สูตรน้ำสมุนไพร “กระชาย+โหระพา” เพื่อสุขภาพ

สูตรน้ำสมุนไพร "กระชาย+โหระพา" เพื่อสุขภาพ

สูตรน้ำสมุนไพร “กระชาย+โหระพา” เพื่อสุขภาพ

สูตรน้ำสมุนไพร “กระชาย+โหระพา” เพื่อสุขภาพ

น้ำโหระพากระชาย ตามคำบอกกล่าว อาจารย์ สุทธิวัสส์ คำภา บอกไว้ว่า ไม่ต้องต้มเพราะมันฆ่าเชื้อด้วยตัวเอง เก็บไว้ได้เป็นเดือน กระชายบำไรุงไตได้ดีที่สุด ใช้กระชายดำหรือกระชายเหลืองก็ได้ กระชายปั่นกับใบโหระพา ผสมน้ำผึ้ง น้ำมะนาว
ดื่ม บำรุงสมอง บำรุงกระดูก เลือดเลี้ยงสมองไม่ดี ความจำเสื่อม นอนไม่ค่อยหลับ จะช่วยได้ แล้วผมจะดกดำหลับมาใหม่ ซึ่งท่านใช้ประสบการณ์ของท่านเองว่าผมกลับมาดกดำได้ผลจริง จากที่เคยผมร่วงผมหงอก หัวล้าน และยังบอกอีกว่าไม่ควรย้อมสีผมหรือโกรกผมเพราะสารเคมีพวกนี้มีพิษต่อตับ ให้ดื่มน้ำกระชายกับใบโหระพา
สูตรของอ.สุทธิวัสส์ คำภา
กระชายเหลือง 1 กก.ใส่น้ำเยอะๆปั่นผสมกับโหระพา รินเอาแต่น้ำ ทำมากๆแล้วเก็บใส่ตู้เย็น
วิธีทำ กระชายและโหระพา 2 อย่างๆละกำมือ น้ำดื่มสะอาดประมาณ 1 ลิตร ปั่นแล้วกรอง ถ้าไม่มีเครื่องปั่นก็ตำให้ละเอียดผสมน้ำแล้วกรอง ผู้อยู่ต่างประเทศหรือห้องพักที่ไม่มีครกก็ห่อผ้าหรือถุงแล้วทุบๆๆๆให้แหลกผสมน้ำดื่มสะอาดแล้วกรองก็ได้เช่นกัน ไม่ต้องเพื่มความหวาน 3 อย่างเท่านั้น น้ำกระชาย โหระพา ก็ดื่มได้ง่าย แต่ดื่มบ่อยๆ ไม่ควรใส่แต่ละอย่างมากเกินไป ทำสดๆดื่มทุกวันได้ยิ่งดี แต่สมุนไพรทั้ง 2 อย่างนี้ถ้าไม่มีเวลาทำครั้งเดียวมากต่อครั้งก็เก็บแช่เย็น ไว้ดื่มได้หลายวันไม่เสียค่ะ ดื่มได้ชื่นใจ ผู้ที่ไม่มีปัญหาเรื่องระวัง น้ำตาล น้ำผึ้ง ฯ ก็เพิ่มได้ตามชอบนะคะ
สรรพคุณกระชาย
กระชาย หัวละแอน ( เหนือ), ขิงแดง ,ขิงทราย (อีสาน)
-เหง้า รสเผ็ดร้อนขม แก้โรคเกิดในปาก แก้มุตกิต แก้ลมอันบังเกิดแก่กองหทัยวาย แก้ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล ขับระดูขาว แก้ใจสั่น แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิดมูกเลือด แก้ปวดเบ่ง รักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ บำรุงกำลัง
-ราก (นมกระขาย) รสเผ็ดร้อนขม แก้กามตายด้าน ทำให้
กระชุ่มกระช่วย บำรุงความกำหนัด มีสรรรพคุณคล้ายโสม
( ขอบคุณสรรพคุณกระชาย จากหนังสือเภสัชกรรรมไทย โดย
วุฒิ วุฒิธรรมเวช)
กระชาย
มีแคลเซียมสูง มีวิตามินบี ๑, บี ๓, บี ๖ ช่วยบำรุงสมอง ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองส่วนกลางดีขึ้น ป้องกันหัวล้าน ป้องกันผมหงอกก่อนวัย ฟื้นฟูเส้นผมให้กลับมาดกดำเป็นหนุ่มสาวอีกครั้งหนึ่ง ช่วยฟิ้นฟูต่อมไร้ท่อต่างๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมใต้สมอง ต่อมหมวกไต ป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจดีขึ้น ช่วยปรับสมดุลความดันโลหิต สำหรับคนเป็นความดันสูง กินน้ำกระชายคุมไว้ความดันขะปกติ ส่วนคนที่เป็นความดันต่ำจะอันตรายกว่าเพราะอาจช็อกได้ง่าย
น้ำกระชายก็จะปรับให้สมดุลพอดี ช่วยบำรุงตับ ไต ให้แข็งแรง ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง กระดูกไม่แตกเปราะง่าย ป้องกันกระดูกพรุน ดูแลระบบเพศ มดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสสาวะ ต่อมลูกหมาก ดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วยขับน้ำคาวปลาสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร
ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) และฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอโรน) ซึ่งมีอยู่ในร่างกายของทุกคน ผู้หญิงถ้ามีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินไปจะเป็นมะเร็งเต้านม แต่ถ้ามีน้อยเกินไปก็จะเป็นมะเร็งปากมดลูก ส่วนผู้ชายถ้าดื่มน้ำกระชายเป็นประจำ จะช่วยป้องกันต่อมลูกหมากโต ลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
( ขอขอบคุณ ประโยชน์ ฯ กระชาย จากหนังสือสูตรเด็ด โดย
อจ.สุทธิวัสส์ คำภา (ฉบับสีเขียว) )
โหระพา
สรรพคุณ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด/ลดความดันโลหิตสูง
โหระพา ชื่ออื่นๆ ห่อกวยซวย , ห่อวอซู , อิมคิมขาว
Basil, Common basil, Sweet basil
ใบ ขับลม แก้ไอ แก้สะอึก แก้ลมวิงเวียน ลดน้ำตาลในเลือด
เมล็ด ยาระบาย แก้บิด
ทั้งต้น ขับลม แก้ปวดหัว แก้หวัด แก้ปวดกระเพาะ แก้ปวดประจำเดือน
วิธีใช้
นำทั้งใบ/ต้น 1 กำมือ ต้มน้ำดื่มเช้า- เย็น ก่อนอาหาร หรือนำใบมาปรุงเป็นอาหาร
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ยับยั้งมะเร็ง ลดความดันโลหิต แก้ปวด
รายงานผลการทดลองHideyuki Matsunra ( ค.ศ 2003) ประเทศญี่ปุ่น
สารสกัดจากใบโหระพา ลดน้ำตาลในเลือดได้
สารสกัดจากใบและต้นโหระพา ลดความดันโลหิตสูงได้
รายงานผลการทดลอง
– ค.ศ 1990 ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล
– ถนอมเกียรติ ( 1979) ในประเทศไทยมหาวิทยาลับจุฬาลงกรณ์
– Ojewok JAO และคณะ (1982) ในประเทศไนจีเรีย
พบมีฤทธิ์ ขับปัสสาวะ และลดความดันโลหิตสูงได้
* ขอบคุณ โหระพาบำบัดเบาหวานและลดความดันโลหิตสูง
จากหนังสือ สมุนไพรบำบัดเบาหวาน และสมุนไพรลดความดันโลหิตสูง
เรียบเรียงโดย เภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก
สมุนไพรทั้งกระชายและโหระพา บางบ้านปลูกไว้ก็ยิ่งดีสดๆจากต้นใส่ปุ๋ยธรรมชาติ
ปลูกเองกินเองเยี่ยมค่ะ สำหรับกระชายดำนั้นฤทธิ์จะแรงกว่า
ไม่ว่าหญิงหรือชาย ใช้กระชายดำมาเป็นอาหาร ควรจะพอดีๆต่อครั้งนะคะ………..
ด้วยความปรารถนาดี

กานดา แสนมณี

วันศุกร์ที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ ๒๕๕๗
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย กานดาน้ำมันมะพร้าว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
SHARE NOW

Facebook Comments