ยอ สมุนไพรทางเลือกเพื่อกระเพาะและลำไส้

ยอ สมุนไพรทางเลือกเพื่อกระเพาะและลำไส้

ยอ สมุนไพรทางเลือกเพื่อกระเพาะและลำไส้

🟢 ยอ สมุนไพรทางเลือกเพื่อกระเพาะและลำไส้

“ยอ” (Morinda citrifolia L. ) ชื่อภาษาอังกฤษ Indian mulberry หรือในแถบฮาวายจะเรียกว่าโนนิ (noni)
สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานของไทยผล ยอดิบหรือห่าม ให้รสขมเล็กน้อย ใช้แก้อาเจียน ขับลม บำรุงธาตุ
🔻วิธีใช้ยอเป็นยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่ไม่รุนแรง
ให้เลือกเอาผลดิบหรือผลห่ามสด ฝานเป็นชิ้นบางๆ ย่างหรือคั่วไฟอ่อนๆ ให้เหลืองกรอบ นำมาบดเป็นผง แล้วใช้ผงประมาณ 20 กรัม ชงกับน้ำเดือดใหม่ๆ 1 ลิตร แช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที กรองเอาแต่น้ำใส่กระติกน้ำร้อนไว้ จิบน้ำยาประมาณ 30 มิลลิลิตรทุก 2 ชั่วโมง เวลาคลื่นไส้อาเจียน จิบทีละน้อยและบ่อยๆ ครั้งจะได้ผลดีกว่าดื่มทีเดียว
🔎จากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยอ พบฤทธิ์ในการยับยั้งอาการอาเจียน แต่แสดงฤทธิ์น้อยกว่ายาแก้อาเจียน metoclopramide
🔎อีกการศึกษาใช้ผงแห้งยอ 600 มิลลิกรัม ให้กิน 1 ชั่วโมง ก่อนการผ่าตัด ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการคลื่นไส้อาเจียนภายใน 6 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดได้ แต่ไม่มีผลในช่วง 6-24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด
🔎การศึกษาแผนปัจจุบัน พบว่า ผลยอมีสารสโคโปเลตินแสดงฤทธิ์ Gastrokinetic activity คือ กระตุ้นการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารและยับยั้งการเกิดแผล ยับยั้งการหลั่งกรดของท่อทางเดินอาหาร มีประสิทธิภาพป้องกันการเกิดภาวะหลอดอาหารอักเสบ เนื่องจากการไหลย้อนกลับของกรดจากกระเพาะอาหาร และป้องกันภาวะกระเพาะอาหารอักเสบ เนื่องจากสารเอธานอล เทียบเท่ากับยารานิทิดีนและยาแลนโซพราโซล
…นอกจากนี้ ยังมีข้อมูล พบว่า “ยอ” มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อก่อโรคในลำไส้ น้ำหมักลูกยอเองยังเป็นแหล่งของโพรไบโอติก (probiotics) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลภายในลำไส้ ทำให้สุขภาพของลำไส้ดีขึ้น ทั้งยังให้ประโยชน์อื่นๆ เช่น เพิ่มภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
สรุปได้ว่า “ยอ” จัดเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ รวมทั้งกรดไหลย้อนได้ เพราะยอช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยมีผลลดการหลั่งกรด ทำให้การบีบตัวของหลอดอาหารดีขึ้น และยังบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน มีส่วนช่วยให้ลำไส้แข็งแรงจากการเป็นแหล่งของโพรไบโอติก (probiotics) และช่วยฆ่าเชื้อก่อโรคในลำไส้
🔖เอกสารอ้างอิง
1. วิชัยเอกพลากรสำรวยทรัพย์เจริญประทุมวรรณ์แก้วโกมลและคณะ, การศึกษาทางคลินิกของผลยอในการระงับอาการอาเจียนรายงานการวิจัยโครงการสมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐานสำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐานกระทรวงสาธารณสุข
2. Prapaitrakool S et al. Morinda Citrifolia Linn. for Prevention of Postoperative Nausea and vomiting. J Med Assoc Thai 2010,93 (12) 204
3. Mahattanadul S et al., Effects of Morinda citrifolia aqueous fruit extract and its biomarker scopoletin on reflux es ophagitis and gastric ulcer in rats. J Ethnopharmaco 2011; 134 (2): 243-50.
4. Nima S et al. Gastrokinetic activity of Morinda citrifolia aqueous fruit extract and its possible mechanism of action in human and rat models. J. Ethnopharm 2012; 142: 354-61.
5. Assi RA. et al. Morinda citrifolia (Noni): A comprehensive review on its industrial uses, pharmacological activities, and clinical trials. Arabian Journal of Chemistry 2017; 10 (5): 691-707.
📃ข้อมูลจากอภัยภูเบศรสาร ฉบับเดือนมกราคม 2564 คอลัมน์พืชใกล้ตัว โดย ภญ. อัญชิสา กัทลี
SHARE NOW

Facebook Comments