เกาต์ # เบาหวาน # ไต #สมุนไพร #การใช้สมุนไพร #สมุนไพรอภัยภูเบศร
(more…)