ตำลึงสุกแดงกับสารส้ม ย่างสุก รสเปรี้ยวหอม ช่วยขับเม็ดนิ่วออกจากระเพาะปัสสาวะ สมุนไพรเป็นยามาตั้งแต่สมัยโบราณ

ตำลึงสุกแดงกับสารส้ม ย่างสุก รสเปรี้ยวหอม ช่วยขับเม็ดนิ่วออกจากระเพาะปัสสาวะ สมุนไพรเป็นยามาตั้งแต่สมัยโบราณ

ตำลึงสุกแดงกับสารส้ม ย่างสุก รสเปรี้ยวหอม ช่วยขับเม็ดนิ่วออกจากระเพาะปัสสาวะ สมุนไพรเป็นยามาตั้งแต่สมัยโบราณ

ตำลึงสุกแดงกับสารส้ม ย่างสุก รสเปรี้ยวหอม ช่วยขับเม็ดนิ่วออกจากระเพาะปัสสาวะ สมุนไพรเป็นยามาตั้งแต่สมัยโบราณ

วิธีทำ ผลตำลึงกับสารส้มรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ให้ใช้ตำลึงแก่ๆ 5 – 7 ผล กรีดผลตำลึงทั้งหมดลึกลงไปครึ่ง
ผลแต่ไม่ให้แยกออกจากกัน ตำสารส้มเป็นผงโรยลงในร่องที่กรีดไว้ในผลตำลึงทั้งหมด
จนผลเต็มร่องแล้ว ใช้ด้ายพันรอบผลตำลึง แต่ไม่จำเป็นต้องพันชิดกันนัก
นำ ผลตำลึงทั้งหมดไปย่างไฟอ่อนๆโดยหงายร่องขึ้น คอยดูผงสารส้มละลายจนหมดแล้วยกตะแกรงย่างออกจากไฟ รอสักพักให้คลายร้อนลงเหลืออุ่นจัดๆ แล้วใช้ผ้าขาวบางห่อผลตำลึงทั้งหมด คั้นเอาน้ำออกมา ( จะได้ประมาณสักถ้วยชาจีน ) ให้คนเป็นโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะดื่มรวดเดียว ( ขมนิดๆ ) วันหนึ่งทำกิน 3 หน ภายใน 2 วัน ถ้าเม็ดนิ่วอยู่ในกระเพาะปัสสาวะจริงและเม็ดใหญ่ไม่เกินหัวแม่มือของผู้ป่วย จะต้องมีเม็ดนิ่วหลุดออกมาทางท่อปัสสาวะ
*********************************************************************************
สารส้ม หินส้ม Alum, Potassium sulphate , Aluminium alum เป็นธาตุวัตถุ
รสฝาดเปรี้ยว สมานทั้งภายนอกและภายใน แก้ระดูขาว แก้หนองใน ขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้ปอดอักเสบ ฟอกระดู แก้รำมะนาด เหงือกเป็นแผลบวม ทำให้ฟันมั่นคง แก้แผลในปากคอ สมานแผลห้ามเลือดในแผลเล็กน้อย
มีใครจะทดลองบ้างค่ะโดยทำดื่มก่อนที่จะเป็นนิ่ว สมุนไพรทั้ง 2 อย่าง เราไม่ได้ทำครั้งละมากมายอะไร พบลูกตำลึงสุกลองทำนะคะ นกคงไม่บ่น เพื่อนที่อยู่สันทรายพึ่งมาเล่าให้ทราบว่า จะเก็บตำลึงสุกมาก็เก็บไม่ได้เพราะเจ้านกมันฉลาดเล่นจิกไว้ทุกลูกเลย ตำลึงเป็นไม้เถาเลื้อยและมีประโยชน์มาก ปลูกเองได้ เช่นเดียวกับการปลูกไม้เลื้อยอื่นๆ เวลาลูกสุกหลายๆลูกน่าชมมากค่.
..ในตำลึงมีคุณค่าทางด้านอาหารสูง ประกอบด้วยวิตามินเอ และสารแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และยังมีโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามิน และอื่นๆ นับเป็นอาหารบำรุงที่ดี ยอดตำลึงใช้เป็นผักปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก แกงจีดตำลึงหมูสับ แกงเลียง หรือใส่ก๋วยเตี๋ยวแทนถั่วงอกก็ได้
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด
ขนาดที่ใช้ ตำลึง250 กรัมต่อน้ำหนักตัว50 กิโลกรัม เช้า – เย็น วันละ 2 ครั้ง
รสและสรรพคุณยาไทย
รสเย็น ใบสด ตำคั้นน้ำ แก้พิษแมลงกัดต่อย ที่ทำให้ปวดแสบปวดร้อน และคัน
ประโยชน์ทางยา
ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ยุงกัด ถูกตัวบุ้ง ใบตำแย แพ้ละอองข้าว โดยเอา
ใบสด 1 กำมือ ( ใช้มากน้อย ตามบริเวณที่มีอาการ ) ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นน้ำจากใบเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆจนกว่าจะหาย
ใบแก่
ของตำลึงมีสรรพคุณทางยาคือ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อุดมไปด้วยสาร pectin ซึ่งหมอยาสมุนไพรพื้นบ้านชาวตะวันออก ได้ใช้รักษาโรคเบาหวานแต่โบราณ
(ขอบคุณสรรพคุณสารส้มจากหนังสือ เภสัชกรรมไทย ร่วมอนุรักษ์มรดกไทยโดย วุฒิ วุฒิธรรมเวช )
SHARE NOW

Facebook Comments