กัญชา อาจฆ่ามะเร็งเต้านมได้ทุกชนิด
มะเร็งเต้านม ปกติจะแบ่งการรักษาตามการตอบสนองของตัวรับที่ตรวจพบในเซลล์มะเร็งเต้านม และนั่นทำให้ มะเร็งเต้านม จะมียาเคมีบำบัดที่ค่อนข้างแตกต่างกัน เช่น
1. ตัวรับฮฮร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen receptor) และตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone receptor) ซึ่งเราจะเรียกมะเร็งเต้านมชนิดนี้ว่า มะเร็งเต้านมชนิดที่ไวต่อฮอร์โมน หรือ Hormone sensitive
2. ตัวรับ Human epidermal growth factor receptor 2 หรือ HER2 receptor ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวรับที่พบในเซลล์มะเร็งเต้านม และยาที่รักษาก็จะแตกต่างจากกลุ่มตัวรับในข้อที่ 1
3. Triple-negative เป็นชนิดของมะเร็งเต้านมที่ไม่พบตัวรับทั้ง 3 ชนิดข้างต้นที่กล่าวมา การรักษาก็จะแตกต่างออกไป
ถึงแม้มะเร็งเต้านมจะมียาที่รักษาแตกต่างกัน แต่จากการศึกษาของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เราพบว่า สารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ไม่เกี่ยงว่าจะเป็นมะเร็งเต้านมชนิดใด
เพราะสามารถออกฤทธิ์กำจัดเซลล์มะเร็งได้ ผ่านกลไกหลัก 4 กลไกที่ผมเคยเขียนไปแล้ว
ตามภาพประกอบ มะเร็งเต้านมทั้ง 3 ชนิด ในระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ด้วยการทำงานของสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ สามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้
ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า ในเมื่อมันกำจัดได้ ทำไมยังเกิดมะเร็งได้
มีความเป็นไปได้ว่า ในเซลล์มะเร็งนั้น การสร้างสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ อาจเกิดขึ้นไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือ ไม่เพียงพอ เพื่อใช้ในการต่อกรกับเซลล์มะเร็งที่มีจำนวนมากกว่า เป็นต้น
ซึ่งการได้รับสารแคนนาบินอยด์จากข้างนอกเข้าไป จึงอาจเป็นหนึ่งในการสนับสนุนการทำงานของร่างกายในการเพิ่มขีดความสามารถในการกำจัดเซลล์มะเร็งได้
ฉะนั้น มะเร็งเต้านมไม่ว่าจะเป็นชนิดใด กัญชาอาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการเลือกรักษาร่วมกับยาเคมีบำบัด และในหลายๆงานวิจัยก็ชี้ไปในทางว่า สามารถใช้ร่วมกันได้ และช่วยเสริมประสิทธิภาพของการรักษา
อ้างอิงบางส่วนจาก
Overlapping molecular pathways between cannabinoid receptors type 1 and 2 and estrogens/androgens on the periphery and their
involvement in the pathogenesis of common diseases. INTERNATIONAL JOURNAL OF MOLECULAR MEDICINE 38: 1642-1651, 2016
Cannabinoids: A new hope for breast cancer therapy. Cancer Treatment Reviews 2012
More Science Less Marketing
ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี
Facebook Comments