หญ้าเกล็ดหอย

หญ้าเกล็ดหอย

หญ้าเกล็ดหอย

🍀 หญ้าเกล็ดหอย 🍀

วิธีใช้ตามตำราชาวบ้าน
จีนเรียก โพตี้กิ๊ม มัวที่แช จุนฮวงซุย ฮื้อลิงเข่า ฮ่วยเกี้ยงโช้ว Hydroctyle sibthor pioides.
ลักษณะ
พืชไม้เลื้อย เกิดในท้องนาและริมนํ้า ข้างถนน ลำต้นอ่อนสีเขียว ใบออก ตามกิ่งๆ ละใบ หน้าใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 1 นิ้ว ใบกลมเป็นหยัก 7 หยัก แพร่พันธุ์ในฤดูร้อน ดอกสีขาว เมล็ดรูปกลมแบน
รส
ฝาดนิดๆ มีกลิ่นหอม ไม่มีพิษ
สรรพคุณ
สามารถแก้ร้อนใน ตำแหลกใช้พอกผิวหนังแก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงม้ามและปอด
รักษา
แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ร้อนใน เจ็บคอ หรือเจ็บตา ปวดฟัน ปวดท้องเพราะ
มากในกามกิจ ตาเป็นฝ้า
ตำราชาวบ้าน
1. ไอมีเสมหะ – ใช้หญ้าเกล็ดหอย 1 ตำลึง ต้มรับประทาน
2.ปวดท้องร้อนในผดแดงขึ้นตามตัว – หญ้าเกล็ดหอย และหญ้ารอยเท้าม้า อย่างละ 1 ตำลึง ต้ม
3. ปวดท้องเพราะมากในกามกิจ – ใช้หญ้าเกล็ดหอย 3 ตำลึง ตำรับประทานกับเหล้า หรือตำกินกับใบบัวบก หญ้ารอยเท้าม้า หญ้าเปลือกหอย อย่างละ 1 ตำลึง กินกับเหล้าอุ่น
4. เจ็บคอ – หญ้าเกล็ดคอย 1 ตำลึง ตำกับเกลือคั้นเอานํ้าต้มรับประทาน หรือต้มเฉยๆ รับประทานหรือตำกับเกลือใช้อม
5. ปวดฟัน – ใช้หญ้าเกล็ดหอย ตำแหลกแล้วปะที่ฟันที่ปวด หรือตำกับหญ้าเปลือกหอย แล้วปะฟันที่ปวด
6. เจ็บตา ตาแดงปวดบวม – ใช้หญ้าเกล็ดหอย 1 ตำลึง ต้มนํ้ากิน หรือ ตำแหลกปะที่ตา ไว้ช่องเป็นรู
7. เยื่อเนื้อบังตา – ใช้หญ้าเกล็ดหอย และแซ่ตี่ กับนํ้าผึ้งตำด้วยกันแล้วปิดที่หางตา
ปริมาณใช้
สดใช้ไม่เกิน 1-2 ตำลึง แห้งใช้ไม่เกิน 3-5 เฉียน ใช้ภายนอกกะพอประมาณ
ที่มา:บุญชัย ฉัตตะวานิช
ขอบคุณที่มาข้อมูล
ไทยเกษตรศาตร์
SHARE NOW

Facebook Comments