กัญชง กัญชา

รวบรวมความรู้ต่างๆจากทั้งแพทย์ เภสัชกร แพทย์แฟนไทย ภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ไปพบไปอ่นเจอ เพื่อสะดวกในการค้นหา

ทำไมกัญชาจึงทำให้ผู้ป่วยกินข้าวได้มากขึ้น

ทำไมกัญชาจึงทำให้ผู้ป่วยกินข้าวได้มากขึ้น

ทำไมกัญชาจึงทำให้ผู้ป่วยกินข้าวได้มากขึ้น

โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง หรือ มะเร็ง ที่เบื่ออาหาร

เพราะกัญชา กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า Ghrelin ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้ ควบคุมความรู้สึกหิวอาหาร
เมื่อ สาร THC กระตุ้นตัวรับ CB1 ทำให้ฮฮร์โมนตัวนี้หลั่งออกมามากขึ้น ทำให้กระตุ้นให้มีความอยากอาหารมากขึ้นนั่นเอง
นอกจากนั้น กัญชายังทำให้ผู้ป่วยที่เบื่ออาหารรู้สึกได้กลิ่นอาหารที่ดีมากขึ้นด้วย
กัญชาทำให้สมองและลำไส้ทำงานเข้าขากันมากขึ้น

กัญชาทำให้สมองและลำไส้ทำงานเข้าขากันมากขึ้น

เมื่อกัญชาทำให้สมองและลำไส้ทำงานเข้าขากันมากขึ้น
รู้หรือไม่ครับว่า ลำไส้ เป็นสมองที่สอง ของมนุษย์คนเรา
อะไรที่สมองมี ลำไส้มี สมองมีกลไกทำงานอย่างไร ลำไส้ก็มีการทำงานเช่นกัน และแน่นอน
สมองมีระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งลำไส้ รวมทั้งระบบทางเดินอาหาร ก็มีเช่นกัน มีครบเหมือนกัน ทั้งสาร AEA , 2-AG และตัวรับก็มีเหมือนกันทั้ง CB1 ,CB2 และตัวรับอื่นๆ
สมองในหัวมี ระบบประสาทส่วนกลาง ที่เรียกว่า Central Nervous System หรือ CNS
ส่วนสมองในลำไส้ก็มีระบบประสาท ที่เรียกว่า Enteric Nervous System หรือ ENS
ซึ่งระบบประสาททั้ง 2 ส่วนนี้ สื่อสารกันได้ พูดจาภาษาเดียวกัน ส่งต่อข้อมูลซึ่งกันและกันตลอดเวลา
กัญชาเข้าไปทำให้การสื่อสารหรือส่งสารระหว่างระบบประสาท 2 ระบบนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รายงานผลได้ไว เพื่อสั่งการป้องกันและรักษาโรคที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือ
จะให้เห็นภาพก็ กัญชา คือ ระบบอินเตอร์เนต 5 จี ของระบบประสาททั้ง 2 ส่วนนี้ ที่ทำให้การส่งข้อมูลได้อย่างไวและมีประสิทธิภาพนั่นละครับ
จากภาพประกอบ จะเห็นถึงความสัมพันธิ์ของลำไส้กับสมองที่มีการรายงานผลของเหตการณ์ที่เกิดขึ้นในร่างกายอยู่ตลอดเวลา เพื่อทำการสั่งการและแก้ไข เพื่อทำให้โรคนั้นหาย หรือ จำกัดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในร่างกาย
ผ่านสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ที่ร่างกายสร้างขึ้น รวมทั้งกัญชาที่นำเข้าไปในร่างกาย
กัญชา จึงคือ ระบบอินเตอร์เนตที่มีเครือข่ายที่ทรงพลังที่สุดในร่างกาย
และโดยส่วนตัวของผู้เขียน ที่ศึกษาระบบนี้ลึกลงเรื่อยๆ เห็นว่า ความซับซ้อนของระบบนี้ อาจเป็นต้นแบบระบบ BlockChain ตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นมานานกว่า 600 ล้านปีแล้ว
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

น้ำมันกัญชา

น้ำมันกัญชา

น้ำมันกัญชา

น้ำมันกัญชา
♼กัญชา=ยาแก้ปวด
♼กัญชา=ยาสามัญประจำบ้าน
♼อีกไม่นาน..
ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะ
คงรับศึกน้อยลง!
เราคงจะเคยได้ยินมาว่า มีการนำกัญชาไปใช้ในผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการปวดเรื้อรัง จนนำไปสู่การทุกข์ทรมาน เพราะยาแก้ปวดในกลุ่มอื่นๆใช้ไม่ได้ผลแล้ว
แต่หลายท่านยังไม่ทราบว่า แท้จริงแล้ว กัญชา เป็นยาแก้ปวด ที่รักษาหรือบรรเทาอาการปวดได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะปวดหัว ปวดไมเกรน ปวดจากเส้นประสาทถูกทำลาย ปวดข้อ ปวดเก๊าท์ เป็นต้น
เอาเป็นว่า ทุกๆการปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ไม่ว่าจะสาเหตุอะไร โรคไหน กัญชาสามารถเอาอยู่ เพราะอะไร มาดูข้อมูลกัน
จากการศึกษาวิจัย เราพบว่า กัญชา ทั้งสาร CBD และ THC และสารอื่นๆที่อยู่ในกัญชา มีการออกฤทธิ์ผ่านกลไกเดียวกับยาเคมีที่ปวดที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกเหนือจากการจับกับตัวรับ CB1 และ CB2
นอกจากนั้น กัญชายังมีฤทธิ์ทำให้สารกัญชาตามธรรมชาติในร่างกายที่เรียกกันว่า 2-AG และ AEA มีการเพิ่มขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของสารนี้ ทำให้ร่างกายสามารถทนการปวดได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับกลไกการออกฤทธิ์นั้น จากการศึกษาวิจัยพบว่า กัญชาออกฤทธิ์ผ่านกลไก ดังนี้
1. ยับยั้งเอนไซม์ที่มีชื่อว่า Cyclooxygenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำให้มีการหลั่งสารพรอสต้าแกลนดิน ซึ่งทำให้มีการปวดเกิดขึ้นนั่นเอง (ยาเคมีแก้ปวดในปัจจุบัน ออกฤทธิ์ผ่านทางนี้)
2. จับกับตัวรับที่มีชื่อว่า โอพิออยด์ (Opioid receptor) ซึ่งเป็นตัวรับเดียวกับยาแก้ปวดพวกมอร์ฟีน แต่กัญชา ไม่ทำให้คนไข้ติดยา และ เสียชีวิต จากการใช้เกินขนาด และกดการหายใจ เหมือนกับยาแก้ปวดกลุ่มมอร์ฟีน
3. ยับยั้งเอนไซม์ที่ชื่อว่า Fatty acid amide hydrolase (FAAH) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารกัญชาให้หมดฤทธิ์ไว
4. ยับยั้งการส่งกระแสประสาทที่นำไปสู่การปวดเกิดขึ้น ทั้งในระบบประสาทส่วนปลายและระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ลดการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านตัวรับ CB1 และ CB2 ในระบบประสาททั้ง 2 ส่วน
5. ออกฤทธิ์ผ่าน Vallinoid receptor ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ลดการปวดร่วมกับกลไกอื่นๆที่กัญชาไปออกฤทธิ์
นอกจากนี้ กัญชายังออกฤทธิ์ผ่านกลไกแก้ปวดอีกหลายๆกลไก ที่กำลังอยู่ในการค้นพบและวิจัย
ดังนั้น เราจะเห็นว่า กัญชานั้น ออกฤทธิ์ผ่านระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งเป็นระบบที่ควบคุมการปวดในร่างกาย ได้มากกว่าหนึ่งกลไก ทำให้ควบคุมและการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และการปวดแบบเรื้อรัง ที่ผู้ป่วยต้องใช้ยาเคมีประจำ การใช้กัญชา จะทำให้ผู้ป่วยไม่ติดยา และลดอาการข้างเคียงต่างๆของยา เช่น ไตวาย ได้อย่างเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องให้กัญชานำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มนี้ด้วย

GPR55 ตัวรับของกัญชา ที่อาจฆ่าตัดตอนเซลล์มะเร็งตั้งแต่ก่อกำเนิดได้

GPR55 ตัวรับของกัญชา

GPR55 ตัวรับของกัญชา ที่อาจฆ่าตัดตอนเซลล์มะเร็งตั้งแต่ก่อกำเนิดได้

GPR55 ตัวรับของกัญชา ที่อาจฆ่าตัดตอนเซลล์มะเร็งตั้งแต่ก่อกำเนิดได้
ตัวรับ GPR55 เป็นตัวรับ หรือ Receptor อีกตัวหนึ่งของสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ทั้งที่ร่างกายสร้างเองได้ เช่น AEA และ 2AG รวมทั้งรับจากกัญชาเข้าไปในร่างกาย
ตัวรับนี้ค้นพบ เมื่อ พ.ศ. 2542 แต่กว่าจะรู้ว่า บทบาทมันคืออะไรก็เมื่อปี พ.ศ. 2550 มีความคล้ายคลึงกับตัวรับ CB1 และ CB2 ประมาณ 14% ในขณะที่ตัวรับ CB1 และ CB2 มีความคล้ายคลึงกัน 64%
งานวิจัยค้นพบว่า สารทั้ง 3 ชนิด คือ THC (จากกัญชา) และ AEA , 2-AG (ร่างกายสร้างเอง) มีคุณสมบัติเข้าไปกระตุ้นตัวรับ GPR55
แต่ในขณะเดียวกัน สาร CBD จากกัญชา ทำงานตรงกันข้าม นั่นก็คือ การเข้าไปยับยั้งหรือขัดขวาง
และจากการทำงานที่ตรงข้ามกันนี้ ทำให้ผลลัพธิ์ที่เกิดขึ้นในร่างกายหรืออวัยวะต่างๆมีผลที่แตกต่างกัน
ซึ่งในส่วนของการเกิดมะเร็ง พบว่า ถ้ามีการกระตุ้นที่ตัวรับ GPR55 จะทำให้เซลล์มะเร็งมีการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นมาได้
แต่ถ้าทำการยับยั้งตัวรับ GPR55 นี้ กลับให้ผลที่แตกต่างกัน คือ เซลล์มะเร็งไม่มีการเพิ่มจำนวนหรือเติบโตขึ้น และนำไปสู่การตายในที่สุด อารมณ์ประมาณว่า กำลังจะเกิด ยับยั้งปุ๊บ ตายเลย
ถึงแม้จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาข้อสรุป แต่เราก็พอทราบแล้วว่า สาร CBD ในกัญชามีบทบาทอย่างมากในการทำลายเซลล์มะเร็งผ่านตัวรับเพิ่มมาอีกตัว นอกเหนือจากตัวหลักพวก CB1 , CB2
ในอนาคตเราจึงต้องหากัญชาที่มีองค์ประกอบของสารที่ทำให้เซลล์มะเร็งกลัวมากที่สุดที่เหมาะสมกับคนไทย
ปล. ภาพประกอบให้เห็นภาพว่า ถ้ายับยั้งตัวรับ GPR55 จะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การทำให้กระบวนการสร้างเซลล์มะเร็งลดลงได้ในที่สุด
อ้างอิงบางส่วนจาก
Concurrent activation of β2-adrenergic receptor and blockage of GPR55 disrupts pro-oncogenic signaling in glioma cells ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Cellular Signalling เมื่อปี ค.ศ. 2017
GPR55 receptor antagonist decreases glycolytic activity in PANC-1 pancreatic cancer cell line and tumor xenografts ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ International Journal of Cancer เมื่อปี ค.ศ. 2017
The LPI/GPR55 axis enhances human breast cancer cell migration via HBXIP and p-MLC signaling ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Acta Pharmacologica Sinica เมื่อปี ค.ศ. 2018
Identification and cloning of three novel human G protein-coupled receptor genes GPR52, PsiGPR53 and GPR55: GPR55 is extensively expressed in human brain ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Brain Research. Molecular Brain Research เมื่อปี ค.ศ. 1999
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

สาร THC และ สาร CBD จากกัญชา

สาร THC และ สาร CBD จากกัญชา

สาร THC และ สาร CBD จากกัญชา

วงการอาหารเสริมในต่างประเทศ ในระดับวิจัย ตื่นเต้นกันมาก เมื่อค้นพบว่า สาร THC และ สาร CBD จากกัญชา หรือ กัญชง

สามารถปรับสมดุลของเชื้อโพรไบโอติกในลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในทางการแพทย์มีการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆว่า

โพรไบโอติก คือ ผู้อยู่เบื้องหลังที่เชื่อมโยงไปสู่ความเจ็บป่วยต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง และ โรคซึมเศร้า เป็นต้น

โพรไบโอติก คือ เชื้อแบคทีเรียที่ดี มีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสารสื่อประสาทที่ทำงานอย่างเหมาะสม เป็นต้น

เช่น มีงานวิจัยค้นพบว่า สาร THC ทำให้เชื้อโพรไบโอติกที่ชื่อว่า Akkermansia muciniphila มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโพรไบโอติกชนิดนี้ เกี่ยวข้องกับ

การเผาผลาญพลังงาน และมักจะเจอน้อยในคนที่อ้วน จึงสามารถนำไปประยุกต์ในผลิตภัณฑ์หรือการรักษาคนอ้วนได้ เป็นต้น ซึ่งในต่างประเทศเริ่มมีละ

นอกจากนี้ยังพบว่า สาร THC ยังช่วยปรับสมดุลสัดส่วนของเชื้อโปรไบโอติก Firmicutes: Bacteroidetes ratio ให้ลดลง

เพราะมีการค้นพบว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างไป มักมีสัดส่วนของเชื้อเหล่านี้ในลำไส้ที่สูง แล้วนำไปสู่กระบวนการอักเสบแบบเรืั้อรังอย่างต่อเนื่อง (low-grade inflammation) ซึ่งนำไปสู่โรค NCDs ต่างๆ

ฉะนั้น สารในกัญชา กัญชง , ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ และ โปรไบโอติก คือ สามอย่างที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดความสุขภาพดีอย่างแยกไม่ออก และสามารถประยุกต์ใช้และเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าได้อีกมาก บนพื้นฐานงานวิจัยระดับสากล

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

ทำไมผู้ชายวัยกลางคนขึ้นไป จึงควรใช้น้ำมันกัญชา

ทำไมผู้ชายวัยกลางคนขึ้นไป จึงควรใช้น้ำมันกัญชา

ทำไมผู้ชายวัยกลางคนขึ้นไป จึงควรใช้น้ำมันกัญชา

ทำไมผู้ชายวัยกลางคนขึ้นไป จึงควรใช้น้ำมันกัญชา

มีรายงานว่า เมื่อผู้ชายวัยกลางคนขึ้นไป จะเริ่มมีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ชายสูงวัย

ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่มักจะไม่แสดงอาการอะไร จะค่อยๆพัฒนาตัวเอง หรือเข้าใจง่ายๆ ก็คือ ซุ่มเงียบ จนแสดงตัวตนหรืออาการขึ้นมา ก็ต่อเมื่อ พวกมันได้กลายเป็นมะเร็งอย่างเต็มขึ้น และมักเจอระยะท้ายๆ หรือ ระยะ 3 หรือ 4 นั่นเอง

และอย่างที่ทราบกัน ไม่ว่ามะเร็งอะไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ระยะท้ายๆ ก็มัก จะสร้างความยุ่งยากในการรักษา หรือ ไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษา ไม่ว่าด้วยวิธีการแบบไหน

นอกจากนั้น ก็ยังมีการค้นพบว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งเป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกาย ก็เข้ามาเกี่ยวข้องกับ ต่อมลูกหมากด้วยเช่นกัน

ทั้งภาวะต่อมลูกหมากปกติ และต่อมลูกหมากผิดปกติ โดยเฉพาะ การเกิดเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น

ซึ่งในกรณีของการเกิดเซลล์มะเร็งในต่อมลูกหมาก พบว่า มีความเกี่ยวข้องกับ สิ่งที่เรียกว่า ERK pathway และ AKT levels หรือ The serine/threonine protein kinase B ซึ่งผมเขียนรายละเอียดไว้ในหนังสือ 82 กระบวนท่า กัญชา กัญชง ฆ่ามะเร็ง

นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับสารอื่นๆ ตามภาพประกอบ ที่ยกมาจากหนังสือ 82 กระบวนท่า กัญชา กัญชง ฆ่ามะเร็ง หน้าที่ 547

โดยพบว่า ก่อนที่จะมีการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก จะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับ AKT ซึ่งพบว่า สารนี้จะมากขึ้นในผู้ที่พบว่า เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือเข้าใจอีกอย่างแบบง่ายๆ ก็คือ

สาร AKT เป็นสารที่มีการกระตุ้นให้เซลล์ต่อมลูกหมากที่ปกติ ค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงและกลายพันธุ์ไปในทางที่ทำให้เกิดเซลล์มะเร็งขึ้น ซึ่งก็ใช้เวลานาน อาจ 10 ปีขึ้นไป แต่เป็น 10 ปีที่โผล่มาแล้ว โอกาสจะเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายเลย นั่นเอง

ซึ่งในงานวิจัยพบว่า สารไฟโตแคนนาบินอยด์ โดยเฉพาะ สาร THC สามารถไปลดสาร AKT ได้ ซึ่งนั่นหมายความอย่างเข้าใจง่ายๆ ก็คือ

สาร THC ยับยั้งหรือชะลอการเกิดเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากได้ ทำให้เซลล์ที่เริ่มจะกลายร่างเป็นเซลลืมะเร็งฝ่อตายไปก่อน ก่อนที่จะเป็นเซลล์มะเร็งเต็มตัว นั่นเอง

ฉะนั้น การที่ผมกล่าวตามหัวข้อที่ตั้งไว้ จึงไม่ใช่เรื่องที่กล่าวเกินจริง

นอกจากนี้ ยังพบว่า ในเซลล์ต่อมลูกหมากที่เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นมา มีการค้นพบว่า มีสารหรือเอนไซม์ ที่เรียกว่า caspase-3 และ Bcl-2 เข้ามาเกี่ยวข้องที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

ซึ่งรายละเอียดผมเขียนไว้ในหนังสือ 82 กระบวนท่า กัญชา กัญชง ฆ่ามะเร็ง สั่งได้ครับ จะได้เข้าใจมากขึ้น และใช้กัญชาได้อย่างถูกต้องและมีความรู้

จากข้อมูลที่อัพเดตในหนังสือ และวิธีการใช้น้ำมันกัญชาอย่างถูกต้องที่ผมเขียนไว้ในหนังสือเล่มดังกล่าว เพียงพอต่อการที่จะให้ผู้ชายทุกท่าน ได้มีโอกาสที่จะห่างไกลจากมะเร็งต่อมลูกหมากได้

แต่สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากแล้ว และเลือกใช้น้ำมันกัญชาเป็นอีกทางเลือกในการช่วยรักษา วิธีการใช้ก็ถูกเขียนไว้ในหนังสือแล้วครับ

แต่การใช้เพื่อป้องกัน และ การใช้เพื่อรักษา จะมีความแตกต่างกันตามหลักการในหนังสือที่เขียนไว้ครับ

สรุป น้ำมันกัญชา สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก ต้องเลือกเน้นสาร THC ด้วย ยิ่งถ้าป่วยแล้ว และการใช้ก็ใช้ตามหลัก Start Low and Go Slow และปรับแบบ Titrate Dose ขึ้นเรื่อยๆ ยกเว้น ถ้าหมดทางละ ไม่มีทางอื่นเลย การใช้ High dose (ขนาดสูงแต่แรก) ก็จำเป็น

และการใช้เพื่อป้องกันหรือชะลอ อ้างอิงตามกลไกที่งานวิจัยค้นพบ ก้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะได้ประโยชน์ด้านมะเร็งแล้ว ยังได้ประโยชน์อื่นๆ ที่มีงานวิจัยยืนยันการใช้ในผู้สูงอายุ นั่นเอง

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

ประโยชน์และผลข้างเคียงจากการใช้ THC/CBD

ประโยชน์และผลข้างเคียงจากการใช้ THC/CBD

ประโยชน์และผลข้างเคียงจากการใช้ THC/CBD

ผู้ใช้ควรรู้!! ประโยชน์และผลข้างเคียงจากการใช้ THC/CBD​

กัญชากับสมองและระบบประสาทส่วนกลาง
THC
1. (THC) ทําให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม มึนเมา
2. (THC) ชะลอการส่งสัญญาณของสมองที่มากเกินไป ทําให้การสื่อสารของสมองลดการถูกรบกวนซึ่งเป็นสาเหตุของความเครียดลง ก่อให้เกิดความคิดที่โลดแล่น (Creative)
3. (THC) ช่วยกระตุ้นการผลิตเซลล์ประสาท (Neurogenesis) ซึ่ง อาจเป็นหนทางของการรักษาหรือบรรเทาโรค อัลไซเมอร์**
4. (THC) ลดการอักเสบของระบบประสาท (Reduce Neuroinflammation) ลดอาการบาดเจ็บหรือการอักเสบในสมอง (more…)

กัญชาต้านแก่ได้

กัญชาต้านแก่ได้

กัญชาต้านแก่ได้

กัญชาต้านแก่ได้

🌿ในแวดวงเวชศาสตร์ชะลอวัย หรือ วงการแพทย์ที่ว่าด้วยการชะลอความแก่ให้กับเซลล์ร่างกายในทุกๆส่วน รวมทั้งผิวหนังด้วย จะมีคำว่า Inflammaging ซึ่งเป็นคำที่มาจาก 2 คำ ดังนี้

🌿Inflammation ซึ่งหมายถึงการอักเสบ กับคำว่า

🌿Aging ซึ่งหมายถึง อายุที่มากขึ้น

🌿พอรวมกันเป็น Inflammaging ซึ่งก็หมายถึง การอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกายตามอายุที่มากขึ้นสะสมไปเรื่อยๆทีละเล็กทีละน้อย

🌺อธิบายให้เข้าใจมากขึ้น ดังนี้🌺

🌸ทุกๆลมหายใจของคนเรา จะมีปฏิกิริยาต่างๆเกิดขึ้นมากมายตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลานอน และผลของปฏิกิริยาเหล่านี้ละ นำไปสู่การอักเสบที่ละเล็กทีละน้อยสะสมไปเรื่อยๆ ซึ่งการอักเสบที่เกิดขึ้น ยังไม่ได้มีผลถึงขนาดว่า เรามีการเจ็บป่วย หรือ เจ็บปวด ให้รับรู้ได้ เราจึงยังไม่มีผลกระทบต่อชีวิต

🌸ซึ่งโดยปกติ ร่างกายก็จะมีระบบที่คอยกำจัดการอักเสบเหล่านี้ที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความสมดุลให้กับร่างกาย แต่เงื่อนไข ต้องอยู่ที่ว่า ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง

🌸แต่พออายุที่มากขึ้น การเกิด Inflammaging ก็จะยิ่งส่งผลเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพราะระบบที่ช่วยกำจัดการอักเสบนั้น ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม

🌸ผลที่เกิดขึ้น ของการเกิดการอักเสบเหล่านี้ นำไปสู่การเสื่อมของทุกเซลล์ในร่างกาย ตั้งแต่ภายใน เช่น

🌸ระบบการควบคุมน้ำตาลในเลือด จนนำไปสู่โรคเบาหวาน ระบบกล้ามเนื้อและข้อ จนนำไปสู่โรคข้อเสื่อม ระบบเซลล์ที่ผิดปกติกลายพันธุ์จนนำไปสู่โรคมะเร็ง และการอักเสบของผิวหนัง จนนำไปสู่ผิวหนังเหี่ยวย่น เมื่ออายุมากขึ้น เป็นต้น

🌸หรือเข้าใจง่ายๆ คือ การอักเสบแบบ Inflammaging มีลักษณะเหมือน น้ำต้มกบ ที่ค่อยๆเดือด แต่กบไม่รู้ตัว จนสุดท้าย กว่าจะรู้ตัว ตัวกบก็สุกจนทำให้กบตายได้

🌻ซึ่งก็เหมือนกัน การอักเสบในระดับที่เล็กน้อยสะสมไปเรื่อยๆแบบ Inflammaging ที่เราไม่รู้ตัว มารู้ตัวอีกที เมื่อป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ และโรคเสื่อมต่างๆ ไปแล้ว นั่นเอง

🌻อย่างที่ผมเคยเขียนไปว่า เราจะถูกสอนให้เรียกชื่อโรคว่าอะไรก็ตามที แต่ต้นตอของจุดร่วมในทุกๆโรค คือ การอักเสบ

🌻ฉะนั้น สารอาหารต้านการอักเสบ จึงเป็นสิ่งที่ควรค่าต่อการนำมาใช้ในการรักษาสุขภาพ ป้องกันสุขภาพ ตรงนี้ คือ ข้อเท็จจริงที่ประชาชนต้องรู้ ถ้าต้องการดูแลสุขภาพของตัวเองได้

สารไฟโตแคนนาบินอยด์ จากกัญชาและกัญชง มีการค้นพบว่า มีคุณสมบัติต้านการอักเสบได้อย่างดี และมีการนำมาใช้ในศาสตร์การแพทย์ชะลอวัยมากขึ้น

การแพทย์ชะลอวัย ไม่ได้หมายถึง ผิวหนังเต่งตึงไม่แก่ ไม่เหี่ยว นะครับ มันหมายถึง ทุกๆอวัยวะในร่างกาย ทุกๆเซลล์ ที่ต้องมีสุขภาพดี

🌠การใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์ ในขนาดต่ำ สามารถช่วยลดการชะลอวัยของเซลล์ในร่างกายได้ โดยเฉพาะเซลล์สมอง ที่มีงานวิจัยออกมาพอสมควร ในการที่ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ ได้รับกัญชาในขนาดต่ำๆ สามารถชะลอการเสื่อมของสมอง ลดการอักเสบ และยังฟื้นฟูเซลล์ขึ้นมาใหม่ได้ เป็นต้น

💧ฉะนั้น สารไฟโตแคนนาบินอยด์ จึงไม่ใช่แค่ สมุนไพรชนิดหนึ่ง แต่มันจะกลายเป็นองค์ประกอบหลักในทุกๆเมนูหรือสารอาหารที่สามารถดูแลสุขภาพได้รอบด้าน ตามข้อเท็จจริงที่วงการวิทยาศาสตร์ค้นพบเพิ่มขึ้นในทุกๆวัน

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

มหัศจรรย์กัญชา

มหัศจรรย์กัญชา

มหัศจรรย์กัญชา

ทำไม กัญชาจึงรักษาโรคได้มากมายแทบทุกโรค เหตุผลก็คือ “โรคทุกโรคที่มนุษย์เป็นมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับสารที่อยู่ในพืชกัญชา” “บิดาแห่งกัญชาเพื่อการแพทย์สมัยใหม่” : ศาสตราจารย์ Raphael Mechoulam
เผยแพร่: 2 มิ.ย. 2562 18:39 โดย: ประสาท มีแต้ม

ผมมีเหตุผลสองประการในการเขียนถึงเรื่องกัญชาอีกครั้งในสัปดาห์นี้ เพราะว่า (1) ผู้นำของหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้แสดงความเห็นต่อสาธารณะว่า “กัญชาสามารถรักษาได้เพียงบางโรคเท่านั้น” ในขณะที่ผลงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ที่ผมอ้างถึงนี้พบว่า “โรคทุกโรคที่มนุษย์เป็นมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับสารที่อยู่ในพืชกัญชา” นั่นคือ แม้ภาครัฐได้ยอมรับความจริงในบางระดับแต่ก็ยังได้ปกปิดความจริงที่สำคัญกว่าไว้ต่อไป และ (2) เพื่อเป็นกำลังใจกับภาคประชาสังคมที่กำลังเดินรณรงค์ให้กัญชาเป็นยารักษาโรค ไม่ใช่ยาเสพติดที่เราถูกหลอกมาตลอด

ขอแถมอีกหนึ่งประการหนึ่งครับ เพื่อเอาใจแฟนๆ ประจำที่สนใจเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพราะผมพบว่ากลไกอำนาจรัฐที่พยายามกีดกันทุกวิถีทางในการเข้าถึงกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ของประชาชน กับการกีดกันการใช้ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องโซลาร์เซลล์บนหลังคานั้นช่างเหมือนกันราวกับ copy and paste ดังนั้น ภาคประชาชนที่สนใจทั้งสองกลุ่มจึงควรร่วมกันช่วยกันทำความจริงให้ปรากฏต่อสาธารณะด้วยครับ

ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับผู้ที่ได้รับเกียรติว่าเป็น “บิดาแห่งวงการกัญชาทางการแพทย์สมัยใหม่ (The Father of Modern Cannabis Medicine หรือ Father of Cannabinoid Medicine)” ผมขอเสนอภาพปกหนังสือออกใหม่ (2018- ผมยังไม่ได้อ่าน) อีกสักภาพ ซึ่งในภาพมีข้อความจากนักวิทยาศาสตร์ชาวอิสราเอลที่ได้จับงานวิจัยเรื่องกัญชาอย่างกัดไม่ปล่อยมานานกว่า 50 ปี (ปัจจุบันท่านอายุ 89 ปี) ว่า “แทบจะไม่มีระบบสรีระใดในร่างกายเลยที่ระบบ Endocannabinoid ไม่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องในการทำหน้าที่ด้วย”

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ สาร Endocannabinoid มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคทุกชนิดในมนุษย์

ประเด็นที่เป็นความแตกระหว่างข้อมูล “ผู้นำของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง” กับ ข้อมูลของ “บิดาแห่งวงการกัญชาเพื่อการแพทย์” อยู่ตรงนี้แหละครับ

คือ ฝ่ายหลังบอกว่า “แทบจะไม่มีระบบสรีระใดของร่างกาย ที่ระบบ Endocannabinoid ไม่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องในการทำหน้าที่ด้วย”

ซึ่งสาร Endocannabinoid (ในสมองของร่างกาย) ก็คือสาร Phytocannabinoid (ในพืชกัญชา) หรือเรียกรวมๆ ว่า Cannabinoid โดยมีชื่อนำหน้ามาเติมให้ทราบที่มาเท่านั้นเอง

การทำงานหน้าที่ของระบบสรีระต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบการสร้างกระดูก ระบบการอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการเจริญอาหาร ระบบความเจ็บปวด การเติบโต ระบบการตั้งครรภ์ ฯลฯ ต่างก็เกี่ยวข้องกับระบบ Endocannabinoid หรือระบบที่ต้องใช้สารจากพืชกัญชาทั้งนั้น

ศาสตราจารย์ Raphael Mechoulam ได้เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ในต่างกรรมต่างวาระกันว่า “นักวิจัยที่มีความมุ่งมั่นมากกลุ่มหนึ่งได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ระบบ Endocannabinoid มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับโรคทุกชนิดในมนุษย์”

ขอย้ำว่า “โรคทุกชนิดในมนุษย์”ไม่ใช่ “บางโรคเท่านั้น” ดังที่ผู้นำบางหน่วยงานได้ออกมาปรามกระแสความตื่นตัวของประชาชน

อนึ่ง ผมเองไม่ใช่แพทย์ และไม่มีความรู้ในเรื่องสรีระที่ลึกซึ้งพอ แต่ผมเป็นคนชอบ “คิดลึก” ชอบรับฟังเหตุผลและชอบค้นคว้าหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายของทุกฝ่ายแล้วนำมาพิจารณา แล้วผมก็เชื่อในคำอธิบายของศาสตราจารย์ Raphael Mechoulam รวมทั้งของนักวิชาการท่านอื่นๆ ด้วย

ศาสตราจารย์ Raphael Mechoulam เกิดที่ประเทศบัลกาเรีย (1930) แล้วอพยพตามบิดาซึ่งเป็นแพทย์ไปอยู่ประเทศอิสราเอลเมื่อเขาอายุ 19 ปี และจบปริญญาเอกสาขาเคมีในปี 1958

“กฎหมายในหลายประเทศทำให้นักวิชาการไม่ต้องการจะทำวิจัยเรื่องกัญชา นักเคมีไม่สามารถหากัญชามาศึกษาได้ นักชีววิทยาไม่มีอะไรให้ศึกษาและทุนวิจัยก็ไม่มี” นี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ Raphael Mechoulam นักวิชาการหนุ่มไฟแรงต้องการจะปลดล็อกเมื่อ 50 ปีก่อน

ก่อนปี 1963 Raphael Mechoulam และทีมงานได้ค้นพบสูตรโครงสร้างของ cannabidiol (CBD) ซึ่งอยู่ในพืชกัญชา (ซึ่งฝรั่งเรียกว่า cannabis) และในอีกหนึ่งปีต่อมาทีมงานของเขาก็พบสารเคมีอีกชนิดหนึ่งซึ่งเรียก Tetrahydrocannabinol เป็นครั้งแรก ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า THC

ปี 1988 มีการค้นพบว่าในสมองของหนูมีระบบที่สามารถรับสาร cannabidiol (CBD) โดยเรียกว่า cannabinoid receptors

(ตัวรับสาร CBD) ซึ่ง ตัวรับสารตัวนี้จะกระจายตัวอยู่ทั่วร่างกายซึ่งทำให้สาร cannabidiol สามารถออกฤทธิ์ได้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ผมได้สอบถามอาจารย์ด้านชีววิทยาท่านหนึ่ง (ซึ่งมีความรู้ในเรื่องนี้มากกว่าผมเยอะมาก) ว่า ถ้าเราจะเปรียบเทียบอย่างง่ายๆ ว่า สาร CBD เหมือนกับโทรศัพท์ต้นทาง เมื่อส่งสัญญาณถูกส่งออกไป ผู้ที่จะรับสัญญาณได้ก็ต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ต้นทางไว้ก่อน cannabinoid receptors จึงเปรียบเสมือนเครื่องโทรศัพท์ปลายทาง อาจารย์ชีววิทยาดังกล่าวบอกผมว่าเป็นคำอธิบายที่พอใช้ได้

สาร THC ก็มีตัวรับชนิดหนึ่งเป็นการเฉพาะ สาร CBD ก็มีตัวรับอีกตัวหนึ่ง ไม่เหมือนกับของ THC

หรือเหมือนกับลูกกุญแจแบแม่กุญแจ จะไขกันได้ก็ต้องมีการจัดการเป็นพิเศษมาก่อนแล้วเท่านั้น

จากภาพข้างต้นเราจะเห็นว่า แต่ละอวัยวะมีตัวรับสารที่แตกต่างกัน และแต่ละตัวมีหน้าที่แตกต่างกัน

ปัจจุบันมีการค้นพบสาร CBD กว่าร้อยชนิดแล้ว

“ผมเชื่อว่าสารที่มีอยู่ในพืชกัญชาเป็นขุมทรัพย์ทางการแพทย์ที่รอการค้นพบ”ศาสตราจารย์ Raphael Mechoulam

ในชีวิตส่วนตัว Raphael Mechoulam มีบุตร 1 คน เป็นศาสตราจารย์ด้านคณิตศาสตร์ มีลูกสาว 2 คน เป็นกุมารแพทย์ด้านตา และกุมารแพทย์ด้านเวชการ มีหลาน 7 คน ทุกคนอาศัยอยู่ในเยรูซาเลม

“เราโชคดีมาก ทุกวันศุกร์พวกเขาจะมาทานอาหารเย็นด้วยกัน”

ประโยคสุดท้ายนี้สะท้อนถึงความสุขในชีวิตครอบครัวของท่าน ซึ่งครั้งหนึ่งท่านได้พูดอย่างติดตลกว่า ชาวอิสราเอลไม่ค่อยมีความสุข จึงเป็นเหตุว่าท่านได้ตั้งชื่อสารที่ท่านค้นพบในสมองมนุษย์เป็นภาษาสันตกฤต ว่า Anandamide ซึ่งคำว่า Ananda แปลว่าความสุขสำราญกันสุดยอด

ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้ว สาร cannabinoid คือสารที่ทำหน้าที่กำกับการทำงาน หรือเป็นซีอีโอของร่างกายมนุษย์ทุกระบบ ดังนั้น สารเคมีดังกล่าวซึ่งมีอยู่ในพืชกัญชาจึงเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับการเกิดและการรักษาโรคทุกชนิดครับ

 

กัญชาอาจฆ่าสเต็มเซลล์ของมะเร็งได้

กัญชาอาจฆ่าสเต็มเซลล์ของมะเร็งได้

กัญชาอาจฆ่าสเต็มเซลล์ของมะเร็งได้

กัญชาอาจฆ่าสเต็มเซลล์ของมะเร็งได้

ปัญหาของการรักษามะเร็งในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่ในเรื่องการรักษาหายได้หรือไม่ เพราะมะเร็งหลายๆชนิด ถ้ารักษาทันท่วงที ก็กำจัดเซลล์มะเร็งให้หายไปตามนิยามการแพทย์ได้

แต่ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ที่เหมือนโอกาสสุดท้าย ที่มะเร็งหยิบยื่นมา นั่นก็คือ การกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้ง และมักจะนำไปสู่ความตาย

ยาเคมีในปัจจุบัน ถึงแม้จะทำลายเซลล์มะเร็งได้ มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่นั่นก็เป็นเพียงเซลล์มะเร็งลิ่วล้อของบรรดาอาณาจักรมะเร็งที่เกิดขึ้น

ยังไม่สามารถกำจัดต้นตอของมันได้อย่างอยู่หมัด ซึ่งเซลล์พวกนี้ เรียกว่า เซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์มะเร็ง หรือ Cancer Stem Cell นั่นเอง

ซึ่งพวกนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ โคลนตัวเองได้อย่างไม่จำกัด และแพร่กระจายออกไปอย่างบ้าคลั่ง ที่สำคัญ พวกมันมีกลไกป้องกันตัวเองจากยาเคมีได้อย่างมหัศจรรย์

ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง The Maze Runner จะเห็นว่า เส้นทางเขาวงกตจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆในทุกๆครั้งที่มีคนออกไปสำรวจ เปรียบให้เห็นภาพของการป้องกันยาเคมีของพวกเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งนั่นละ ยาจึงแทบจะเข้าไปทำลายมันได้ยากมากๆ มันจึงดื้อยามากๆ

นอกจากนั้น พวกมันยังฉลาดมากพอที่จะแบ่งตัวช้าๆ เมื่อมียาเคมีเข้ามา เพราะยาเคมีส่วนมากจะทำลายเซลล์มะเร็งได้ดีในช่วงที่มันแบ่งตัว และยังมีการซ่อมดีเอ็นเอตัวเองได้อย่างดีเยี่ยม

แล้วกัญชาจะฆ่าสเต็มเซลล์ของเซลล์มะเร็งได้อย่างไร

ก่อนไปถึงตรงนั้น เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ สิ่งที่เกี่ยวข้องกันนิดหนึ่ง

สิ่งแรก คือ ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งระบบนี้เราพอจะเข้าใจมาบ้างแล้ว แต่ที่จะย้ำในบทความนี้ คือ ระบบนี้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับทุกๆเซลล์ อยู่ในวัฎจักรของการก่อเกิดเซลล์ตั้งแต่ต้นจนจบ ก็หมายถึงว่า ระบบนี้อยู่ในเซลล์ต้นกำเนิดของทุกๆเซลล์ด้วย ซึ่งก็รวมเซลล์ต้นกำเนิดของมะเร็งเช่นกัน

สิ่งที่สอง คือ ระบบการส่งสัญญานของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งหนึ่งในระบบการส่งสัญญานที่เรานำมาใช้ในการหวังทำลายเซลล์ต้นเกิดมะเร็ง คือ Targeting key signalling cascades

ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การยับยั้ง Hedgehog pathway ซึ่งพบว่า เมื่อมีการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องมากเกินไป จะทำให้เซลล์มะเร็งมีการเติบโตและแพร่กระจาย

แล้วกัญชาละ เกี่ยวอย่างไร

เราค้นพบว่า สารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ สามารถยับยั้งการทำงานของระบบ Hedgehog pathway ที่อยู่เซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งได้ และน่าจะเป็นหนึ่งในวิธีการที่จะกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุปให้เห็นภาพ คือ ในอดีตที่เราสู้กับเซลล์มะเร็ง เราสู้บนการวางแผนกับระดับพลทหาร ซึ่งทำอย่างไรก็ยังไม่อาจชนะสงครามได้ และในอนาคตเรากำลังวางแผนสู้กับระดับจอมทัพของพวกมัน ซึ่งต้องใช้กลยุทธิ์ที่แตกต่างออกไป นั่นเอง

ซึ่งสารในกัญชา ก็เป็นหนึ่งในอาวุธที่จะมีการพัฒนาเพื่อไปสู้กับเซลล์มะเร็งแบบมุ่งเป้าไปที่ระดับนายพลของพวกมัน ไม่ใช่แค่ระดับพลทหารที่ยาเคมีทำอยู่แบบนี้

อ้างอิงจาก

Developmental pathways associated with cancer metastasis:Notch, Wnt, and Hedgehog Cancer Biol Med 2017

Endocannabinoids are conserved inhibitors of the
Hedgehog pathway PNAS 2015

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

กัญชา กัญชง กับ คุณสมบัติบำรุงสมอง

กัญชา กัญชง กับ คุณสมบัติบำรุงสมอง

กัญชา กัญชง กับ คุณสมบัติบำรุงสมอง

กัญชา กัญชง กับ คุณสมบัติบำรุงสมอง

ในอดีตเรามักจะได้ยินคำพูดที่ว่า สูบกัญชาแล้วสมองเสื่อม แต่ในปัจจุบัน การค้นพบทางการศึกษาวิจัย ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องคิดใหม่ เพราะว่า

การค้นพบระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในสมอง ทำให้มีการค้นพบบทบาทของระบบนี้ในสมองอย่างมากมาย และเนื่องจากระบบนี้มันควบคุมแทบจะทุกส่วนของสมอง ตั้งแต่สมองส่วนหน้า ส่วนข้าง ส่วนท้าย แกนสมอง เป็นต้น

จึงทำให้ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์มีบทบาทอย่างมากในทางการแพทย์ และเริ่มนำมาประยุกต์ใช้ หรือ ขยายขอบเขตการทำการศึกษาวิจัย เช่น ศึกษาวิจัยการฟื้นฟูเซลล์สมอง หลังจากผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุทำให้เซลล์สมองกระทบกระเทือน หรือ ในผู้ป่วยเส้นเลือดในสมองตีบ แตก ตัน เป็นต้น

จากภาพประกอบ เราจะเห็นว่า การกระตุ้นที่ตัวรับ CB1 หรือ CB2 ที่อยู่ในสมอง สามารถทำให้สมองได้รับการปกป้องจากอันตรายที่เกิดขึ้นในเซลล์สมองได้ เช่น

ช่วยลดการอักเสบในสมอง

ช่วยลดการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดอักเสบในสมอง

ช่วยลดสารอนุมูลอิสระในสมอง

ช่วยให้เซลล์สมองมีการฟื้นตัว

นอกจากนั้น ยังพบว่า การทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ยังช่วยปรับการทำงานของสารสื่อประสาทที่สำคัญๆในสมองด้วย เช่น สารสื่อประสาทโดปามีน สารสื่อประสาทกาบา (gamma-aminobutyric acid) และสารสื่อประสาทกลูตาเมต เป็นต้น

ซึ่งสารสื่อประสาทเหล่านี้เกี่ยวข้องทั้งโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และโรคลมชัก เป็นต้น

ดังนั้น สารไฟโตแคนนาบินอยด์ กับ การทำลายสมอง อาจต้องดูเป็นกรณีไป แต่สำหรับงานวิจัยที่ศึกษา มักพบว่า ในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ การใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์ อาจทำให้เกิดประโยชน์ต่อเซลล์สมองได้ และนำไปสู่การใช้ดูแลรักษาโรคต่างๆที่เกิดขึ้นในสมองได้

และตามข้อมูลที่ผมมี สาร CBD หรือ สูตร CBD เด่น มี สาร THC น้อย น่าจะได้ประโยชน์ และเหมาะสมกับผู้สูงอายุครับ

เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับเกี่ยวกับกัญชา กัญชง และระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ในโรคต่างๆ มากกว่า 100 เรื่อง ด้วยการสั่งซื้อหนังสือ 82 กระบวนท่า กัญชา กัญชง ฆ่ามะเร็ง จำนวน 611 หน้า พิมสี พร้อมภาพประกอบ

และพร้อมเรียนรู้ในห้องเรียนออนไลน์ ในราคา 999 บาท สั่งจองอินบอค หรือ แจ้งได้ที่ไลน์ชื่อ Pharmalogger ได้เลยครับ

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

The emerging functions of endocannabinoid signaling during CNS development. Trends Pharmacol Sci. 2007;28:83–92.

Formation and inactivation of endogenous cannabinoid anandamide in central neurons. Nature. 1994;372:686–91.

Signal transduction of the CB1 cannabinoid receptor.
J Mol Endocrinol. 2010;44:75–85.

Involvement of cannabinoid receptors in the regulation of neurotransmitter release in the rodent striatum: a combined immunochemical and pharmacological analysis. J Neurosci. 2005;25:2874–84.