กัญชา กัญชง กับโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบมากขึ้นตามจำนวนผู้สูงอายุ ยิ่งปัจจุบันสังคมโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เฉพาะประเทศไทย จำนวนผุ้สูงอายุเข้าเข้าหลัก 10 ล้านคนไปแล้ว
และยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่มาก ที่เข้าใจว่า ภาวะกระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกพรุน จะแก้ไขได้ด้วยการให้ผู้สูงอายุรับประทานแคลเซียม
และยิ่งงานวิจัยหลังๆออกมาบอกว่า การรับประทานแคลเซียมที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคระบบหัวใจและเส้นเลือดที่มากขึ้นได้
อธิบายให้เห็นภาพ ดังนี้ แคลเซียมก็เปรียบเสมือน ผงปูนที่ใช้ในการก่อสร้าง และแน่นอน การจะทำให้ตึกหรือกำแพงมีความแข็งแรง ไม่ได้ขึ้นกับการมีผงปูนที่มาก แต่ยังขึ้นกับ ทราย น้ำ หรือ หิน ร่วมด้วย ที่ได้สัดส่วนที่เหมาะสม
กระดูกของมนุษย์เช่นกัน การเติมแต่แคลเซียม ไม่ได้ทำให้กระดูกแข็งแรงเสมอไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ยังมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ฮอร์โมน เป็นต้น
ปัจจุบันมีการค้นพบบทบาทของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์กับโรคกระดูกพรุน
ซึ่งมีการค้นพบว่า ในภาวะกระดูกพรุน มีการแสดงออกของตัวรับ CB1 และ TRPV1 ที่มากขึ้น แต่การแสดงออกของตัวรับ CB2 กลับมีไม่มาก
และเพื่อทำการศึกษาลงไปอีกก็พบว่า การกระตุ้นของตัวรับ CB1 และ TRPV1 เป็นการไปกระตุ้นกระบวนการสลายของกระดูก หรือ ที่เรียกว่า Osteoclasts ตามภาพประกอบ คือ OCs
ทำให้เกิดการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก จนในที่สุดทำให้กระดูกพรุนได้
ส่วนการกระตุ้นตัวรับ CB2 จะเป็นการไปยับยั้งการทำงานของกระบวนการสลายกระดูก หรือ Osteoclasts หรือ ไปยับยั้งการทำงานของพวก CB1 และ TRPV1 นั่นเอง
ซึ่งการค้นพบนี้ ทำให้เข้าใจและเพิ่มทางเลือกในการรักษาโรคกระดูกพรุนเพิ่มมากยิ่งขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งนับวันจะพบผู้สูงอายุมีภาวะกระดูกพรุนมากยิ่งขึ้น และยังไม่สามารถแก้ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับ สารไฟโตแคนนาบินอยด์ ในกัญชา กัญชง ที่มีคุณสมบัติต้านการทำงานของตัวรับ CB1 ก็จะเป็นสารในตระกูล CB ซึ่งสาร CBD ก็มักจะมีการพูดถึงบ่อยที่สุด
ฉะนั้น สาร CBD ถ้าใครติดตามข้อมูลผมมา จะพอทราบว่า นี่คือ สารที่เกิดมาเพื่อสังคมผู้สูงอายุอย่างแท้จริง เพราะนอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องกระดูก แล้ว ยังแก้ปัญหาเรื่องการปวด และ การนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นปัญหาของผู้สูงอายุทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
ปล. ไม่ให้ปลูกกัญชา ให้ปลูกกัญชง ก็ได้ประโยชน์มหาศาลแล้วครับ ถ้าจริงใจในการให้ประชาชนเข้าถึงสารไฟโตแคนนาบินอยด์ที่มีบทบาทต่อร่างกายอย่างมหาศาล
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี
อ้างอิงบางส่วนจาก
The endovanilloid/endocannabinoid system in human osteoclasts: Possible involvement in bone formation and resorption. Bone 2009, 44, 476–484.
CB(2) and TRPV(1) receptors oppositely modulate in vitro human osteoblast activity.Pharmacol. Res. 2015, 99, 194–201.
Peripheral cannabinoid receptor, CB2, regulates bone mass. Proc. Natl. Acad. Sci. USA 2006, 103, 696–701.
Role of cannabinoids in the regulation of bone remodeling. Front. Endocrinol. 2012, 3,136.
Facebook Comments