ข่า ผักสวนครัวเป็นยา

ข่า สมุนไพรข้างรั้ว ผักสวนครัวเป็นยา

ข่า สมุนไพรข้างรั้ว ผักสวนครัวเป็นยา


ข่า สมุนไพรข้างรั้ว ผักสวนครัวเป็นยา
ข่าเป็นพืชผักสมุนไพรมีมีประโยชน์ในทางโภชนาการ ซึ่งนำมาปรุงอาหารและทำน้ำพริกแกง ได้หลายชนิดมีคุณสมบัติใช้ป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร ผสมกับพืชอื่นกำจัดโรคผิวหนังได้ เช่น หิต เกลื้อน และนอกนั้นยังมีประโยชน์ในทางนำมาใช้ในการไล่แมลงได้ดีอีก การปลูกข่าเป็นรายได้เสริมโดยจำหน่ายหน่ออ่อนเพื่อนำไปต้มรับประทานเป็นกับข้าวซึ่งแทนที่จะขายหัวเพื่อทำเครื่องแกง ข่าช่วยให้เจริญอาหาร
สรรพคุณ

ใบ รสเผ็ดร้อน ฆ่าพยาธิ กลากเกลื้อน ต้มอาบ แก้ปวดเมื่อยตามข้อ
หน่อ รสเผ็ดร้อนหวาน แก้ลมแน่นหน้าอก บำรุงไฟธาตุ ต้นแก่ รสเผ็ดร้อนซ่า ตำผสมน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ตามข้อ แก้ตะคริว
ราก รสเผ็ดร้อนปร่า ขับเลือดลม ให้เดินสะดวก แก้เหน็บชา แก้เสมหะ และโลหิต
เหง้าข่าช่วยบำรุงร่างกาย เหง้าข่ามีสาร 1-acetoxychavicol acetate (ACA) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง จากการเหนียวนำของสารก่อมะเร็ง จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งไปด้วยในตัว
ดอกข่ารับประทานช่วยแก้อาการท้องเสียได้
ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้า คือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด
1. ช่วยขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดินและบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว
หรือใช้เหง้าขนาดเท่าหัวแม่มือ (ถ้าเป็นเหง้าสดจะหนักประมาณ ๕ กรัม ถ้าแห้งหนักประมาณ ๒ กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง
2. ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อนและแก้ลมพิษ โดยใช้เหง้าสดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาวทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆจนกว่าจะดีขึ้น
3.สารสกัดจากข่านำมาประกอบเป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น ยารักษาแผลสด แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้โรคหลอดลมอักเสบ ยาธาตุและยาขับลม
ช่วยแก้ฟกช้ำ ข้อเท้าแพลง เคล็ดขัดยอก ด้วยการใช้เหง้าแก่ตำละเอียด นำมาพอกบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียดแล้วนำไปแช่กับเหล้าขาว หรือน้ำส้มสายชูทิ้งไว้ 1 วันกรองเอาแต่น้ำมาใช้ทาบริเวณที่เป็6
4. ลมป่วง ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร วันละ 3 เวลา
5.ข่าช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา ขับรก ด้วยการใช้เหง้านำมาตำกับมะขามเปียก และเกลือให้หญิงรับประทานหลังคลอด
6.ใช้เป็นยาแก้ลมพิษ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง นำมาตำจนละเอียด แล้วเติมเหล้าโรงพอแฉะ และใช้ทั้งน้ำ และเนื้อนำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าอาการจะดีขึ้น
7. ช่วยแก้โรคน้ำกัด ด้วยการใช้เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ นำมาตำให้ละเอียดแล้วเติมเหล้าโรงพอท่วมทิ้งไว้ 2 วัน แล้วใช้สำลีชุบแล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 3 รอบ
8. เหง้าข่าช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุต นำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้วหลังอาหาร วันละ 3 เวลา
9.แก้สันนิบาตหน้าเพลิง ตำกับน้ำมะขามเปียกและเกลือให้สตรีกินหลังคลอดเพื่อขับน้ำคาวปลา แก้ฟกบวม โดยใช้ข่าแก่ฝานเป็นชิ้นบางๆชุบเหล้าโรงทา
10.เอาเหง้าข่าแก่ๆ มาล้างให้สะอาด ฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบพอแตก นำไปแช่ในเหล้าโรง ทิ้งค้างคืนไว้ ๑ คืน ทำความสะอาดขัดถูผิวหนัง บริเวณที่เป็นกลากหรือเกลื้อนจนแดง และแสบเล็กน้อย แล้วเอาข่าที่แช่ไว้มาทาบริเวณนั้น จะรู้สึกแสบๆ เย็นๆ ให้ทาเช้าและเย็น หลังอาบน้ำทุกวันติดกันประมาณ ๒ สัปดาห์ กลากเกลื้อนจะจางหายไป เมื่อหายแล้วควรทาต่อไปอีก ๑ สัปดาห์ และต้มเสื้อผ้าทุกชิ้น เพื่อให้หายขาด
ข่าแก่ตากแห้ง 20 กรัม (5 แว่น)
น้ำร้อน 200 กรัม (1ถ้วยแก้ว)
วิธีทำ
– เอาข่าแก่ที่ตากแห้งแล้ว ใส่ลงไปในถ้วยกาแฟ 4-5 แว่น
– เอาน้ำร้อนเดือดใส่ลงไปค่อนถ้วย ปิดฝาถ้วย ทิ้งไว้ซักครู่หนึ่งแล้วค่อยดื่ม
– ควรดื่ม 2-3 ถ้วยต่อวัน ก็ทำให้สบายท้องขึ้น ้
– หรือจะใช้ ข่าสดก็ได้ 10-12 แว่น นำมาทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มก็ได้
ช่วยขับลมได้อย่างดี ป็นการระบายลมออกมา จากลำใส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว และยังมี เบตาแคโรทีนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็ง
ผลข่ามีสรรพคุณคล้ายกับเหง้า คือ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องร่วง ฆ่าเชื้อบิด และช่วยย่อยอาหาร ผงจากผลแห้งสามารถรักษาอาการปวดฟันได้ โดยนำไปบดและทาบริเวณที่ปวด
ที่มา ข้อมูล หนังสือยากลางบ้าน (สุนทร ปุณโณฑก)
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
TEAY

SHARE NOW

Facebook Comments