ขมิ้นชัน กับกลไกต้านไวรัส..
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa
ชื่ออื่นๆ : ขมิ้น, ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว, ขี้มิ้นตายอ, สะยอ, หมิ้น
สารสำคัญ : Curcumin, Demethoxycurcumine
ขมิ้นชันเป็นยาอายุวัฒนะ แก้อักเสบ รักษาโรคผิวหนังผื่นคัน รักษาโรคท้องอืด ท้องเฟ้อและแผลในกระเพาะอาหาร
…ในส่วนของการศึกษาในหนูทดลอง พบว่า ขมิ้นชัน ช่วยลดการอักเสบของปอดที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน
1. ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
2. ควรระวังการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
3. ควรระวังการใช้ในเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย แต่การใช้สมุนไพรโดยทั่วไปในเด็กจะปรับขนาด ประมาณ 1 ใน 3 ของขนาดผู้ใหญ่
4. ควรระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
5. ควรระวังการใช้ร่วมกับยาที่กระบวนการเมแทบอลิซึมผ่านเอนไซม์ Cytochrome P450 (CYP) เนื่องจากสาร curcumin ยับยั้ง CYP3A4 , CYP1A2 แต่กระตุ้นเอนไซม์ CYP2A6
6. ควรระวังการใช้ร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น doxorubicin, chlormethine, cyclophosphamide และ camptothecin เนื่องจาก curcumin อาจมีผลต้านฤทธิ์ยาดังกล่าว
1. Han S, et al. Curcumin ameliorates severe influenza pneumonia via attenuating lung injury and regulating macrophage cytokines production. Clinical and Experimental Pharmacology and Physiology 2014.
2. Khaerunnisa S, et al. Potential Inhibitor of COVID-19 Main Protease (Mpro) from Several Medicinal Plant Compounds by Molecular Docking Study. Preprints 2020