ประโยชน์ของผักสวนครัว

ประโยชน์ของผักสวนครัว

ประโยชน์ของผักสวนครัว

ประโยชน์ของผักสวนครัว
พืชผักสวนครัว หมายถึง พืชที่ใช้ส่วนต่างๆ เป็นอาหาร เช่น ลำต้น ใบ ดอก ผล และหัว พืชผักสวนครัวสามารถปลูกไว้ในบริเวณบ้านเพื่อใช้บริโภคภายในครอบครัว ถ้าเหลือก็สามารถนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการนำมาประกอบอาหารได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. ใช้ผลเป็นอาหาร เช่น แตงกวา มะเขือเทศ พริกหวาน
2. ใช้ใบและลำต้นเป็นอาหาร เช่น ผักกาดขาว ตำลึง ผักคะน้า สะระแหน่
3. ใช้ดอกเป็นอาหาร เช่น กะปล่ำดอก ดอกแค บร็อคโคลี่
4. ใช้หัวหรือรากที่อยู่ใต้ดินเป็นอาหาร เช่น หอมหัวใหญ่ แครอต กระเทียม ขิง
พืชผักสวนครัวเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกลือแร่ และวิตามิน การบริโภค
สรรพคุณของผักสวนครัวแต่ละชนิด
วันนี้อยากเชิญชวนให้ทุกคนหันมากินผักกันให้มาก ๆ โดยควรเลือกกินผักที่แน่ใจว่าปลอดจากสารพิษนะคะ จะให้ดีก็อยากชวนทุกคนหาโอกาสปลูกผักสวนครัวไว้เป็นสวนของครอบครัวกันบ้าง เราจึงนำสรรพคุณของผักแต่ละชนิดที่นิตยสารหมอชาวบ้านนำมาเผยแพร่มาถ่ายทอดต่อค่ะ
กวางตุ้ง ซึ่งมีเส้นใยอาหารสูงจึงช่วยในการขับถ่าย และยังเป็นผักที่ช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สำหรับกวางตุ้งฮ่องเต้มีวิตามินสูงโดยเฉพาะวิตามินเอและวิตามินซี รวมถึงธาตุอาหารที่สำคัญอย่างแคลเซียมและฟอสฟอรัส
กะเพรา เป็นสมุนไพรไทย ๆ ที่ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดอาการจุกเสียดได้ดี
ข่า ควรเลือกข่าอ่อนเพราะมีฤทธิ์ช่วยขับลมและลดเสมหะ
คะน้า วิตามินเอในคะน้าช่วยบำรุงสายตาขณะที่แคลเซียมและฟอสฟอรัสบำรุงกระดูกและฟัน
ต้นหอม มีฤทธิ์ช่วยขับเหงื่อ ลดไข้ หากกินอย่างต่อเนื่องจะช่วยบำรุงหัวใจ และลดไขมันในหลอดเลือด
ตะไคร้ ตะไคร้ทั้งต้นสามารถใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ลดจุกเสียด และยังมีสรรพคุณในการขับปัสสาวะด้วย
แตงร้าน เป็นผักที่เหมาะกับฤดูร้อนเพราะมีสรรพคุณช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ช่วยระบายของเสีย และกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหาร
ผักชี ต้นผักชีทำหน้าที่เหมือนยาละลายเสมหะ และช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ผักบุ้งจีน ช่วยบำรุงสายตา กระดูกและฟัน ทั้งยังป้องกันโรคโลหิตจางได้ เพราะเป็นผักที่มีทั้งแคลเซียมฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบีและซี
ผักหวานบ้าน มีทั้งแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่รับหน้าที่บำรุงกระดูก และมีแมกนีเซียมที่ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อ
พริกขี้หนู มีวิตามินซีสูงและเป็นแหล่งรวมของกรดแอสคอร์บิกที่ช่วยขยายหลอดเลือดในลำไส้และกระเพาะอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพของร่างกายในการดูดซึมสารอาหาร
ฟักเขียว ช่วยขับเสมหะได้ดี นอกจากนี้ฤทธิ์เย็นของฟักเขียวยังช่วยแก้ร้อนในได้ดีด้วย
ฟักทอง เป็นแหล่งรวมของเบต้าแคโรทีนซึ่งดีต่อผิว ทั้งยังช่วยบำรุงตับ ไต และสายตาด้วย
มะกรูด ใบมะกรูดทำให้เลือดลมไหลเวียนดี กลิ่นหอม ๆ ของมะกรูดช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
แมงลัก คนสมัยก่อนนิยมนำใบแมงลักมาตำจนละเอียด และคั้นน้ำดื่ม ใช้เป็นยาแก้หวัด
โหระพา ใบสดของโหระพามีสรรพคุณเด่นในเรื่องการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้วิงเวียน และช่วยย่อยอาหาร
ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลลำปาง
SHARE NOW

Facebook Comments