ผักพื้นบ้าน และมีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ “ผักปลัง”

ผักพื้นบ้าน และมีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ "ผักปลัง"

ผักพื้นบ้าน และมีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ “ผักปลัง”

วันนี้ผมขอแนะนำให้ทุกท่านรู้จัก ผักพื้นบ้าน และมีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ “ผักปลัง” นะครับ
ตามตำราแพทย์แผนไทยกล่าวว่า “ผักปลัง” มีสรรพคุณ
ใบ รสหวานเอียน ขับปัสสาวะ แก้กลาก แก้ผื่นคัน ระบายท้อง แก้บิด ตำพอก แก้ฝีเนื้อร้าย
ดอก รสหวานเอียน แก้โรคเรื้อน คั้นเอาน้ำทา แก้หัวนมแตกเจ็บ ดับพิษ แก้พิษฝีดาษ
ต้น รสหวานเอียน แก้พิษฝีดาษ แก้พิษฝี แก้อักเสบบวม ต้มน้ำดื่ม แก้ไส้ติ่งอักเสบ แก้อึดอัด แน่นท้อง ระบายท้อง
ราก รสหวานเอียน แก้มือเท้าด่าง แก้รังแค แก้พรรดึก ขับปัสสาวะ ทาถูนวดให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนัง
วิธีใช้
ปัสสาวะขัด ใช้ใบสด 60 กรัม ต้มกับน้ำแบบชา ต่อ1ครั้ง
ท้องผูก ใบสด หรือยอดอ่อน มาต้มกินเป็นอาหาร
ไส้ติ่งอักเสบ
ไส้ติ่งอักเสบ ต้นสด 60-120 กรัม ต้มกับน้ำรับประทาน
แก้ฝี หรือแผลสด ใช้ใบสดตำพอกตรงบริเวณที่เป็นหรือถูขยี้ก็ได้
อึดอัดแน่นท้อง ต้นสด 60 กรัม เคี่ยวกับน้ำให้ข้นแล้วทาน
ฝีเนื้อร้าย น้ำใบสดตำแล้วพอกที่บริเวณนั้น เปลี่ยนวันละ 1-2 ครั้ง
ตามตำราแพทย์แผนจีนกล่าวว่า “ผักปลัง” มีสรรพคุณ
ทั้งต้น และดอก รสหวาน เปรี้ยว ฤทธิ์ เย็น
เข้าเส้นลมปราณ หัวใจ ตับ ม้าม และลำไส้
สรรพคุณ ขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ร้อนใน ทำให้เลือดเย็น แก้ท้องผูก แก้บิด แก้ไส้ติ่งอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้ช้ำใน กระดูกร้าว เป็นยาใส่แผลสดห้ามเลือด แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ดอก ดับพิษในเลือด แก้อีสุกอีใส แก้หัวนมแตกเจ็บ แก้พิษฝีดาษ
ปริมาณที่ใช้
ทั้งต้น ยาแห้ง ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม ต้มน้ำดื่ม ต้นสดใช้ครั้งละ 35-70 กรัม ต้มน้ำดื่ม หรือใช้ตำพอกใส่แผล
ดอกแห้ง ใช้ครั้งละ 10 กรัม ต้มน้ำดื่ม ดอกสด ใช้ครั้งละ 35 กรัม ใช้ตำพอก หรือตำคั้นน้ำใส่แผล
ตำรายา
แก้ท้องผูก นำใบสดมาลวก รับประทานแทนผัก
ไส้ติ่งอักเสบ ต้นสด 70-100 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
ใส่แผลสดห้ามเลือด หรือแก้ฟกช้ำ นำใบมาตำพอแหลก ผสมกับน้ำตาลทราย หรืเเหล้าเล็กน้อย พอกบริเวณที่เป็นแผล
ข้อควรระวัง
ผู้ที่เป็นกระเพาะ ลำไส้หรืออาการเย็นหรือหย่อน ห้ามรับประทาน
ผักปลัง Ceylon Spinach
ชื่อวิทยาศาสตร์ Basella alba Linn.
ชื่อวงศ์ BASELLACEAE
ชื่ออื่น ผักปลังใหญ่,ผักปั๋ง
ผักปลัง เป็นไม้เลื้อยล้มลุก ทุกส่วนของต้นอวบน้ำ เถาสีม่วงแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ป้อม กว้าง 3-8 ซม. ยาว 5-10 ซม. เนื้อใบหนานุ่ม เมื่อขยี้มีเมือกเหนียว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อย สีชมพู ไม่มีก้านดอก ผลเป็นผลสด ฉ่ำน้ำ สีดำ
อ้างอิง
สารานุกรมสมุนไพร เล่ม1 สมุนไพร สวนสิรีรุกขชาติ จัดพิมพ์โดย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย โดย นายวุฒิ วุฒิธรรมเวช
สารานุกรมสมุนไพร ไทย-จีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย โดย นายวิทยา บุญวรพัฒน์
พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม
รวบรวมและเรียบเรียงโดย
นาย จิรทีปต์ วุฒิรัฐโรจน์ (moji kuing)

SHARE NOW
Exit mobile version