ศิลาจารึกวัดมหาธาตุ
ศิลาจารึกวัดมหาธาตุ
ประวัติผู้แต่งศิลาจารึกวัดมหาธาตุ
แต่งโดยกษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่ง ซึ่งไม่อาจทราบพระนามได้ ใช้คำสรรพนามบุรุษที่หนึ่งว่า “เรา” คำสัตย์สามบานนี้ทรงให้ไว้แด่สมเด็จเจ้าพระยาซึ่งเป็นกษัตริย์ต่างเมือง
ประวัติศิลาจารึกวัดมหาธาตุ
หลักศิลาจารึกนี้เป็นหินชนวนสีเขียว สูง 63 เซนติเมตร กว้าง 48 เซนติเมตร หนา 7.5 เซนติเมตร หักเป็น 3 ชิ้น โดยชิ้นที่ 1-2 หน่วยขุดแต่งและบูรณะเมืองสุโขทัยขุดพบที่เจดีย์น้อย ข้างหน้าเจดีย์ 5 ยอดทางด้านใต้ของวัดพระมหาธาตุ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เมื่อ พ.ศ. 2499 ชิ้นที่ 3 นายบุญธรรม พูนสวัสดิ์ เป็นผู้ให้ในปีเดียวกันนี้ ปัจจุบันอยู่ในแผนกหนังสือตัวเขียนและจารึก กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ด้านการจารึกไม่อาจทราบได้ว่าจารึกขึ้นในปีใด เนื่องจากมีข้อความชำรุดมากมายหลายตอน แต่ศิลาจารึกนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการกระทำสัตย์สาบาน หรือในพิธีกระทำสัตยาธิษฐานขององค์พระมหากษัตริย์
คำนำหลักศิลาจารึกวัดมหาธาตุ
หลักศิลาจารึกวัดมหาธาตุ เป็นศิลาจารึกซึ่งว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับการถวายสัตย์สาบานระหว่างพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งซึ่งให้ไว้แก่สมเด็จเจ้าพระยาซึ่งเป็นกษัตริย์ต่างเมือง โดยเนื้อหาทั้งหมดของศิลาจารึกหลักนี้จะช่วยแสดงให้ชนรุ่นหลังเห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ การดำรงชีวิต ตลอดจนวัฒนธรรมการปกครองของกษัตริย์ไทยสมัยสุโขทัยว่าเป็นอย่างไร
บรรทัดที่ ๑ ถึง ๕
ญายใจ จากหลาย บริคณ สนธิ
กทำ นตรายอนั หมายในพระสตัยปรดิช ัญามหาบุน
งักลาวมานิราก ใหแดน ้าพรญาต่ห น ้าพระศรีรดันดั ไตรยบ พิตรเปนเจา
มหาสวามีศรีสงัฆราชพระมหาเถรทรัมทรั ศีอิกชุ นุ สงฆคามาวาสีอรญวาศิ
ทิพพิชัญาน แล ทีแทผิเราบ่ จงใจซิอิเอาส ตัยปรดิชัญาในพ ระมหาสุ
บรรทัดที่ ๖ ถึง ๑๐
ดเราเอาไมตรีมากงั ให ้เปนโสภาพายน อกในใจใสจงกทำ สรัพโทษาดัง
ใหจุงเกอดสรัพรโทษาน ตราย ในตนยลปรดัยกัษทนัตาญาไดเปน ทาว
น่าพายเมิอไปในปอร โลกกดีทุรคติ ในนรกอกอพิจิมีแด เราอนัต
หมายยิงพนั เปนตนวาบั ญจานนตริกอนั อธิกหนกัหนาจุ งมีแดเรา
ญงั ทรงธอรมาน ในปรเทศเรากดีปรเทศ น ้ากดีปรเทศ อี
บรรทัดที่ ๗ ถึง ๑๕
ญาให เอาบินทิบาตร แด เราเ ลย หินให ติะตยนดยลน ิ
อนัมี ในโลก นิแล ้ ทีแทผิ เราอยู่ ในส ตัยปรด ิชญา
อำนาจ กุสลสตัยจุง เผิอน ้าหลาน ปรดิพทัธ ไมตริ มิ
พานญา มีปรดิ ฆ เวรานุ เวรสกัเมิอ เลย ในปร
แดบูพรญานนั เรากลาวจริงแล ้ คม ้อมิ อนัอุด มธัยม
บรรทัดที่ ๑๖ ถึง ๒๐
อนันนั เราก่ ใหสตัยดงั วาในบตัร นิแล ้ แม ้ น ้าพร ญา
ตัรนิ แล แมจวาสว รูปลวง อุดัมใสเปน ปรากดรู ทุก
อปรมนตริ บริพาร ทงัหลาย แล ้
บตัรส ตัยปรดิช ญาตราบริบูร ณมูล ไมตริมิ ปรดิพ
ทีพยพิชญา นมิทุก ปรการ เสรจ เหดุส เดจ ส
บรรทัดที่ ๒๑ ถึง ๒๕
พระไมตรี บใหมี จ่ ลาจล ท่านจิง จกัดำกลแผน
อนันิ ในพระศรี รตันมหาธาตุ เจ ้า พอเมีอ มหา
นกัษตรั มาสไพศาขบรูณมี ศรีศุภฤกษา วิศา ขวนั ๓
ปรถมราตรี พระจนัทรา อุไทยขิ ้น ใหส่าง อนธการ ทุ
ฉบับถอดความ
ศิลาจารึกวัดมหาธาตุ
กล่าวถึงคำสัตย์สาบานของพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์หนึ่ง ซึ่งไม่ทราบพระนาม ใช้คำสรรพนามบุรุษที่ 1 ว่า เรา คำสัตย์สาบานนี้ทรงให้ไว้แต่สมเด็จเจ้าพระยาซึ่งเป็นกษัตริย์ต่างเมือง
บรรทัดที่ 1-5 กล่าวถึงเงื่อนไขของคำสัตย์ปฎิญญาว่า พระองค์จะไม่ทรงกระทำอันตรายใดๆ แก่บุคคลฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยา หาบุคคลคณะนี้เข้ามาสู่ราชสำนักของพระองค์ และพระองค์ไม่ทรงกระทำอันตรายใดๆแด่สมเด็จเจ้าพระยา หากสมเด็จเจ้าพระยามีพระราชประสงค์จะเสด็จมากราบไหว้พระมหาธาตุ หรือกราบไหว้พระธาตุของพระมหาธรรมราชาธิราช
บรรทัดที่ 6-12 เป็นคำสาปแช่ง หากพระองค์ทรงกลับสัตย์ โดยกล่าวว่าต่อคำสัตย์ปฎิญญาณดังกล่าวนั้น พระองค์ทรงให้ไว้แด่สมเด็จเจ้าพระยาด้วยใจรักด้วยไมตรีต่อหน้าพระรัตนตรัย พระมหาสวามีศรีสังฆราช และต่อหน้าชุมนุมสงฆ์ หากพระองค์ทรงกระทำอันตรายใดๆ แด่สมเด็จเจ้าพระยา เป็นการกลับสัตย์แล้ว ขอให้พระองค์ทรงประสบอันตรายประจักษ์ทันตาเห็น
บรรทัดที่ 13-25 เป็นคำขอพร ขอให้อำนาจแห่งกุศลสัตย์จงดลบันดาลให้พระองค์ทรงบรรลุพระนิพพาน
บรรณานุกรมศิลาจารึกวัดพระมหาธาตุ
น้อมนิจ วงศ์สุทธิธรรม. วรรณคดีสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่๔. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง , ๒๕๓๔.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์ , ๒๕๒๕.
สำนักนายกรัฐมนตรี. ประชุมศิลาจารึก ภาคที่๔. โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี , ๒๕๑๕.
ดัชนีคำศัพท์ศิลาจารึกวัดพระมหาธาตุ
กุสล
: ผลบุญ
เกอด
: บังเกิดขึ้น
ใจใส
: ด้วยความซื่อตรง
ชุนุ
: ชุมชน
ญา
: อย่า
ญายใจ
: หันไปเข้ากับอีกฝ่ายหนึ่ง
ดำกล
: คิดค้น
ติะตยน
: คำว่ากล่าว , ติเตียน
ธอรมาน
: ความทุกข์ , ความเจ็บปวด
นตราย
: การกระทำผิด
บตัรนิ
: ในขณะนี้
ปริชัญา
: คำสัญญา , คำสาบาน
ปรดิพัท
: สัมพันธ์
เมีอ
: เมื่อ
สเดจ
: เลิก
หน้า
: น้า
หมายยิงพัน
: คาดว่า
อปร
: รวมทั้ง , ร่วม
อุดัม
: บริบูรณ์
อุไทย
: ดวงอาทิตย์