GPR55 ตัวรับของกัญชา ที่อาจฆ่าตัดตอนเซลล์มะเร็งตั้งแต่ก่อกำเนิดได้
GPR55 ตัวรับของกัญชา ที่อาจฆ่าตัดตอนเซลล์มะเร็งตั้งแต่ก่อกำเนิดได้
ตัวรับ GPR55 เป็นตัวรับ หรือ Receptor อีกตัวหนึ่งของสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ทั้งที่ร่างกายสร้างเองได้ เช่น AEA และ 2AG รวมทั้งรับจากกัญชาเข้าไปในร่างกาย
ตัวรับนี้ค้นพบ เมื่อ พ.ศ. 2542 แต่กว่าจะรู้ว่า บทบาทมันคืออะไรก็เมื่อปี พ.ศ. 2550 มีความคล้ายคลึงกับตัวรับ CB1 และ CB2 ประมาณ 14% ในขณะที่ตัวรับ CB1 และ CB2 มีความคล้ายคลึงกัน 64%
งานวิจัยค้นพบว่า สารทั้ง 3 ชนิด คือ THC (จากกัญชา) และ AEA , 2-AG (ร่างกายสร้างเอง) มีคุณสมบัติเข้าไปกระตุ้นตัวรับ GPR55
แต่ในขณะเดียวกัน สาร CBD จากกัญชา ทำงานตรงกันข้าม นั่นก็คือ การเข้าไปยับยั้งหรือขัดขวาง
และจากการทำงานที่ตรงข้ามกันนี้ ทำให้ผลลัพธิ์ที่เกิดขึ้นในร่างกายหรืออวัยวะต่างๆมีผลที่แตกต่างกัน
ซึ่งในส่วนของการเกิดมะเร็ง พบว่า ถ้ามีการกระตุ้นที่ตัวรับ GPR55 จะทำให้เซลล์มะเร็งมีการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นมาได้
แต่ถ้าทำการยับยั้งตัวรับ GPR55 นี้ กลับให้ผลที่แตกต่างกัน คือ เซลล์มะเร็งไม่มีการเพิ่มจำนวนหรือเติบโตขึ้น และนำไปสู่การตายในที่สุด อารมณ์ประมาณว่า กำลังจะเกิด ยับยั้งปุ๊บ ตายเลย
ถึงแม้จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาข้อสรุป แต่เราก็พอทราบแล้วว่า สาร CBD ในกัญชามีบทบาทอย่างมากในการทำลายเซลล์มะเร็งผ่านตัวรับเพิ่มมาอีกตัว นอกเหนือจากตัวหลักพวก CB1 , CB2
ในอนาคตเราจึงต้องหากัญชาที่มีองค์ประกอบของสารที่ทำให้เซลล์มะเร็งกลัวมากที่สุดที่เหมาะสมกับคนไทย
ปล. ภาพประกอบให้เห็นภาพว่า ถ้ายับยั้งตัวรับ GPR55 จะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่การทำให้กระบวนการสร้างเซลล์มะเร็งลดลงได้ในที่สุด
อ้างอิงบางส่วนจาก
Concurrent activation of β2-adrenergic receptor and blockage of GPR55 disrupts pro-oncogenic signaling in glioma cells ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Cellular Signalling เมื่อปี ค.ศ. 2017
GPR55 receptor antagonist decreases glycolytic activity in PANC-1 pancreatic cancer cell line and tumor xenografts ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ International Journal of Cancer เมื่อปี ค.ศ. 2017
The LPI/GPR55 axis enhances human breast cancer cell migration via HBXIP and p-MLC signaling ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Acta Pharmacologica Sinica เมื่อปี ค.ศ. 2018
Identification and cloning of three novel human G protein-coupled receptor genes GPR52, PsiGPR53 and GPR55: GPR55 is extensively expressed in human brain ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Brain Research. Molecular Brain Research เมื่อปี ค.ศ. 1999
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี