กระชายนั้น แก้โรคอันเกิดแต่ในปาก

กระชายนั้น แก้โรคอันเกิดแต่ในปาก

กระชายนั้น แก้โรคอันเกิดแต่ในปาก

🟤 กระชายนั้น แก้โรคอันเกิดแต่ในปาก

“กระชาย” เป็นพืชที่ถูกบรรจุในบัญชีสมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐาน มีรสเผ็ดร้อน ขม ซึ่งแนะนำให้ใช้สำหรับประชาชนทุกคนในการดูแลอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น โดยมีสรรพคุณแก้แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด โดยนำเหง้าแห้งประมาณครึ่งกำมือ ต้มกับนํ้าสะอาด รินเอาเฉพาะนํ้าดื่ม
…รวมทั้ง กระชาย ยังถูกเรียกว่า “Thai ginseng” หรือ “โสมไทย” ใช้บำรุงสมรรถภาพทางเพศ ในการแพทย์พื้นบ้านถือว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ชะลอความเสื่อมของอวัยวะ
🧬พืชชนิดนี้ มีสารประกอบทางเคมีเกือบ 100 ชนิด มีฤทธิ์ทางยาที่หลากหลาย รวมถึง ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มจากเชื้อก่อโรคในช่องปาก ไบโอฟิล์มที่หนาขึ้น อาจระคายเคืองเหงือก ส่งผลให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาและแสดงการอักเสบของเหงือก โดยเกิดจากการสะสมของเชื้อโรค
…การรักษาในปัจจุบัน เน้นการกำจัดเชื้อก่อโรคในช่องปาก โดยการขูดหินปูนนํ้าลาย การเกลารากฟัน และอาจมีการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วยในบางกรณี
🔎 จากการศึกษาพบว่า สารแพนดูราทิน เอ (Panduratin A) ที่พบในเหง้ากระชายมีผลต่อโรคในช่องปาก โดยสามารถป้องกันและลดการแพร่กระจายเชื้อก่อโรคในช่องปากได้ ส่งผลให้ลดการสร้างไบโอฟิล์ม และลดปัญหาเหงือกอักเสบได้ ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนภูมิปัญญาของหมอยาพื้นบ้านว่า “กระชายนั้นแก้โรคอันเกิดแต่ในปาก”
🔻ตำรับยารักษาโรคในปาก ลดกลิ่นปาก
👉🏻นำเหง้ากระชาย 1 กำมือ มาโขลกให้ละเอียด ต้มกับน้ำ 1 ลิตร กรองได้น้ำมาใส่เกลือ 1 หยิบมือ ต้มจนเกลือละลาย นำมาอมหลังแปรงฟันไว้สักครู่ ค่อยบ้วนทิ้งหรือจะกลืนลงท้องก็ไม่มีอันตราย
…จากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้สารสกัดกระชายถูกนำมาใช้ทดแทนน้ำยาฆ่าเชื้อแผนปัจจุบัน (chlorhexidine gluconate) ที่ใช้ในช่องปาก กระชายถูกพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก ลดปัญหาการติดเชื้อและลดกลิ่นปากได้
1. Eng-Chong T, Yean-Kee L, Chin-Fei c, Choon-Han H, Sher-Ming W, Li-Ping CT, et al. Boesenbergia rotunda: From Ethno-medicine to Drug Discovery. Evidence-based Complementary and Alternative Medicine : eCAM. 2012;2012:473637.
2. Yanti, Rukayadi Y, Lee KH, Hwang JK. Activity of panduratin A isolated from Kaempferia pandurata Roxb. against multi-species oral biofilms in vitro. J Oral Sci. 2009;5l(l):87-95.
3. สุภาภรณ์ ปีติพร. บันทึกของแผ่นดิน 8 สมุนไพร ชะลอวัย ไกลโรค กรุงเทพฯ2558. 44 p.
🗞ข้อมูลจาก อภัยภูเบศรสาร ฉบับเดือนตุลาคม 2561 คอลัมน์ พืชใกล้ตัว โดย ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์
SHARE NOW

Facebook Comments