กัญชง กัญชา

รวบรวมความรู้ต่างๆจากทั้งแพทย์ เภสัชกร แพทย์แฟนไทย ภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ไปพบไปอ่นเจอ เพื่อสะดวกในการค้นหา

กัญชา กัญชง แบบไหน ปลอดภัยต่อตับ

กัญชา กัญชง แบบไหน ปลอดภัยต่อตับ

กัญชา กัญชง แบบไหน ปลอดภัยต่อตับ

กัญชา กัญชง แบบไหน ปลอดภัยต่อตับ

การค้นพบระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในตับ ทำให้เริ่มมีการค้นพบถึงแนวทางและคำตอบของการใช้กัญชา กัญชง ระยะยาวอย่างไรให้ปลอดภัย

ก่อนอื่นต้องแยกคนที่ตับปกติออกไปก่อนนะครับ เดี่ยวโอกาสหน้าจะเขียนข้อมูลอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ ผมขอโฟกัส สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ หรือ ตับมีความผิดปกติ แต่มีความจำเป็นต้องใช้กัญชา กัญชง

เมื่อตับมีความผิดปกติเกิดขึ้น จะมีการแสดงออกของตัวรับ CB1 ที่เพิ่มมากขึ้น หรือ มีจำนวนตัวรับ CB1 ในตับเพิ่มปริมาณมากขึ้น ซึ่งความผิดปกติที่ว่า จะขอตัดโรคตับแข็ง และมะเร็งตับออกไปนะครับ เพราะว่า การกระตุ้น CB1 อาจได้ประโยชน์

ความผิดปกติในที่นี้ที่มีการศึกษามาก คือ ไขมันพอกตับ ทั้งจากแอลกอฮอร์ alcohol-induced
liver disease (ALD) และ ไม่ใช่แอลกอฮอร์ non-alcoholic fatty liver disease (NAFLD) รวมทั้ง ภาวะตับอักเสบ เป็นต้น

หรือให้เข้าใจง่ายๆ คือ ถ้าคุณกินเหล้า และอ้วนลงพุง มีไขมันพอกตับ จะใช้กัญชา กัญชง ให้ปลอดภัย ควรใช้กัญชา กัญชง แบบสารสกัดรวม หรือ Fullspectrum

เพราะว่า แบบสารสกัดรวม มีสารไฟโตแคนนาบินอยด์ ที่ยับยั้งการทำงานของตัวรับ CB1 อยู่ด้วย

ถ้ามีการใช้สาร THC สูงๆ หรือ ปริมาณสูงๆ จะพบว่า ในระยะยาวจะนำไปสู่การทำลายตับได้ ตามกลไกในภาพประกอบ

เช่น ทำให้พังผืดเกิดขึ้นที่ตับมากยิ่งขึ้น

ทำให้มีการผลิตไขมันแล้วทำให้ไขมันแทรกในตับมากยิ่งขึ้น

เพิ่มการอักเสบของเซลล์ตับมากยิ่งขึ้ง

รวมทั้งหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเดิดขึ้นที่ตับมากยิ่งขึ้น

ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาวิจัยล่าสุดพบว่า การออกฤทธิ์แบบยับยั้งตัวรับ CB1 (CB1 antagonist) และ การออกฤทธิ์แบบกระตุ้นตัวรับ CB2 (CB2 agonist) เป็นแนวทางที่จะใช้ในความผิดปกติของตับที่กล่าวมาข้างต้น

ซึ่งแน่นอนว่า สารไฟโตแคนนาบินอยด์ จากกัญชา กัญชง แบบสารเดี่ยว ในระยะยาว โดยเฉพาะสาร THC มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตับในระยะยาวได้ โดยเฉพาะคนที่ดื่มเหล้า เบียร์ หรือ คนอ้วน หรือ คนที่มีไขมันพอกตับ

และย้ำอีกครั้งนะครับว่า อันตรายเกิดขึ้น เมื่อมีการใช้สารเดี่ยวๆนะครับ ไม่ได้หมายถึง กัญชา กัญชง เดี๋ยวจะมีการเข้าใจผิดกัน

ซึ่งการใช้แบบสารสกัดรวมนี้ เป็นทิศทางที่การใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา กัญชง เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ต่างชาติกำลังให้ความสำคัญ

ยกเว้น ต่างชาติที่ทำธุรกิจยานะครับ ต้องแยกออกจากกัน ระหว่างต่างชาติที่ค้าขายยาทางการแพทย์ กับ ต่างชาติที่ค้นคว้าเพื่อนำกัญชา กัญชง มารักษาสุขภาพจริงๆ

สรุป ไขมันพอกตับ ชอบกินเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือ อ้วนลงพุง จะใช้กัญชา เน้น สารสกัดรวม หรือ ถ้าไม่ได้ ก็เน้น สาร CBD เด่น ระวังการใช้สาร THC สูง ในระยะยาว

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

The endocannabinoid system as a key mediator during liver diseases: new insights and therapeutic openings. Br J Pharmacol 2011;163:1432 1440.

CB2 receptors as new therapeutic targets during liver diseases. Br J Pharmacol 2008;153:286–289.

Paracrine activation of hepatic CB(1) receptors by stellate cell-derived endocannabinoids mediates alcoholic fatty liver. Cell Metab 2008;7: 227–235.

CB1 cannabinoid receptor antagonism: a novel strategy for the treatment of liver fibrosis. Nat Med 2006;12:671–676.

Beneficial paracrine effects of cannabinoid receptor 2 on liver injury and regeneration. Hepatology 2010;52:1046–1059.

กัญชา กัญชง กับโรคกระดูกพรุน

กัญชา กัญชง กับโรคกระดูกพรุน

กัญชา กัญชง กับโรคกระดูกพรุน

กัญชา กัญชง กับโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบมากขึ้นตามจำนวนผู้สูงอายุ ยิ่งปัจจุบันสังคมโลกกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เฉพาะประเทศไทย จำนวนผุ้สูงอายุเข้าเข้าหลัก 10 ล้านคนไปแล้ว

และยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่มาก ที่เข้าใจว่า ภาวะกระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกพรุน จะแก้ไขได้ด้วยการให้ผู้สูงอายุรับประทานแคลเซียม

และยิ่งงานวิจัยหลังๆออกมาบอกว่า การรับประทานแคลเซียมที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคระบบหัวใจและเส้นเลือดที่มากขึ้นได้

อธิบายให้เห็นภาพ ดังนี้ แคลเซียมก็เปรียบเสมือน ผงปูนที่ใช้ในการก่อสร้าง และแน่นอน การจะทำให้ตึกหรือกำแพงมีความแข็งแรง ไม่ได้ขึ้นกับการมีผงปูนที่มาก แต่ยังขึ้นกับ ทราย น้ำ หรือ หิน ร่วมด้วย ที่ได้สัดส่วนที่เหมาะสม

กระดูกของมนุษย์เช่นกัน การเติมแต่แคลเซียม ไม่ได้ทำให้กระดูกแข็งแรงเสมอไป โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ยังมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ฮอร์โมน เป็นต้น

ปัจจุบันมีการค้นพบบทบาทของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์กับโรคกระดูกพรุน

ซึ่งมีการค้นพบว่า ในภาวะกระดูกพรุน มีการแสดงออกของตัวรับ CB1 และ TRPV1 ที่มากขึ้น แต่การแสดงออกของตัวรับ CB2 กลับมีไม่มาก

และเพื่อทำการศึกษาลงไปอีกก็พบว่า การกระตุ้นของตัวรับ CB1 และ TRPV1 เป็นการไปกระตุ้นกระบวนการสลายของกระดูก หรือ ที่เรียกว่า Osteoclasts ตามภาพประกอบ คือ OCs

ทำให้เกิดการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูก จนในที่สุดทำให้กระดูกพรุนได้

ส่วนการกระตุ้นตัวรับ CB2 จะเป็นการไปยับยั้งการทำงานของกระบวนการสลายกระดูก หรือ Osteoclasts หรือ ไปยับยั้งการทำงานของพวก CB1 และ TRPV1 นั่นเอง

ซึ่งการค้นพบนี้ ทำให้เข้าใจและเพิ่มทางเลือกในการรักษาโรคกระดูกพรุนเพิ่มมากยิ่งขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งนับวันจะพบผู้สูงอายุมีภาวะกระดูกพรุนมากยิ่งขึ้น และยังไม่สามารถแก้ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับ สารไฟโตแคนนาบินอยด์ ในกัญชา กัญชง ที่มีคุณสมบัติต้านการทำงานของตัวรับ CB1 ก็จะเป็นสารในตระกูล CB ซึ่งสาร CBD ก็มักจะมีการพูดถึงบ่อยที่สุด

ฉะนั้น สาร CBD ถ้าใครติดตามข้อมูลผมมา จะพอทราบว่า นี่คือ สารที่เกิดมาเพื่อสังคมผู้สูงอายุอย่างแท้จริง เพราะนอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องกระดูก แล้ว ยังแก้ปัญหาเรื่องการปวด และ การนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นปัญหาของผู้สูงอายุทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย

ปล. ไม่ให้ปลูกกัญชา ให้ปลูกกัญชง ก็ได้ประโยชน์มหาศาลแล้วครับ ถ้าจริงใจในการให้ประชาชนเข้าถึงสารไฟโตแคนนาบินอยด์ที่มีบทบาทต่อร่างกายอย่างมหาศาล

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

The endovanilloid/endocannabinoid system in human osteoclasts: Possible involvement in bone formation and resorption. Bone 2009, 44, 476–484.

CB(2) and TRPV(1) receptors oppositely modulate in vitro human osteoblast activity.Pharmacol. Res. 2015, 99, 194–201.

Peripheral cannabinoid receptor, CB2, regulates bone mass. Proc. Natl. Acad. Sci. USA 2006, 103, 696–701.

Role of cannabinoids in the regulation of bone remodeling. Front. Endocrinol. 2012, 3,136.

กัญชา 80 ขวด กับ Influencer ที่ผิดพลาดทางการตลาดของรัฐมนตรีสาธารณสุข

กัญชา 80 ขวด กับ Influencer ที่ผิดพลาดทางการตลาดของรัฐมนตรีสาธารณสุข

กัญชา 80 ขวด กับ Influencer ที่ผิดพลาดทางการตลาดของรัฐมนตรีสาธารณสุข

กัญชา 80 ขวด กับ Influencer ที่ผิดพลาดทางการตลาดของรัฐมนตรีสาธารณสุข

เมื่อวันก่อนผมมีโอกาสนั่งคุยกับนักธุรกิจด้านการตลาด ที่ดูแลตลาดยาโดยเฉพาะ ซึ่งก็แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เกี่ยวกับประเด็น กัญชา 80 ขวด จากกว่าหมื่นขวดที่ผลิตได้ ที่รัฐมนตรีสาธารณสุขออกมาบอกว่า ไม่ค่อยมีการสั่งจ่ายกัน

ซึ่งผมของรวบรัดบทสรุปให้ดังนี้ คือ

การจะให้ยาตัวใดตัวหนึ่ง เข้ามาในตลาดและเป็นที่นิยม จนสามารถมีการใช้ได้อย่างมหาศาลนั้น

แน่นอน งานวิจัยก็ต้องมี ซึ่งตรงนี้ผมขอข้าม เพราะจะยาวไป

ยาใหม่จะถูกใช้หรือไม่ใช้ ต้องถามว่า ใครคือ ผู้มีอิทธิพลในการสั่งจ่าย หรือในภาษาทางการตลาด เรียกว่า Influencer

ในระบบการแพทย์แบบปัจจุบัน Influencer คือ ระดับอาจารย์หมอ อาจารย์เภสัช อาจารย์ของอาจารย์ เป็นต้น นั่นละ

เพราะถ้าคนเหล่านี้เอาด้วย บุคลากรการแพทย์ระดับเด็กๆก็กล้าจะเอาด้วย แต่ถ้าระดับบนไม่เอาด้วย หมอเด็กๆ เภสัชกรเด็กๆ ก็ไม่กล้าขยับ

เหมือนเวลาที่ยาใหม่จะเข้าตลาด ทำไมการตลาดจึงมุ่งเป้าไประดับอาจารย์ของคนเหล่านี้

ก็เพราะว่า ถ้าอาจารย์สั่งจ่ายปุ๊บ ระดับเด็กน้อยก็กล้าจะจรดปากกาสั่งจ่ายตามด้วย

ทีนี้ย้อนกลับมา ที่ทำไมกัญชาถึงใช้แค่ 80 ขวด

ถ้าเข้าใจประเด็นข้างต้น ก็จะไม่แปลกเลยว่า ทำไมไม่จ่ายกัน

และยังมีข้อยุ่งยากอีกมาก ซึ่งสำคัญ เช่น สารสกัดจากกัญชา กัญชง ยังไม่มีตัวตนในคู่มือการรักษาทางการแพทย์ใดๆในประเทศไทย (เท่าที่ทราบ)

ขยายความสำหรับคนทั่วไปเพิ่มอีกหน่อย

ทุกโรค จะมีคู่มือการรักษาทางการแพทย์ มีไว้สำหรับ เป็นเอกสารอ้างอิง เวลาจะวินิจฉัยว่า ผูัป่วยป่วยเป็นโรคอะไร และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร จะเริ่มด้วยยาตัวไหนก่อนหลัง เป็นต้น

เช่น คู่มือการรักษาโรคเบาหวาน คู่มือการรักษาโรคไต เป็นต้น

ซึ่งสารสกัดในกัญชา กัญชง ยังไม่มีศักดินาเข้าไปอยู่ในคู่มือใดๆในระดับนี้เลย

นี่จึงบอกว่า ทำไมกัญชาหมื่นขวดที่ผลิตกันมา จึงมีการใช้จริงน้อยมาก

ทางออกนะเหรอ

มองกัญชา กัญชงไม่ใช่ยาเคมีในระบบการแพทย์แผนปัจจุบันสิ แล้วขยับไปอยู่ในการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์แผนไทย โดยไม่ต้องไปตีกรอบให้พวกมันว่า ต้องเป็นตำรายาไทยเท่านั้น

ก็หมื่นขวดที่ผลิตขึ้นมานี่ละ

แล้วให้บุคลากรทางแพทย์แผนไทย แสดงบทบาทออกมา เพื่อให้แสดงศักดิ์ศรีของวิชาชีพออกมา ที่ให้ประชาชนเห็นถึงบทบาท

ก็หวังว่า ท่านรัฐมนตรีสาธารณสุข จะไม่ถูกนักวิชาการใกล้ตัว ขุดหลุมแล้วพากัญชา กัญชง เดินลงเหวไป เพราะไม่แน่ว่า ถ้าวางระบบผิด ครั้งหน้าท่านไม่ได้เข้ามาดูแลตรงนี้ ผมว่า มันจะเสียเวลา และเสียความตั้งใจของท่านเปล่าๆ

เหตุผลเพราะอะไร ก็ย้อนกลับไปอ่านบทความนี้ตั้งแต่ต้นใหม่ครับ

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

ไตไม่ค่อยดี จะใช้กัญชา กัญชง แบบไหนดี

ไตไม่ค่อยดี จะใช้กัญชา กัญชง แบบไหนดี

ไตไม่ค่อยดี จะใช้กัญชา กัญชง แบบไหนดี

ไตไม่ค่อยดี จะใช้กัญชา กัญชง แบบไหนดี

เป็นคำถาม ที่ผมได้รับประจำ เพราะถ้าขึ้นชื่อว่า สมุนไพร อาหารเสริม วิตามิน คนในประเทศนี้จะถูกยัดเยียดความเชื่อผิดๆที่ว่า ถ้ากินแล้วจะทำลายตับไต เข้ามาไว้ในหัวตลอดเวลา

ก่อนจะไปถึงว่า จะใช้กัญชา กัญชง อย่างไร มาว่ากันถึง ธรรมชาติของไตกับระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์กันก่อน

บริเวณไต ทั้งท่อไตส่วนต่างๆ และบริเวณที่ใช้ในการกรองของเสียและแร่ธาตุต่างๆ จะมีส่วนประกอบตัวรับ CB1 และ CB2 กระจายตัวอยู่ เพื่อควบคุมการทำงานของไต

แต่จากการศึกษาลึกลงไปพบว่า ตัวรับ CB1 จะมีปริมาณมากกว่า หรือ หนาแน่นมากกว่า

โดยเฉพาะเส้นเลือด 2 กลุ่มเส้นหลัก ที่วิ่งเข้าไปที่ไต และ วิ่งออกจากไต ซึ่งก็คือ เส้นเลือด afferent arterioles และ เส้นเลือด efferent arterioles ตามลำดับ

เส้นเลือดนี่ละ ที่เข้ามามีบทบาท ที่อาจจะนำไปสู่การกำหนดรูปแบบของการใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา หรือ กัญชง

เพราะอะไรนะเหรอ

เพราะว่า มีการศึกษาพบว่า การกระตุ้นที่ตัวรับ CB1 ที่อยู่ในเส้นเลือด จะทำให้เส้นเลือดมีการขยายตัวหรือหดตัวได้ ซึ่งการที่เส้นเลือดสองเส้นที่ไตหดหรือขยายตัวนี่ละ ทำให้การทำงานของไตลดลง เพราะเลือดไปไหลเวียนเข้าออกที่ไตได้น้อยลง หรือ ความดันในเส้นเลือดไตลดลง

ซึ่งอาจจะนำไปสู่ผลเสียที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตไม่ดีอยู่แล้ว ถ้าเส้นเลือดที่ไตถูกกระตุ้นที่ตัวรับ CB1 มากจนเกินไป

พอมาถึงจุดนี้ เราจะเห็นว่า การเลือกใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์ มันไม่ใช่แค่ การมีน้ำมันกัญชา กัญชง อย่างไรก็ได้อยู่ในมือ แล้วใช้ๆกันไป

แต่เราสามารถเลือกได้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกายของตัวเองได้ตั้งแต่แรก

ซึ่งกรณีนี้ ถ้าผู้ที่จะใช้ มีการทำงานของไตที่ไม่ดี หรือ เป็นผู้ป่วยโรคไตอยู่แล้ว การหลีกเลียงการใช้น้ำมันกัญชา ที่มีสาร THC สูงๆ จึงน่าจะหลีกเลี่ยง เพราะสาร THC กระตุ้นตัวรับ CB1 ได้ดี ควรเลือกใช้น้ำมันกัญชาในรูปแบบที่ THC ไม่มาก

หรือถ้ามีความจำเป็นต้องใช้จริงๆ ควรติดตามการทำงานของไต สังเกตการปัสสาวะของตัวเองด้วย ว่า น้อยลงหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง เพราะอาจเป็นสัญญานที่อาจเกิดผลเสียที่ไตเกิดขึ้น เป็นต้น

ฉะนั้น ไตไม่ค่อยดี จะใช้กัญชา กัญชง ระวังสูตรที่สาร THC สูงๆด้วยนะครับ เพราะผมเจอมาหลายรายแล้ว

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

Cannabinoid receptors in the kidney. Curr Opin Nephrol Hypertens 25: 459 –464, 2016.

Cannabinoid receptor 2 expression in human proximal tubule cells is regulated by albumin independent of ERK1/2 signaling. Cell Physiol Biochem 32: 1309 –1319, 2013.

Role for cannabinoid receptors in human proximal tubular hypertrophy. Cell Physiol Biochem 26: 879 –886, 2010.

Overactive cannabinoid 1 receptor in podocytes drives type 2 diabetic nephropathy. Proc Natl Acad Sci USA 111: E5420 –E5428, 2014.

Expression of cannabinoid receptors in human kidney. Histol Histopathol 25: 1133–1138, 2010.

 

กัญชา กัญชงอาจร่วมมือกับยาเคมี กำจัดมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กัญชา กัญชงอาจร่วมมือกับยาเคมี กำจัดมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กัญชา กัญชงอาจร่วมมือกับยาเคมี กำจัดมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กัญชา กัญชงอาจร่วมมือกับยาเคมี กำจัดมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ภาพประกอบที่ผมยกตัวอย่างมานี้ ทำให้เห็นว่า มีความพยายามที่จะมีการศึกษาวิจัย เพื่อหาแนวทางในการกำจัดเซลล์มะเร็ง

ทั้งการใช้สารไฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา กัญชง แบบเดี่ยวๆ และร่วมกับการรักษาแบบอื่นๆ เช่น การใช้ยาเคมีบำบัด การฉายรังสี หรือ แม้แต่การผ่าตัด

เพราะทุกคนทราบดีกว่า การรักษามะเร็ง ไม่ได้มีวิธีใดวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีสุด

มะเร็งใช้หลากหลายกลไก และช่องทางในการพัฒนาเผ่าพันธุ์ของพวกมัน ฉะนั้น อาวุธที่จะเข้าไปทำลายพวกมัน ก็ต้องมีความหลากหลายเช่นกัน ทั้งอาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ ก็ต้องกระหน่ำเข้าไป

ฉะนั้น ข้อถกเถียงที่ว่า กัญชา กัญชง ห้ามใช้ร่วมกับการรักษาแบบอื่นๆในโรคมะเร็ง ที่มักมีการพูดถึงนั้น อาจต้องเริ่มทบทวนใหม่ในระดับการรักษาแบบจริงจัง

ถึงแม้จะบอกว่า การศึกษาวิจัยยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะรักษามะเร็งได้ไหม แต่ยาเคมีที่ใช้กัน ก็ไม่ได้รักษาคนไข้มะเร็งหายทุกรายไป

ซึ่งบางราย บางกรณี การประมวลข้อมูลที่ต้องใช้สมองใช้ปัญญา ก็น่าจะพิจารณาได้ ไม่ใช่แค่ท่องจำมาว่า ไม่มีระบุในแนวทางการรักษา ก็เลยขังคนไข้ให้ตายไปกับการรักษาเดิมๆ อาวุธเดิมๆ

แต่กว่าจะไปถึงจุดที่กัญชา กัญชง ใช้ได้แบบจริงๆนั้น อาจต้องมีอุปสรรคอย่างใหญ่หลวง เพราะ ในการแพทย์ ไม่ใช่แค่เรื่องการรักษา มันยังมีผลประโยชน์มหาศาลกับธุรกิจยาเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

หรือไม่ เราก็อาจจะไม่เคยได้ใช้กัญชา กัญชง กับโรคมะเร็งเลยในการแพทย์แบบแผนปัจจุบัน อาจต้องหันไปพึ่งการแพทย์ทางเลือกหรือการแพทย์แผนไทย

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

Radiotherapy plus concomitant and adjuvant temozolomide for glioblastoma. N Engl J Med, 352 (10) (2005), pp. 987-996

Adjuvant chemotherapy in the treatment of high grade gliomas. Cancer Treatment Reviews Volume 31, Issue 2, April 2005, Pages 79-89

Gemcitabine/cannabinoid combination triggers
autophagy in pancreatic cancer cells through
a ROS-mediated mechanism. Cell Death and Disease (2011) 2, e152

 

กัญชา กัญชง สอนให้มนุษย์รักษาสุขภาพแบบสมดุล

กัญชา กัญชง สอนให้มนุษย์รักษาสุขภาพแบบสมดุล

กัญชา กัญชง สอนให้มนุษย์รักษาสุขภาพแบบสมดุล

กัญชา กัญชง สอนให้มนุษย์รักษาสุขภาพแบบสมดุล

ผลร้ายจากการดูแลสุขภาพแบบขาดสมดุล จบลงด้วยปัญหาสุขภาพอย่างไรนั้น ผมเชื่อว่าหลายท่านน่าจะรู้ดี มันเหมือนกับการที่เรากวาดขยะซุกไว้ไต้พรม ถึงห้องจะดูเหมือนสะอาด แต่ก็มีขยะเกลื่อนอยู่ใต้ห้องเช่นกัน

การแพทย์ด้วยยาเคมี เน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยแทบจะไม่สนว่า ระบบอื่นของร่างกายจะเป็นอย่างไร เปรียบเหมือนคนเห็นแก่ตัว ที่กวาดขยะหน้าบ้านตัวเองมาใว้หน้าบ้านคนอื่นอื่น แล้วบอกว่า บ้านตัวเองสะอาด นั่นละ

ปัจจุบันการแพทย์ที่เน้นยาเคมีสร้างผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว ทั้งในเชิงประจักษ์ที่ตัวผู้ป่วยเผชิญเอง และ เชิงข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้ โดยเฉพาะ ยาเคมีที่เน้นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผมเชื่อว่า ใครมีญาตที่ป่วยน่าจะเข้าใจที่ผมสื่อได้ดี

แต่ก็นั่นละ เนื่องจากธุรกิจการแพทย์ ที่มียาเคมีอยู่เบื้องหลัง มูลค่ามหาศาล จึงสามารถที่จะกำหนดทิศทาง หรือ กฎระเบียบ เพื่อเอื้อกับการแพทย์ในรูปแบบนี้

แต่ถ้าใครได้ติดตาม การขยับของเทรนด์การดูแลสุขภาพ รวมทั้งการรักษาโรคในระดับสากล จะเห็นถึงการขยับของผู้ป่วยเข้ามายังการแพทย์ทางเลือกมากขึ้น รวมทั้ง การใช้สมุนไพร สารอาหาร และกัญชา กัญชง ก็รวมอยู่ในนั้นด้วย

การใช้กัญชา กัญชง ก็เช่นกัน ถ้าใครติดตามผมมา จะเห็นว่า ผมค่อนข้างจะสนับสนุนการใช้กัญชา กัญชง แบบสารสกัดรวมมากกว่า สารใดสารหนึ่ง หรือ ถ้าต้องการใช้สารใดสารหนึ่งแบบเพียวๆ ก็ควรใช้ในบางช่วงจังหวะของการรักษาเท่านั้น

ทำไมผมจึงพูดเช่นกัน

ก็เพราะวิทยาศาสตร์พื้นฐานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ บอกไว้ว่า การทำให้ระบบเหล่านี้ขาดสมดุล ทั้งที่มันเกิดขึ้นเองแล้ว หรือ มีการแทรกแซงมัน ซึ่งก็คือ การนำสารไฟโตแคนนาบินอยด์ จากกัญชา กัญชง เข้าไปในร่างกาย จะด้วยจุดประสงค์ใด หรือ เพื่อรักษาโรคใดก็ตาม

จะทำให้ก่อให้เกิดความไม่สมดุลของระบบนี้ขึ้น และจะนำไปสู่การเจ็บป่วยได้ เพราะตอนนี้เราทราบแล้วว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์เข้ามามีบทบาทกับทุกๆส่วน ทุกๆการทำงานของอวัยวะในร่างกาย

การอัดสารใดสารหนึ่งจากกัญชา กัญชงเข้าไปในร่างกาย ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติและไม่สมดุลเกิดขึ้นได้

ซึ่งเทียบได้กับ การใช้ยาเคมี นั่นละ เพราะมันจะไปออกฤทธิ์อย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป

ดังรูปภาพประกอบ จะเห็นว่า การกระตุ้นตัวรับ การยับยั้งตัวรับ ในระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ตัวใดตัวหนึ่งที่มากเกินไป สามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้

ฉะนั้น แนวทางการดูแลสุขภาพที่เป็นหลักข้อเท็จจริง ก็คือ การสร้างสมดุล และการใช้กัญชา กัญชง เพื่อให้ได้จุดประสงค์ดีต่อสุขภาพจริงๆ ก็ควรใช้แบบสมดุล

ผมไม่คิดว่า การใช้สารใดสารหนึ่งที่พยายามใช้กัน จะเกิดผลดีต่อสุขภาพระยะยาว ใช้เพียงชั่วขณะ หรือ บางจังหวะอย่างที่ผมเคยเขียนไป จะดีกว่า ส่วนใช้แบบยาวๆ สารสกัดรวมน่าจะดีกว่าแน่นอน

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

Modulating the endocannabinoid system in human health and disease: successes and failures. FEBS J. 2013 May ; 280(9): 1918–1943.

The endocannabinoid system as an emerging target of
pharmacotherapy. Pharmacol Rev. 2006; 58:389–462.

Pharmacological and therapeutic secrets of plant and brain (endo)cannabinoids. Med Res Rev. 2009; 29:213–71.

การแสดงออกของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในมะเร็งแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน

การแสดงออกของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในมะเร็งแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน

การแสดงออกของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในมะเร็งแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน

การแสดงออกของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ในมะเร็งแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เข้ามาเกี่ยวข้องในการควบคุมการแบ่งเซลล์ในร่างกายคนเราทั้งเซลล์ปกติ และเซลล์ที่เป็นมะเร็ง

และในมะเร็งแต่ละชนิดที่มีการค้นพบที่มีระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็พบว่า

การแสดงออกของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ตั้งแต่ตัวรับ เอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง สารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ การเข้าคู่กับตัวรับต่างชนิดกัน เป็นต้น นั่นมีรายละเอียดที่แตกต่างนั่น (more…)

กัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาแบบ RM ที่จะสั่งกันได้ง่ายๆ

กัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาแบบ RM ที่จะสั่งกันได้ง่ายๆ

กัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาแบบ RM ที่จะสั่งกันได้ง่ายๆ

กัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาแบบ RM ที่จะสั่งกันได้ง่ายๆ

ก่อนอื่นทำความเข้าใจคำว่า RM ก่อน ในใบสั่งยา ปกติจะมีคำสั่งว่าจะจ่ายยาแบบคุ้นเคยกันก็คือ คำว่า RM ก็ย่อมาจาก Repeat Medication ซึ่งหมายถึง ยาเดิมที่ผู้ป่วยเคยใช้กัน

มักมีคำกล่าวในหมู่คนไข้ว่า เวลาเข้าตรวจ ยังนั่งก้นยังไม่สัมผัสเก้าอี้ดีเลย ก็บอกว่า ยาเดิม และถ้าสังเกตในใบสั่งยา ก็มักจะปรากฎตัวหนังสือ RM

นั่นหมายถึง ยาเดิมนะจ๊ะ กินต่อไป จนกว่าจะเจอกันใหม่ครั้งหน้า (more…)

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ควบคุมสารอนุมูลอิสระ 3 ตระกูลใหญ่ในร่างกาย

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ควบคุมสารอนุมูลอิสระ 3 ตระกูลใหญ่ในร่างกาย

ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ควบคุมสารอนุมูลอิสระ 3 ตระกูลใหญ่ในร่างกาย

สารอนมูลอิสระ ก็เหมือน ขยะที่เกิดขึ้นในร่างกายของคนเรานั่นละ

เพราะในกิจวัตรประจำวันของคนเรา ล้วนสร้างขยะขึ้นมา เหมือนกับร่างกาย เมื่อมีปฏิกิริยาตั้งแต่ลมหายใจแรกจนถึงลมหายใจสุดท้าย

เข้าไปก็ล้วนเป้นจุดเริ่มสร้างขยะให้ร่างกาย

ซึ่งขยะเหล่านี้ ก็มีหลายประเภทที่ร่างกายสร้างขึ้น ซึ่ง 3 ตระกูลใหญ่ของขยะมีดังนี้

Reactive Oxygen Species หรือ ROS

Reactive Nitrogen Species หรือ RNS

Reactive Aldehyds Formation

ซึ่งสารอนุมูลอิสระเหล่านี้ ล้วนเป็นตัวร้ายที่คอยทำลายร่างกายอย่างช้าๆ เงียบๆ เนียนๆ อยู่เบื้องหลัง
จนทำให้เกิดโรคที่มองเห็นกัน เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ และแทบจะทุกโรคมีขยะเหล่านี้เข้าไปเกี่ยวข้องเสมอ

และแน่นอนระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ก็ควบคุมการเกิดสารอนุมูลอิสระ และควบการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ (เรื่องสารต้านอนุมูลอิสระเขียนไปบางส่วนแล้ว)

ปัจจุบันมีการค้นพบว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์เข้ามาควบคุมการทำงานของร่างกายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายด้วย

ซึ่งจากภาพประกอบจะเห็นว่า สารอนุมูลอิสระเหล่านี้นำไปสู่การเกิดโรคต่างๆได้ และการทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ก็ล้วนนำไปสู่การช่วยลดสารอนุมูลอิสระ และช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้เพิ่มขึ้นในร่างกายได้

ซึ่งความสมดุลตรงนี้สำคัญมากเพราะ สามารถทำให้ร่างกายสามารถยืนหยัดต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้

และสารไฟโตแคนนาบินอยด์ จากกัญชา กัญชง ก็สามารถออกฤทธิ์ผ่านระบบนี้ได้ และเริ่มมีงานวิจัยออกมามากขึ้น เกี่ยวกับ คุณสมบัติสารต้านอนุมูลอิสระของกัญชา กัญชง โดยเฉพาะในวงการเครื่องสำอาง

กัญชา กัญชง อาจจะเป็นยาต้านอนุมูลอิสระ หรือ อาหารเสริมต้านอนุมูลอิสระ ที่มีติดไว้ทุกบ้านทุกครัวเรือนก็เป็นได้ เพราะชีวิตประจำวันทุกวันนี้ ร่างกายได้รับสารพิษไปกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระมากจนเกินไปแล้ว

More Science Less Marketing

ภก.พงษ์ศักดิ์ สง่าศรี

อ้างอิงบางส่วนจาก

Oxyradical Stress, Endocannabinoids, and Atherosclerosis. Toxics 2015, 3,481–498.

CB1 and CB2 cannabinoid receptors differentially regulate the production of reactive oxygen species by macrophages.Cardiovasc. Res. 2009, 84, 378–386.

Role of ROS and RNS Sources in Physiological and Pathological Conditions. Oxid. Med. Cell. Longev. 2016, 2016, 1245049.

กัญชา กัญชง แบบสารเดี่ยว ระเบิดเวลาที่อาจรอวันทำลายประชาชนคนใช้ที่โดนหลอกจากคนบางกลุ่ม

กัญชา กัญชง แบบสารเดี่ยว ระเบิดเวลาที่อาจรอวันทำลายประชาชนคนใช้ที่โดนหลอกจากคนบางกลุ่ม

กัญชา กัญชง แบบสารเดี่ยว ระเบิดเวลาที่อาจรอวันทำลายประชาชนคนใช้ที่โดนหลอกจากคนบางกลุ่ม

กัญชา กัญชง แบบสารเดี่ยว ระเบิดเวลาที่อาจรอวันทำลายประชาชนคนใช้ที่โดนหลอกจากคนบางกลุ่ม

สารหลักในกัญชา กัญชง ที่มีการค้นพบและศึกษาถึงความสัมพันธ์ในทางการแพทย์ คือ สาร THC และ สาร CBD ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้ เป็นเพียงสารที่อยู่ในกลุ่มสารอีกนับร้อยชนิดที่เป็นทัพในการเข้าไปมีประโยชน์ต่อร่างกายที่อยู่ในกัญชา กัญชง

ทั้งในด้านเชิงป้องกัน เชิงรักษา เชิงฟื้นฟูสุขภาพในนิยามทางการแพทย์ (more…)