☘️วิตามินบี☘️
ตัวช่วยคลายเครียด และยังต้านร้อนในอีกด้วย😲
🍁แหล่งอาหารที่มีวิตามินบี พบในอาหารประเภทใดบ้างมาดูกันค่ะ
☘️วิตามินบี 1 (ไทอามีน)
จะช่วยเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคเหน็บชา
หากขาดจะเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้
🐷พบในเนื้อหมู เมล็ดทานตะวัน ข้าวซ้อมมือซึ่งจะพบมากที่เปลือกและจมูกของข้าว ถ้าเป็นข้าวที่ขัดสีจะพบปริมาณวิตามิน บี 1 น้อยกว่าข้าวซ้อมมือถึง 10 เท่า
☘️วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน)
เกี่ยวข้องกับการสร้างเส้นผม เล็บ และผิวหนัง
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก
🍖🥗🥚จะพบในอาหารจำพวกข้าว ธัญพืช เนื้อสัตว์ ไข่ นม เครื่องในสัตว์ ตับ ผักใบเขียว โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต
☘️วิตามินบี 3 (ไนอาซิน หรือ ไนอาซินามายด์)
จะช่วยเรื่องผิวหนังแห้งเมื่อเจอแสงแดด
ถ้าขาดมากจะพบอาการท้องเสีย สมองเบลอ เกิดอาการขี้หลงขี้ลืมได้
🍗🥜พบในอาหารจำพวก ตับ เนื้อสัตว์ ข้าวโอ๊ต ถั่ว จมูกข้าว ยีสต์ ผักใบเขียว ปริมาณที่ควรได้รับไม่ควรเกิน 35 มิลลิกรัมต่อวัน
☘️วิตามินบี 5 (แพนโททินิก แอซิด)
ถ้าขาดจะทำให้ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยนไป มีอาการเหน็บชาตามปลายมือ ปลายเท้า
🍖🥔พบมากในอาหารจำพวกเนื้อไก่ เนื้อวัว ตับ มันฝรั่ง
เมล็ดทานตะวัน
☘️วิตามินบี 6 (ไพริดอกซีนหรือไพริดอกซามีน)
จะเกี่ยวกับระบบของเส้นประสาท
หากขาดวิตามินบี 6 จะเกิดภาวะซีด โลหิตจางได้
🥔🍌🍉พบมากในเนื้อสัตว์ ปลา ไก่ ตับ มันฝรั่ง กล้วย แตงโม นม ไข่แดง ข้าวกล้อง รำข้าว จมูกข้าวสาลี ถั่วต่าง ๆ เมล็ดงา ปริมาณที่ควรได้รับไม่ควรเกิน 100 มิลลิกรัมต่อวัน
☘️วิตามินบี 7 (ไบโอตีน)
จะเกี่ยวกับเรื่องผิวหนัง
ถ้าขาดจะเป็นผิวหนังอักเสบ
ลำไส้อักเสบ
🥜🥜ส่วนใหญ่พบในดอกกะหล่ำ ถั่ว กล้วย ปลาแซลมอน ไข่ ตับ งา
☘️วิตามินบี 9 (โฟลิกแอซิด)
จะเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือด
หากขาดจะเป็นโรคโลหิตจางได้
🥦🥦พบในถั่ว ผักโขม บรอกโคลี คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักกาดหอม ปริมาณที่ควรได้รับไม่ควรเกิน 1,000 ไมโครกรัมต่อวัน
☘️วิตามินบี 12 (ไซยาโนโคบาลามิน)
เป็นวิตามินที่มีความสำคัญเกี่ยวกับระบบประสาท
หากขาดจะเกิดอาการโลหิตจางได้
มีขนาดเม็ดเลือดแดงโตกว่าปกติ
🥚🍖พบในกลุ่มเนื้อสัตว์ ไข่แดง โยเกิร์ต
ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ
Facebook Comments