กัญชาออกฤทธิ์ได้เหมือนยาแก้ปวด

กัญชาออกฤทธิ์ได้เหมือนยาแก้ปวด

กัญชาออกฤทธิ์ได้เหมือนยาแก้ปวด

กัญชาออกฤทธิ์ได้เหมือนยาแก้ปวด

ภาพประกอบอาจจะเข้าใจยากหน่อยนะครับ แต่ผมอยากให้เห็นว่า กัญชา โดยเฉพาะสาร CBD นั้น ในงานวิจัยเราพบว่า มันสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่สำคัญ คือ

เอนไซม์ Cyclooxygenase-2 (COX-2) ที่นำไปสู่การปวด การอักเสบ และการเสื่อมของเซลล์ ในกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นทุกชนิดในร่างกายได้

ซึ่งการออกฤทธิ์ของ CBD จะเป็นแบบ Selective Cyclooxygenase-2 inhibitor ซึ่งก็คือ การชอบหรือเลือกจับเพื่อยับยั้งกับตัวนี้โดยเฉพาะ (ในร่างกายเรามี Cyclooxygenase-1 และ Cyclooxygenase-2)

ซึ่งตัวเอนไซม์ COX-2 สร้างผลเสียให้ร่างกายได้ในกระบวนการอักเสบที่เกิดขึ้น เพราะจะนำไปสู่การหลั่งสารต่างๆออกมามากมาย

จากภาพเราจะเห็นว่า รูปกากบาทสีแดงที่ผมเขียนขึ้น คือ ตำแหน่งวงจรบางส่วนของการออกฤทธิ์ของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในกระบวนการอักเสบและการปวด ซึ่งกัญชาสามารถเข้าไปออกฤทธิ์ได้ ไม่ต่างจากยาแก้ปวด

ปัจจุบัน มีงานวิจัยว่า กัญชา มีฤทธิ์เทียบเท่ากับยาแก้ปวด และยังค้นพบว่า ยาพาราเซตามอลที่เรากินแก้ปวด แท้จริงก็ไปออกฤทธิ์ที่ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ด้วยเช่นกัน

ฉะนั้น ตามภาพประกอบนี้ เราก็เริ่มจะเข้าใจแล้วว่า พื้นฐานของการเกิดโรคทุกชนิด ล้วนมีการอักเสบเข้ามาเกี่ยวข้อง การตัดวงจรการอักเสบได้ ก็จะช่วยลดการเจ็บป่วยต่างๆลงได้

ถ้าเข้าใจตรงนี้แล้ว การนำสารสกัดจากกัญชาหรือกัญชง ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ ก็เป็นเรื่องที่ยังไงก็ต้องลอง

ปล. การอักเสบนำไปสู่โรคมะเร็ง และมีความพยายามนำยาแก้อักเสบ มาใช้ในการร่วมรักษาหรือป้องกันโรคมะเร็งด้วย ฉะนั้น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการอักเสบแบบเรื้อรัง เป็นปัญหาต่อสุขภาพที่แท้จริง

จึงเป็นเรื่องที่ยอมรับในระดับสากล และกัญชาหรือกัญชง จึงจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดอีกทาง เพราะดูแลระบบใหญ่ที่สุดในร่างกายไว้ในมือ

อ้างอิงบางส่วนจาก

Evaluation of the cyclooxygenase inhibiting effects of six major cannabinoids isolated from Cannabis sativa. Biol Pharm Bull. 2011;34(5):774-8.

Cannabidiolic Acid as a Selective Cyclooxygenase-2 Inhibitory Component in Cannabis. Drug Metabolism and Disposition September 2008, 36 (9) 1917-1921

Substrate-selective COX-2 inhibition as a novel strategy for therapeutic endocannabinoid augmentation. Trends Pharmacol Sci. 2014 Jul; 35(7): 358–367.

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

SHARE NOW

Facebook Comments