กระพังโหม มีชื่อท้องถิ่น ผักไหม (เชียงใหม่), ตะมูกปาไหล (อุดรธานี),

กระพังโหม มีชื่อท้องถิ่น ผักไหม (เชียงใหม่), ตะมูกปาไหล (อุดรธานี),

กระพังโหม มีชื่อท้องถิ่น ผักไหม (เชียงใหม่), ตะมูกปาไหล (อุดรธานี),

กระพังโหม มีชื่อท้องถิ่น ผักไหม (เชียงใหม่), ตะมูกปาไหล (อุดรธานี), กระเจียวเผือ (สกลนคร), เครือไส้ปลาไหล (มหาสารคาม), ตดหมูตดหมา ผักไหม (ภาคเหนือ), กระเจียวเผือ เครือไส้ปลาไหล ตะมูกปาไหล (ภาคอีสาน), กระพังโหม ตดหมูตดหมา (ภาคกลาง), ย่านพาโหม (ภาคใต้), พังโหม

กระพังโหมมีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ ชนิดใบใหญ่ ใบรูปไข่ มีขนสั้นๆ ปกคลุม เรียกว่า ตูดหมู หรือ ตดหมู หรือกระพังโหมใหญ่ ชนิดใบเล็ก รูปเรียวยาวหรือรูปหอก เรียกตดหมาหรือกระพังโหมเล็ก ชนิดใบใหญ่ไม่มียางไม่มีขนกลิ่นเหม็นอ่อนๆ เรียก ย่านพาโหมชนิดนี้นิยมใช้ปรุงในข้าวยำ
สรรพคุณทางยา
ทั้งต้น ใช้รักษาอาการอักเสบบริเวณคอปาก รักษาบาดแผล แก้บิดไข้รากสาด
เถา ใช้แก้ไข้ รักษาบาดแผล ระบายอ่อนๆ ใช้รักษาโรคไขข้อ
ใบ ตำใช้แก้ปวดฟัน ตำพอกแก้พิษงู ต้มและตำให้ละเอียดวางลงบนท้องช่วยในการขับปัสสาวะได้ น้ำต้มจากใบให้นำผ้าสะอาดมาชุบแล้ววางบนศีรษะจะช่วยให้ไข้ลดลง รักษาโรคเริม งูสวัด เป็นยาแก้ดีซ่าน
ราก ใช้แก้โรคดีซ่าน น้ำต้มจากรากใช้ในการขับลมได้
เปลือก ต้มดื่มทำให้อาเจียนได้
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่เป็นผัก ฤดูกาลยอดอ่อน ใบอ่อนและดอกรับประทานเป็นผัก ออกยอดมากในช่วงฤดูฝน การปรุงอาหารคนโบราณใช้น้ำคั้นจากเถาและใบของ กะพังโหมมาผสมปรุงเป็นขนมขี้หนู ทำให้ขนมขี้หนูเป็นสีเขียว ชาวเหนือ,ชาวอีสานและชาวใต้รับประทานยอดอ่อนและใบอ่อนเป็นผักสดร่วมกับ น้ำพริก ชาวอีสานรับประทานร่วมกับลาบก้อยชาวใต้นำไปซอยละเอียดเป็นผักที่ใช้ผสมปรุงเป็นข้าวยำ ส่วนดอกมีการรับประทานสดเป็นผักในบางท้องที่ แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก
ขนมเวือระพอม(ขนมตดหมา)
เวือระพอม คล้ายๆ กับขนมจากทางภาคกลาง เป็นขนมพื้นบ้านของชาวขะแมร์ หรือ ชาวเขมร ชนเผ่าพื้นเมืองของจังหวัดศรีสะเกษ ทำมาจาก ต้นเครือตดหมา เครือตดหมามีลักษณะเป็นเถาและมีหัวอยู่ใต้ดิน ใบจะมีกลิ่นเหม็นมาก (เหม็นคล้ายๆ กลิ่นตด) เวลาใช้ขุดเอาหัวมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปตาก แห้ง จนแห้งดีแล้วนำมาตำให้พอละเอียด แล้วนำไปใส่ภาชนะแช่น้ำพอแค่ท่วมทิ้งไว้สักสองสามวัน จนน้ำที่แช่มีกลิ่นเหม็นได้เต็มที่ ก็จะนำน้ำที่เหม็นๆ นั้นมาผสมกับแป้งที่ตำเองเกือบๆละเอียด ผสมน้ำตาลทรายให้หวาน แล้วห่อด้วยใบตองคล้ายๆขนมจาก นำไปปิ้งบนไฟอ่อนๆ เมื่อสุกแล้ว จะมีกลิ่นหอม น่ารับประทานมาก
ชาวบ้านนิยมทำขนมตดหมาในช่วงเดือน 3 หรือเดือน 4 เมื่อทำเสร็จแล้วจะนำไปแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านและคนในหมู่บ้านด้วยกัน เพราะเชื่อว่ากลิ่นของขนมตดหมาจะช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายไปจากตนเองและครอบครัว อีกทั้งยังเป็นยาอายุวัฒนะ เมื่อรับประทานแล้วทำให้อายุยืน บำรุงสมอง มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงตลอดทั้งปี
“ขนมเวือระพอม” ใช้ในประเพณี “แซนตา” ช่วงเดือนมีนาคม เป็นการเสี่ยงทายน้ำฝน จะมีการทำขนมเซ่นตา เสี่ยงทายและแผ้วถางป่า เพื่อบุกเบิกพื้นที่ป่ามาทำนา บุกเบิกป่าเวือระพอม(เครือตดหมา) ซึ่งในเดือนนี้จะทำขนมกันทุกครัวเรือน

แจกสูตร “ยำกระพังโหม”

แจกสูตร “ยำกระพังโหม”
กระพังโหม ช่วยเพิ่มระดับอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
เมนูนี้ดี มีรสเปรี้ยว เผ็ด ขม เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีอาการอ่อนแรง ไม่มีกำลัง บรรเทาอาการปวดเมื่อย ปวดศรีษะ
ข้อมูลจากหนังสือตำรับอาหารเพื่อสุขภาพ ในกลุ่มโรคเรื้อรัง โดยกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ขอบคุณข้อมูลจากเพจอภัยภูเบศร
SHARE NOW
Exit mobile version