กัญชารักษาไมเกรนได้

กัญชารักษาไมเกรนได้

กัญชารักษาไมเกรนได้

กัญชารักษาไมเกรนได้

เมื่อก่อนเราสงสัยกันว่า ทำไมผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไมเกรน ซึ่งเป็นอาการปวดหัวชนิดหนึ่ง ที่ยังคงไม่มียาเคมีตัวไหนรักษาได้ผลอย่าง 100 %

แถมยาเคมีที่นิยมใช้รักษา โดยเฉพาะบ้านเรา มีผลทำให้เส้นเลือดตีบ และทำให้เกิดเนื้อตายบริเวณมือและเท้าได้

แต่พอมามาสูบกัญชาหรือใช้กัญชา อาการปวดไมเกรนจึงไม่ค่อยมีหรือกำเริบน้อยมาก แม้จะมีปัจจัยกระตุ้นแบบที่เคยทำให้ปวดไมเกรนก็ตาม

ปัจจุบันในทางวิทยาศาสตร์เราสามารถค้นพบและอธิบายกลไกได้แล้วว่า ทำไมกัญชาจึงรักษาและป้องกันไมเกรนได้

ในปี พศ. 2544 แพทย์ระบบประสาท ชาวอเมริกัน ชื่อว่า Ethan Russo ได้นำเสนอทฤษฎีการเกิดโรคอีกทฤษฎีหนึ่งที่ชื่อว่า Theory
of Clinical Endocannabinoid Deficiency ซึ่งก็คือ ภาวะพร่องของสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ที่ผมเคยเขียนถึงบ่อยๆ

ซึ่งรายงานผลการศึกษาที่มีข้อมูลค่อนข้างแน่ชัดใน 3 กลุ่มโรค คือ โรคไมเกรน โรคลำไส้แปรปรวน และโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

โดยในงานวิจัยยังรายงานว่า ในผู้ป่วยโรคไมเกรนที่ชอบปวดเรื้อรัง ตรวจพบสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ที่ชื่อว่า AEA ในน้ำไขสันหลังน้อยกว่าคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นไมเกรน

และยังพบว่า การที่มีสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในร่างกายน้อย ยังทำให้ร่างกายไวต่อการปวดได้มากขึ้น หรือ ทนต่อการปวดด้วยสาเหตุต่างๆไม่ค่อยได้นั่นเอง

จึงเริ่มเป็นที่ยอมรับว่า กัญชา อาจจะเป็นยาแก้ปวดที่ครอบคลุมที่สุดที่โลกมนุษย์เคยค้นพบ

ในรูปภาพประกอบ ถึงแม้จะเข้าใจยาก สำหรับคนทั่วไป แต่ผมอยากให้ทุกท่านได้ทราบว่า

กัญชา รักษาและป้องกันไมเกรนได้ และอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้แล้ว เราค้นพบและอธิบายได้แล้ว

ซึ่งแน่นอนก็เกี่ยวข้องกับระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งทั้งสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ และตัวรับ หรือ Receptor ที่อยู่บริเวณสมองที่เกี่ยวข้องกับการปวด

และยังคงค้นพบว่า สารกัญชาสามารถเข้าไปยับยั้งตรงจุดที่ก่อให้เกิดการเหนี่ยวนำกระแสประสาทบริเวณสมองที่ทำให้เกิดการปวดไมเกรนขึ้นมา

รวมทั้งช่วยลดหรือป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน ได้ด้วย ซึ่งมักจะพบในผู้ที่ปวดหัวไมเกรนด้วย

ฉะนั้น กัญชาจึงเป็นทางต้องเลือก อีกทางที่มีประสิทธิภาพมากๆในการรักษา บรรเทา และการปวดไมเกรน ซึ่งเป็นปัญหาของคนทั่วโลกมากกว่า 10 ล้านคน

อ้างอิงบางส่วนจาก

The endocannabinoid system and migraine.Experimental Neurology 224 (2010) 85–91

The TRPA1 channel in migraine mechanism and treatment. British Journal of Pharmacology (2014) 171 2552–2567

TRPA1 and other TRP channels in migraine. The Journal of Headache and Pain 2013, 14:71

Role of intraganglionic transmission in the trigeminovascular pathway. Molecular Pain
Volume 15, 2019 : 1–12

Clinical Endocannabinoid Deficiency Reconsidered:
Current Research Supports the Theory in Migraine,
Fibromyalgia, Irritable Bowel, and Other
Treatment-Resistant Syndromes. Cannabis and Cannabinoid Research Volume 1.1, 2016

Endocannabinoid System and Migraine Pain: An Update. Frontiers in Neuroscience. March 2018 | Volume 12 | Article 172

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

SHARE NOW

Facebook Comments