อิสระที่แท้จริง

อิสระที่แท้จริง

อิสระที่แท้จริง


อิสระที่แท้จริง อ่านแล้วดีจึงนำมาแบ่งปันค่ะ

ข้อคิดดีๆของคุณ จรูญ ชินธรรมมิตร มหาเศรษฐี อันดับที่ 23 ของประเทศ มูลค่าทรัพย์สิน 40,000 ล้านบาทเจ้าของโรงงานน้ำตาล ขอนแก่น และธุรกิจอื่นๆอีกมาก

>> ตอนเรียน ได้เงินจากผู้ปกครองน้อย … เราก็อยากทำงาน “จะได้มีอิสระ” หาเงินใช้เองได้

>> ตอนทำงาน เจอหัวหน้าโหด ได้เงินเดือนน้อย … ก็อยากเติบโตเป็นหัวหน้าบ้าง “จะได้มีอิสระ” มีลูกน้อง ได้เงินเดือนเพิ่ม

>> ตอนเป็นหัวหน้า เจอเอ็มดี/ซีอีโอ สั่งงานหนัก … ก็อยากเป็นเอ็มดี/ซีอีโอบ้าง “จะได้มีอิสระ” บริหารบริษัทได้ทั้งหมด แถมได้เงินเดือนเยอะๆ …

>> ตอนเป็นเอ็มดี/ซีอีโอ เจอผู้ถือหุ้นบีบหนัก จะเอายอดขาย ให้ขยายโรงงาน เพิ่มกำไร … ก็อยากเป็นเจ้าของกิจการบ้าง “จะได้มีอิสระ” จะได้สั่งคนได้ทุกคน หาเงินได้ก็เป็นของเราเองทั้งหมด

>> ตอนเป็นเจ้าของกิจการ เจอลูกค้าโหด เอาแต่ใจ ต่อราคาจนกำไรหด … ก็อยากเลิกทำธุรกิจ มาเป็นนักลงทุน “จะได้มีอิสระ” ไม่ต้องฟังใคร

>> ตอนเป็นนักลงทุน เจอรายใหญ่ปั่นหุ้นจนหัวหมุน เจอตลาดผันผวนหนัก เศรษฐกิจในประเทศไม่แน่นอน เศรษฐกิจต่างประเทศชะลอตัว เจอนักลงทุนต่างชาติที่มีเงินมากกว่า/กองทุนที่มีข้อมูลมากกว่า เอาชนะตลอด … ก็อยากออกไปอยู่เฉยๆ เอาเงินฝากแบงก์ “จะได้มีอิสระ” ไม่ต้องง้อใคร

>> ตอนไม่ต้องง้อใคร … ก็แก่ซะแล้ว โรครุมเร้า ไม่มีแรงทำอะไร “อยากมีอิสระ” ไม่ต้องกลัวความแก่/ความตาย

พอมาถึงขั้นนี้ ก็จนปัญญา เพราะเจอความจริงว่าไม่มีใครหนีความแก่/ความตาย ได้พ้น

เรื่องราวข้างต้นช่วยบอกเราว่า “อิสระที่แท้จริง” นั้นไม่มี … ทุกคนต้องเผชิญข้อจำกัดของชีวิตกันทั้งสิ้น ไม่ว่าคนจนที่สุด หรือ รวยที่สุด … ดังนั้น อย่าน้อยใจ แต่ทำชีวิตให้ดีที่สุด ให้มีประโยชน์กับตัวเองและคนรอบข้างมากที่สุด ภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่

ปล. อิสระที่แท้จริงนั้น ความจริงก็มีอยู่ แต่ไม่ใช่ในทางโลก ต้องเป็นทางธรรม (อริยสัจ 4)

อริยสัจ 4

อริยสัจ 4


อริยสัจ 4

มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4

1. ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์

2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง

3. นิโรธ
คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน

4. มรรค
คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
อริยมรรค 8
แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” หรือทางสายกลาง

มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

SHARE NOW

Facebook Comments