ผักเบี้ยใหญ่

ผักเบี้ยใหญ่

ผักเบี้ยใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Portulaca oleracea L. จัดอยู่ในวงศ์ผักเบี้ย (PORTULACACEAE)

ผักเบี้ยใหญ่
ผักเบี้ยใหญ่ ชื่อสามัญ Purslane, Common purslane, Common garden purslane, Pigweed purslane
ผักเบี้ยใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Portulaca oleracea L. จัดอยู่ในวงศ์ผักเบี้ย (PORTULACACEAE)
สมุนไพรผักเบี้ยใหญ่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักตาโค้ง (นครราชสีมา), ผักอีหลู ตะก้ง (อุบลราชธานี), ผักเบี้ยดอกเหลือง (ภาคกลาง), ผักอีหลู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), แบขี่เกี่ยง ตือบ้อฉ่าย (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้นนอกจากสารอาหารที่กล่าวมาแล้ว ผักเบี้ยใหญ่ ยังมีแร่ธาตุอีกมากมาย จึงมีสรรพคุณในการรักษาอาการต่าง ๆ ได้ดี ลองไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง

บำรุงผิวพรรณให้เต่งตึง
ผักเบี้ยใหญ่มีคุณสมบัติในการป้องกันแสง และยังทำให้ใบหน้าผุดผ่อง ชุ่มชื้น รวมทั้งแก้แพ้ ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย หน้าเต่งตึงไม่ต้องฉีดโบท็อกซ์ พ่วงด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ดังนั้นในต่างประเทศจึงนำสารสกัดจากผักเบี้ยไปผสมในเครื่องสำอางสำหรับผิวที่แพ้ง่าย บอบบาง เพราะมีความปลอดภัยมากกว่า
รักษาอาการทางผิวหนัง
ผักเบี้ยใหญ่มีสรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นโรคสะเก็ดเงิน หรือโรคผิวหนังต่าง ๆ
ข้อมูลทางคลินิกของผักเบี้ยใหญ่
* เมื่อปี ค.ศ.1985 ได้มีการทดลองใช้สารสกัดผักเบี้ยใหญ่ในกระต่ายทดลอง ผลการทดลองพบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวาน โดยสาร Alloxan ได้
* เมื่อปี ค.ศ.1995 ที่ประเทศอียิปต์ ได้ทำการทดลองใช้สารสกัดจากผักเบี้ยใหญ่ในหนูทดลอง ผลการทดลองพบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูทดลองได้
* จากการใช้ป้องกันบิดจากเชื้อแบคทีเรีย ด้วยการใช้ใบและต้นสดของผักเบี้ยใหญ่ที่ล้างสะอาดแล้วนำมาหั่นให้เป็นฝอย 500 กรัม ใส่น้ำ 1500 ซี.ซี. แล้วต้มให้เหลือ 500 ซี.ซี. เสร็จแล้วรินใส่หม้อให้ผู้ใหญ่กินครั้งละ 70 ซี.ซี. วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 2-7 วัน ส่วนเด็กให้กินเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่ โดยใช้ยานี้นำไปต้มหรือผสมข้าวต้ม ใช้กินวันเว้นวัน ใช้กินป้องกันบิดก็ให้กินติดต่อกัน 10 วัน จากการสำรวจในระยะที่โรคบิดระบาด พบว่าคนที่เป็นบิดจะหายได้ง่ายหรือไม่ก็มีอาการไม่รุนแรง
* จากการใช้แก้บิด ลำไส้อักเสบ ใช้แก้บิดที่เพิ่งเริ่มเป็นได้ผลหาย 50% ขึ้นไป ส่วนในบิดเรื้อรังจะแก้ได้ประมาณ 60% ยานี้กินมากไปก็ไม่มีพิษร้ายแรงอะไร ถือว่ามีความปลอดภัยสูงมาก เพราะเคยมีรายงานว่ามีคนไข้รายหนึ่งได้กินยาปรุงนี้ 100% มีอาการเป็นผื่นคัน ฉะนั้นควรใช้หญ้าสด 500 กรัม ถ้าแห้งให้ลดปริมาณลงมาครึ่งหนึ่ง ในการรักษาส่วนมากจะใช้ยาปรุง 50% ของยาแห้ง โดยใช้ยานี้แบบแห้งหนัก 125 กรัม ใส่น้ำ 1.5 ลิตร แล้วต้มให้เหลือ 500 ซี.ซี. ใช้แบ่งกินครั้งละ 50-100 ซี.ซี. หรือใช้ยาปรุง 100% ของยาสด ด้วยการนำยานี้สดประมาณ 500 กรัม ใส่น้ำ 1.5 ลิตร แล้วต้มให้เหลือ 500 ซี.ซี. ใช้แบ่งกินครั้งละ 40-70 ซี.ซี. วันละ 3-4 ครั้ง ถ้าเป็นเด็กให้ลดลงตามส่วน กินติดต่อกัน 7-10 วัน เป็น 1 รอบการรักษา พวกเป็นบิดเรื้อรังติดต่อกัน 4 อาทิตย์ ก็ไม่มีอาการพิษอะไร สำหรับพวกที่เป็นเรื้อรังมานานก็ให้ใช้น้ำคั้นต้มนี้สวนเข้าไปในลำไส้ครั้งละ 200 ซี.ซี. วันละ 1 ครั้ง
* จากการใช้แก้พยาธิปากขอ พบว่าผู้ใหญ่ที่ใช้ยานี้สดในขนาด 150-170 กรัม เมื่อเอาน้ำมาผสมกับน้ำส้มสายชู 50 ซี.ซี. และอาจใส่น้ำตาลทรายพอประมาณลงไปผสม ใช้กินก่อนอาหารวันละ 1-2 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน เป็น 1 รอบการรักษา ถ้ากินในรอบต่อไปให้เว้นห่างกันประมาณ 10-14 วัน จากการรักษาคนไข้จำนวน 192 ราย ที่กินยานี้ 1-3 รอบ เมื่อเอาอุจจาระมาตรวจดูไข่ของพยาธิ ไข่พยาธิจะฝ่อไปประมาณ 80% โดยยานี้อาจนำมาทำเป็นยาเม็ดหรือแบบอีมัลชั่นเข้ม 50% แต่ในการรักษายาเม็ดจะได้ผลดีกว่าอีมัลชั่นและดีกว่าแบบยาต้ม
* การใช้ทำให้มดลูกหดตัว จากคนไข้จำนวน 500 ราย ใช้ยาสกัดนี้ (ใน 1 ซี.ซี. คิดเทียบเท่ากับยานี้สด 1.6-3.2 กรัม) ฉีดแทนสารสกัดจากเออกอท (Claviceps purpurea (Fr.) Tulasne) พบว่าจะทำให้มดลูกคลายตัวแล้วหดตัวตามมา ใช้กับสตรีที่ตกเลือดหลังคลอด ใช้ฉีดเข้าไปที่มดลูกทั้งสองข้างและที่ปากมดลูกด้วย
* จากการใช้รักษาไส้ติ่งอักเสบชนิดเฉียบพลัน ด้วยการใช้ต้นแห้งกับโพกงเอ็ง (Taraxacum mongolicom Hand-Mazz) อย่างละ 60 กรัม หรือใช้ต้นสดที่เพิ่มปริมาณอีกเท่าตัว ต้มกับน้ำ 2 ครั้ง แล้วต้มจนเหลือน้ำ 200 ซี.ซี. ให้กินตอนเช้าและกลางวันครั้งละ 100 ซี.ซี. จากการรักษาคนไข้จำนวน 31 ราย พบว่ารักษาหายจำนวน 30 ราย ส่วนอีก 1 รายที่ไม่ได้ผลและต้องใช้การผ่าตัดช่วย โดยส่วนมากจะหายภายใน 3-8 วัน อาการไข้และจำนวนเม็ดเลือดขาวเป็นปกติ อาการปวดท้องและปวดเจ็บเมื่อกระโดดแรง ๆ ความตึงแน่นของบริเวณหน้าท้องและอาการเมื่อกดแล้วเจ็บก็หายไปด้วย หรืออีกวิธีให้เอาต้นตำให้แหลก เอาผ้าพันแผลห่อคั้นเอาน้ำออกมาประมาณ 30 ซี.ซี. ใส่น้ำตาลทรายผสมกับน้ำสุกจนครบ 100 ซี.ซี. แล้วกินให้หมดวันละ 3 ครั้งก็ได้เช่นกัน
* จากการใช้รักษาต่อมน้ำเหลืองอักเสบ โดยใช้ทั้งต้นหนัก 180 กรัม นำมาล้างให้สะอาด แล้วตากให้แห้งบดให้เป็นผงละเอียด ใส่ลงไปในน้ำมันหมูที่เจียวร้อน 240 กรัม แล้วใช้ตะหลิวคนจนควันขาวขึ้น ยกกระทะลงใส่น้ำผึ้งลงไป 240 กรัม คนจนข้นเสร็จแล้วรอให้เย็นจะได้เป็นครีมเหนียว ๆ ก่อนนำมาใช้เอาน้ำซาวข้าวล้างแผลให้สะอาดก่อน แล้วเอาครีมนี้ทาบริเวณที่เป็นแผล ใช้ผ้าพันให้แน่น 2 วันเปลี่ยนยาทีหนึ่ง ให้ติดต่อกันจนกว่าจะหายอย่าให้ขาดตอน และในระหว่างการรักษาห้ามรับประทานปลาที่ไม่มีเกล็ด ตะพาบน้ำ และห้ามร่วมเพศ นอกจากนี้ยาที่ได้ยังใช้รักษาส่วนอื่น ๆ ที่เป็นก้อนเป็นหนองอักเสบได้เหมือนกัน โดยใช้กินครั้งละ 3-10 กรัม วันละ 3 ครั้ง จากการรักษาคนไข้จำนวน 118 ราย แบ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองอักเสบ 42 ราย, วัณโรคปอด 31 ราย ส่วนที่เหลืออักเสบเป็นก้อนตามที่ต่าง ๆ เช่น ลำไส้ ไต กระดูก อีก 45 ราย ได้รับผลการรักษาไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีคนที่ใช้ต้นสดล้างน้ำสะอาดคั้นเอาน้ำมาเคี่ยวให้ข้น ใช้เป็นยาแก้แผลเป็นหนองได้ โดยทั่วไปจะชะล้างแผลให้สะอาดก่อนแล้วใช้ยาที่ทาแล้วเอาผ้าพันไว้ และให้เปลี่ยนยาเรื่อย ๆ จนกว่าแผลจะหาย
* จากการใช้รักษาแผลเป็นหนอง ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 120-180 กรัม ที่นำมาล้างให้สะอาดแล้วตำให้ละเอียดใส่น้ำ 1-1.5 ลิตร ต้มพอเดือดแล้วยกลงจนน้ำร้อนประมาณ 40 องศาเซลเซียส ใช้ผ้าขนหนูชุบวางบนแผลวันละ 2-4 ครั้ง หรือเอาผ้าพันแผลพับ 4-6 ครั้ง ชุบยานี้ให้ชุ่มวางไว้บนแผลวันละ 2-4 ครั้ง โดยครั้งหนึ่งให้พันไว้ประมาณ 20-60 นาที นอกจากนั้นอาจใช้ต้นตำให้แหลกใช้พอกแผลพันเอาไว้ เปลี่ยนยาวันละ 4-6 ครั้งก็ได้ สำหรับการชะล้างหรือตำพอกนี้จะเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคผิวหนังที่มีน้ำเหลืองหรือโรคติดเชื้อภายนอก เช่น แผลอักเสบบวมเจ็บ แผลถูกผึ้งต่อย แผลมีน้ำเหลืองในช่วงฤดูร้อน เด็กเป็นกลากน้ำนม เป็นต้น และการชะล้างยังใช้กับแผลมีน้ำเหลืองและเท้าเน่าเปื่อยที่เป็นติดต่อกันได้อีกด้วย โดยวิธีการพอกที่ใช้กับแผลเน่าเปื่อยที่หนังหลุดออก เช่น แผลที่เกิดจากความชื้น แผลลอก เด็กเป็นผดผื่นคันที่เกิดจากความชื้นหรือโรคผิวหนังอักเสบชนิดติดต่อได้ โรคเหล่านี้นอกจากจะใช้ยานี้ภายนอกแล้วยังกินร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้วภายใน 1-2 อาทิตย์จะหาย ส่วนพวกแผลถลอก ผิวหนังเน่าเปื่อยหลุดลอก ถ้าใช้ยานี้พอกเพียง 3-4 วัน ผิวหนังก็จะเจริญขึ้นมาใหม่
ประโยชน์ของผักเบี้ยใหญ่
1. ผักเบี้ยใหญ่มีรสเปรี้ยวใช้รับประทานเป็นผักสด ผักสลัดได้ หรือนำมาต้ม ลวก รับประทานร่วมกับน้ำพริก ใช้ใส่ในแกงจืด ซึ่งจะออกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ชาวยุโรปจึงนำมาดองใส่เกลือและน้ำส้ม เพื่อเก็บเอาไว้รับประทานในช่วงฤดูหนาวหรือยามขาดแคลน โดยคุณค่าทางโภชนาการของผักเบี้ยใหญ่ ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วยโปรตีน 2.2 กรัม, ไขมัน 0.3 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 7.9 กรัม, ใยอาหาร 1.1 กรัม, น้ำ 87.5%, แคลเซียม 115 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 40 มิลลิกรัม, วิตามินเอ 2,200 หน่วยสากล, วิตามินบี 1 0.06 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.14 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 0.8 มิลลิกรัม, วิตามินซี 21 มิลลิกรัม
2. ในทวีปยุโรปบางประเทศจะปลูกต้นผักเบี้ยใหญ่เป็นไม้ประดับ
ข้อควรระวัง : การรับประทานผักชนิดนี้ในปริมาณมาก ๆ จะทำให้เกิดอาการเป็นพิษทั้งในคนและสัตว์ โดยการเป็นพิษนี้จะเกิดจาก Oxalic acid ที่มีอยู่ในผักเบี้ยใหญ่
SHARE NOW

Facebook Comments