“มะระขี้นก” ผักขม สยบเบาหวาน

“มะระขี้นก” ผักขม สยบเบาหวาน

สมุนไพรสู้โรค | “มะระขี้นก” ผักขม สยบเบาหวาน

ใน “มะระขี้นก” ประกอบไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ชาแรนทิน (Charantin) โพลีเปปไทด์พี (polypeptide-p) หรือ p-insulin ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับฮอร์โมนอินซูลิน ที่ทำหน้าที่ลดน้ำตาลในเลือด ทำงานเลียนแบบอินซูลินในร่างกายมนุษย์
🔻กลไกที่ออกฤทธิ์ต้านเบาหวาน ได้แก่
▪️ช่วยซ่อมแซมหรือส่งเสริมการเจริญเติบโตใหม่ของเซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนอินซูลิน [เบต้าเซลล์ (β-cells) ในไอเล็ตส์ออฟแลงเกอร์ฮาน (islets of langerhans)]
▪️กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน
▪️เพิ่มความไวต่ออินซูลิน ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ดีขึ้น
▪️ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ
▪️เพิ่มการใช้กลูโคสโดยเซลล์กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ
▪️ยับยั้งเอนไซม์กลูโคไซเดส ที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล
จากการศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิผลในการรับประทานมะระขี้นกแคปซูล ในผู้ป่วยที่มีภาวะก่อนเบาหวาน [(pre-diabetes) เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดขณะท้องว่าง : 100 – 125 mg/dl] พบว่า มะระขี้นกมีผลช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของค่าน้ำตาลสะสมได้ และเมื่อรับประทานมะระขี้นกต่อเนื่อง 6 เดือน มีความปลอดภัยของตับและไต
ผงจากเนื้อผลแก่ที่ยังไม่สุกของมะระขี้นก ขึ้นทะเบียนเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ใช้แก้ไข้ แก้ร้อนใน เจริญอาหาร โดยชนิดชาชง รับประทานครั้งละ 1 – 2 กรัม ชงน้ำร้อนประมาณ 120 – 200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร ชนิดแคปซูลรับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร
กรณีรับประทานเป็นผักเคียง แนะนำมื้อละ 3-5 ผล อาจกินผลสด หรือลวกให้สุก ต้องแกะเมล็ดออกทุกครั้งก่อนรับประทาน เพราะเมล็ดมีสารที่ชื่อว่า ไวซิน (Vicine) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ ปวดท้อง (ผู้ป่วย G6PD ห้ามกินเมล็ดมะระขี้นก เพราะมีรายงานว่าอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตก) ไม่ควรกินผลสุก เพราะจะทำให้ท้องเสีย
🚫 ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
▪️ห้ามใช้ในเด็กหรือหญิงให้นมบุตร เนื่องจากมีรายงานว่าทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมากจนเกิดอาการชักได้
▪️ควรระวังการใช้มะระขี้นกร่วมกับยาลดน้ำตาลในเลือด เพราะอาจทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์กันได้ โดยเฉพาะในผู้ที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีอยู่แล้ว
▪️ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ โรคหัวใจ
🔖แหล่งอ้างอิง
1. Joseph B, Jini D. Antidiabetic effects of Momordica charantia (bitter melon) and its medicinal potency. Asian Pac J Trop Dis 2013; 3(2): 93-102
2. วิระพล ภิมาลย์ และปวิตรา พูลบุตร. ผลของมะระขี้นกในรักษาโรคเบาหวาน: กลไกการออกฤทธิ์และประสิทธิภาพทางคลินิก. [อินเตอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 8 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : file:///C:/Users/User/Downloads/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%20%E0%B8%AD.%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A5%20Biiter%20gourd_DM%2012%20Sep%202016%20(2)%20(1).pdf
3. สุภาภรณ์ ปิติพร และคณะ. การศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิศักย์การลดน้ำตาลในเลือดของมะระขี้นกแคปซูลใน ผู้ที่มีภาวะก่อนเป็นเบาหวาน
📌 ติดตามอภัยภูเบศรได้ที่
FB : https://www.facebook.com/abhaiherb
IG : https://www.instagram.com/abhaiherb.official/
Line shop : https://lin.ee/53n7oUF
Line คลินิก : https://lin.ee/HGT0wkz
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCtYAMPNpxrb62S3h3agetOQ
TikTok : https://www.tiktok.com/@abhaiherb
Cr. ภาพ istockphoto
#สมุนไพรสู้โรค #มะระขี้นก #เบาหวาน #ลดน้ำตาลในเลือด #สมุนไพรอภัยภูเบศร #อภัยภูเบศร

SHARE NOW
Exit mobile version